วิษณุเชื่อ สนช.พิจารณาร่างกฎหมาย ส.ส.-ส.ว. "8 มี.ค." ราบรื่น

06 มี.ค. 2561 | 05:05 น.
วิษณุ ลั่นอย่าเชื่อคนง่าย! ลั่นรัฐบาลไม่หวังคว่ำ'กม. ส.ส.-ส.ว.' ยืนยัน 8 มี.ค. ราบรื่นไม่มีปัญหา

-6 มี.ค. 61- นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ในวันที่ 8 มีนาคม นี้ ว่า ไม่น่าจะมีปัญหาที่หลายฝ่ายเป็นห่วงว่า สนช.จะคว่ำร่างกฎหมายดังกล่าว เพราะพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้พูดชัดเจนแล้วว่า ไม่ให้นำชื่อของนายกรัฐมนตรีไปกล่าวอ้างในการลงมติ จึงเชื่อว่าการพิจารณาน่าจะราบรื่น เพราะในกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย มีความถ้อยทีถ้อยอาศัย เพื่อการแก้ปัญหาร่วมกัน
wissanu ส่วนข้อกังวลว่า หากมี สนช.เสียงข้างน้อยยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ในข้อกฎหมายสามารถทำได้ โดยเข้าชื่อ 1 ใน 10 ของสมาชิก สนช. แต่จะทำให้โรดแมปล่าช้าออกไปอีกหรือไม่ ไม่สามารถตอบได้ เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์-2 สำหรับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันที่ 8มี.ค.เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว. และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ที่กว่าจะตกผลึกจาก คณะกรรมาธิการวิสามัญร่วม 3 ฝ่ายระหว่างสนช. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยเฉพาะ ปมขัดแย้ง ที่ขยายวงกว้าง ของสนช.และ กรธ. ประเด็นที่มาของสว.จนเกิดกระแสข่าว สนช.เตรียมโหวตคว่ำ ร่างพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ

ที่สำคัญ ร่างพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 2ฉบับนี้ ยังเป็นปราการด่านสุดท้าย ที่จะนำไปสู่การเลิ่อนโรดแมปเลือกตั้ง จน นายกรัฐมนตรี รองนายกฝ่ายกม.อย่างนายวิษณุ รวมถึงบรรดาสนช.แถวหน้าจะออกมาการรันตี ช่วยดับข่าวลือ ไม่มีใบสั่งให้ สนช.คว่ำร่าง พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ

ซึ่งตามขั้นตอน หากที่ประชุมสนช.มีมติให้ความเห็นชอบกับร่างกฎหมายดังกล่าว ก็จะส่งให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป เว้นแต่จะมีการส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ซึ่งจะส่งผลให้นายกฯ ต้องชะลอการนำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

แต่หากที่ประชุมสนช.มีมติเสียงข้างมากไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 หรือ 165 เสียงจากสมาชิกสนช.ทั้งหมด 248 คน มีมติไม่เห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นต้องเป็นอันตกไป และดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง
แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 ทั้งนี้ สำหรับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว.ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้พิจารณาเสร็จแล้วนั้น มีเนื้อหาสาระสำคัญคือ การกำหนดในบทเฉพาะกาลให้นำวิธีการได้มาซึ่งส.ว.ที่สนช.ได้เสนอ ทั้งเรื่องการให้ส.ว.มาจากกลุ่มวิชาชีพ 10 กลุ่ม การให้บุคคลสมัครส.ว.ในนามอิสระและผ่านองค์กรนิติบุคคล และการยกเลิกระบบการเลือกไขว้ มาใช้กับการเลือกส.ว.ใน 5 ปีแรก แต่หลังจากพ้นเวลา 5 ปี จะกลับไปใช้ระบบการได้มาซึ่งส.ว.ตามที่กรธ.บัญญัติ ทั้งการให้ส.ว.มาจากกลุ่มวิชาชีพ 20 กลุ่ม การสมัครส.ว.ในนามอิสระเท่านั้น และการเลือกด้วยวิธีการเลือกไขว้

สำหรับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. คณะกรรมาธิการวิสามัญร่วม 3 ฝ่ายได้ปรับแก้เนื้อหาดังนี้ 1.ผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรจะถูกตัดสิทธิดำรงตำแหน่งข้าราชการเมือง และข้าราชการรัฐฝ่ายการเมือง รวมถึงตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น 2.ให้ผู้สมัครส.ส.ของพรรคการเมืองมีหมายเลขผู้สมัครในแต่ละเขตเลือกตั้งแตกต่างกัน3.การกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อการหาเสียงของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามที่กกต.กำหนด โดยจะกำหนดให้ใช้จำนวนสมาชิกของพรรคการเมืองที่ส่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นรายบุคคลมาเป็นฐานในการคำนวณมิได้ 4.ห้ามทำการหาเสียงด้วยการจัดมหรสพหรือการรื่นเริงต่างๆ ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1- 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาทถึง 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี 5.ในวันเลือกตั้งให้เปิดการออกเสียงลงคะแนนตั้งแต่เวลา 08.00 น.-17.00น. และ 6.ให้บุคคลอื่นหรือกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเป็นผู้กระทำการแทนคนพิการ โดยให้ถือเป็นการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ.