สนช.ผ่านฉลุย !ร่างกฎหมายลูกเลือกตั้ง ส.ส. – ส.ว.

08 มี.ค. 2561 | 10:11 น.
สนช.มีมติให้ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. – ส.ว. ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ตามที่คณะกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่ายปรับแก้ไข

-8 มี.ค.61-ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติห็นเชอบให้ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และ ร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าร่างด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา( ส.ว.) ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ตามที่คณะกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย ปรับแก้ไข ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ ได้รับมติเป็นคะแนนเสียงไม่เห็นชอบไม่ถึง 2 ใน 3 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ จำนวน 248 คน จึงถือว่า สนช. มีมติเห็นชอบ

โดยร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ได้รับคะแนนเสียงเห็นด้วย 211 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี และงดออกเสียง 7 เสียง โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ การขยายเวลาการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็น 08.00 น. ถึง 17.00 น. จากร่างเดิม 07.00 น. ถึง 17.00 น. / หลังประกาศการเลือกตั้งหากมีหลักฐานว่ามีการทุจริต กกต.สามารถยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา เพื่อให้เพิกถอนสิทธิลงสมัครของบุคคลนั้นได้. / ค่าใช้จ่ายการหาเสียงของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต .) กำหนด โดยจะไม่นำเอาค่าใช้จ่ายรายบุคคลมาคำนวณ / การห้ามจัดมหรสพระหว่างการหาเสียง และการตัดสิทธิการดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้บริหารท้องถิ่นบางตำแหน่ง

ขณะที่ร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าร่างด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา( ส.ว.) ได้คะแนนเสียงเห็นด้วย 202เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง และงดออกเสียง 13เสียง โดยร่างกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ ส.ว. ที่มาจาก 20 กลุ่มอาชีพ มีผู้สมัครประเภทเดียว คือ แบบอิสระ โดยการคัดเลือกจะใช้ทั้งแบบการเลือกกันเองในกลุ่มอาชีพและเลือกไขว้ ส่วน ส.ว. ชุดแรกตามบทเฉพาะกาล 5 ปีแรก ที่ให้ คสช. เป็นผู้คัดเลือก กำหนด ให้ ส.ว. มาจาก 10 กลุ่มอาชีพ โดยแบ่งผู้สมัคร 2 ประเภท คือ แบบอิสระและแบบองค์กรเสนอชื่อ และให้ผู้สมัครแต่ละกลุ่มคัดเลือกกันเอง ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว