ทบทวนท่าทีอุ้มบริษัทมือถือ

21 มี.ค. 2561 | 09:06 น.
35665 ที่ประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาทีวีดิจิตอล หารือร่วมกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีและผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.มีมติพักชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นเวลา 3 ปี กสทช. ลดค่าบริการโครงข่ายทีวีดิจิตอล ลง 50% เป็นเวลา 24 เดือน

ในการประชุมรอบนั้นและความเห็นจาก กสทช.ที่ออกมาก่อนหน้า มีการพ่วงเอาประเด็นมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือที่ประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ให้ยืดชำระค่างวดแบ่งออกเป็น 5 งวด โดยงวด 4 บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลสเน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AWN บริษัทลูกของ เอไอเอส ต้องจ่ายค่าใบอนุญาตเป็นจำนวนเงิน 59,574 ล้านบาท ขณะที่บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิว นิเคชั่น จำกัด หรือ TUC ต้องชำระทั้งสิ้น 60,218 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 119,792 ล้านบาท

อันที่จริงถ้าพิจารณากันแบบผิวเผิน จะเห็นความตั้งใจของ กสทช.ในการแก้ปมปัญหาของตัวเองที่วิเคราะห์ธุรกิจผิดพลาด ซึ่งตัวเทคโนโลยีนี้ส่งผลเป็นภัยคุกคามหรือ Disrupt ในธุรกิจทีวีดิจิตอล ประกอบกับความบกพร่องกรณีไม่ได้ดำเนินการตามกฎหมายหรือแผนแม่บทและคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ในการเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอล
P1-info-3350LINE แต่การพ่วงแผนช่วยเหลือผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือเข้ามาในรอบเดียวกัน ลักไก่พ่วงเข้ามาในท่าม กลางกระแสความสนใจมุ่งไปในทางทีวีดิจิตอล เป็นประเด็นกังขา ด้วยเหตุว่าปมประเด็นปัญหาของทีวีดิจิตอลและธุรกิจมือถือเป็นปัญหาคนละบริบทกัน ทั้งสภาพปัญหาของการทำธุรกิจ เงินทุน เทคโนโลยี รวมถึงการทำหน้าที่ของกสทช.และปัจจัยแวดล้อมทั้งหมด มองอย่างไรก็ไม่สามารถเชื่อมเป็นจุดเดียวกันและแก้ในแนวทางเดียวกันหรือคล้ายกัน

มีการตั้งข้อสังเกตถึงความแตกต่างในแง่ดอกเบี้ย ที่ผู้ประกอบการมือถือต้องจ่ายในการชำระค่างวดล่าช้าสูงถึง 15% แต่การยืดชำระค่างวดจ่ายดอกเบี้ยแค่ 1.5% มีนักวิชาการคิดออกมาส่วนต่างนี้เป็นวงเงินถึง 3 หมื่นล้านบาท ในรัฐบาลชุดก่อนๆเคยมีข้อกล่าวหาการแปลงสัมปทานมือถือเป็นภาษีสรรพสามิต ถูกครหาว่ามีการอุ้มสมเอื้อประโยชน์ให้เอกชน คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)และกสทช.ต้องคิดให้รอบคอบและทบทวนท่าทีในการออก ม.44 เพื่อยืดชำระค่างวด มีความเหมาะสม จำเป็นเร่งด่วนเพียงพอหรือไม่ ต้องไม่ให้เป็นการอุ้มบริษัทมือถือโดยไร้เหตุผลรองรับ
210318_tel ....................
บทบรรณธิการ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3350 ระหว่างวันที่ 22-24 มี.ค.2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว