ไอร่าประกาศความพร้อม ตั้งเป้า3ปีโต2เท่า

24 ก.พ. 2561 | 09:16 น.
หลังจากที่บริษัท บริษัท ไอร่า แคป ปิตอลจำกัด (มหาชน) หรือAIRAได้ประกาศจัดทัพธุรกิจในเครือ เพื่อปูทางให้บริษัทในเครือทั้ง 12 บริษัท สามารถเข้าจดทะเบียนเป็นสมาชิกในตลาดหลักทรัพย์ได้ ซึ่ง 1 ในนั้นคือ บริษัท ไอร่า ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)

1 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นช่วงของการจัดบ้านของบมจ. ไอร่า ลีสซิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนระบบบัญชี Core Business และระบบเทคโนโลยี (ไอที) วันนี้ “ธีรธร ธุวานนท์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ไอร่า ลีสซิ่ง บอกว่า พื้นฐานบริษัทมีความพร้อมรองรับการเติบโตได้แล้ว โดยเฉพาะระบบไอทีจะเป็นตัวสนับสนุนให้การทำงานมีประสิทธิภาพและน่าจะเป็นบริษัทลีสซิ่งแรกๆ ที่ใช้ไอทีเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ ดังนั้นนโยบายจะเน้นการเติบโต โดยตั้งเป้าหมายให้พอร์ตสินเชื่อปัจจุบัน 500 ล้านบาท เติบโต 2-3 เท่าใน 2-3 ปีจากนี้

 

[caption id="attachment_261909" align="aligncenter" width="283"] ธีรธร ธุวานนท์ ธีรธร ธุวานนท์[/caption]

++ศก.ฟื้นหนุนกำลังซื้อเพิ่ม
ขณะเดียวกัน ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศน่าจะขยายตัวได้ดีกว่าปีก่อน โดยเห็นจากการประมาณการของหลายหน่วยงานที่คาดว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 3.8-4.2% แต่บริษัทมองว่าจะขยายตัวได้ประมาณ 4% โดยได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การ ขนส่ง โดยคาดว่าการลงทุนภาครัฐน่าจะขยายตัวได้ 12% ขณะที่การส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกต่อเนื่องหลายปี แต่ปีนี้น่าจะดีขึ้นได้และเป็นตัวสนับสนุนเศรษฐกิจโด้โดยคาดว่า การส่งออกจะขยายตัวได้ 4%

ดังนั้น เมื่อการลงทุนภาครัฐและการส่งออกขยายตัวดีขึ้นจะหนุนให้เอกชนมีความมั่นใจขยายการลงทุนตาม โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ 3.5% ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานตามมาและรายได้ครัวเรือนจะสูงขึ้น ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนลดลง นั่นหมายถึงอำนาจซื้อของประชาชนจะสูงขึ้นด้วย

บาร์ไลน์ฐาน ++เน้นไอทีขยายธุรกิจ
“เราดำเนินการมาได้ปีกว่าๆ ปีแรกๆ จึงเป็นการวางระบบรากฐานในการเติบโต เพราะเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น ผู้ประกอบการจะขยายกำลังการผลิตมากขึ้นและต้องลงทุนในเครื่องจักรใหม่ๆ จึงต้องการสินเชื่อ โดยเราจะเน้นลูกค้าทั้งที่เป็นผู้ประกอบการและรายย่อย โดยสัดส่วนผู้ประกอบการประมาณ 70%”

รูปแบบการให้บริการ นอกจากเน้นขยายธุรกิจโดยใช้ไอทีที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีบริการที่ครบถ้วนทั้งให้เช่าซื้อ ลีสซิ่ง ธุรกิจบริการให้เช่า ยังมีระบบทำงานที่เป็น core business ที่สามารถต่อยอดไปสู่ดิจิตอลและ e-business ได้ ภายใต้ทีมงานที่เข้าใจธุรกิจและยังมีจุดขายที่พร้อมให้คำแนะนำให้ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นแผนจัดการภาษี แผนธุรกิจ วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ทั้งตลาดและคู่แข่ง ไม่ใช่แค่ในไทยแต่ยังครอบคลุมประเทศในเออีซีด้วย

ส่วนภาพรวมตลาดลีสซิ่ง มีมูลค่าประมาณ 2 ล้านล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 5 ปี ประมาณ 6% คิดเป็น 2 เท่าของจีดีพี โดยธนาคารพาณิชย์ครองส่วนแบ่งการตลาด 2 ใน 3 ส่วนที่เหลือเป็นของบริษัทไฟแนนซ์และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์(นอนแบงก์) แต่ภาพรวมการเติบโตของพอร์ตธนาคารไม่สูง ประมาณ 3% เนื่องจากพอร์ตขนาดใหญ่ ขณะที่อีก 2 กลุ่มนั้นมีอัตราเติบโตประมาณ 15%

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ การแข่งขันแรงทุกปี โดยเฉพาะการแข่งขันด้านราคามีการลดแลกแจกแถมมาโดยตลอด ซึ่งบริษัทจะไม่ใช้ราคาเป็นตัวแข่งขัน แต่จะใช้กลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง เน้นตอบโจทย์ลูกค้ายุคเศรษฐกิจดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็น e-business, e-commerce, e-Logistic, e-finance และ e-leasing

“เราจะมุ่งไปทาง e-leasing มากขึ้น เพราะการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้ margin ลดลงมาก คล้ายๆธุรกิจธนาคารที่แรกๆ แข่งที่ราคา สักพักจะหันมาแข่งที่ค่าธรรมเนียม ซึ่งเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามากขึ้น ในอนาคตค่าธรรมเนียมก็อาจจะหายไปเลย ดังนั้นเราต้องหาบริการใหม่ๆ เพื่อสร้างรายได้เข้ามาแทน”

สำหรับแผนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ตามที่บริษัทแม่ให้นโยบายไว้ จะดำเนินการภายใน 2-3 ปีจากนี้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเตรียมความพร้อมในขั้นตอนและเอกสารต่างๆ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,342 วันที่ 22 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว