ชงปฏิรูปเศรษฐกิจ3ด้าน เพิ่มขีดการแข่งขัน-ลดเหลื่อมลํ้า-สร้างความยั่งยืน

20 ก.พ. 2561 | 04:00 น.
ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ชงแผนปฏิรูป 3 ด้าน “เพิ่มความสามารถทางการ แข่งขัน-ลดความเหลื่อมลํ้า-สร้างความยั่งยืน” เผย 4 ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ แถลงความคืบหน้าการปฏิรูปประเทศไทย โดยชี้ให้เห็นถึงเหตุผลสำคัญที่ต้องปฏิรูปประเทศว่า เนื่องจากรัฐบาลอยากเห็นเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาอย่างแท้จริงซึ่งช่วง 60 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปี 2500 จนถึงปัจจุบัน คือ ฉบับที่ 12 แล้ว เศรษฐกิจไทยโตได้ 10 เท่า แต่วันนี้ประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญหลายประการ คือ

[caption id="attachment_260286" align="aligncenter" width="289"] ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประสาร ไตรรัตน์วรกุล[/caption]

1. ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลง 2.ความเหลื่อมลํ้าในหลายมิติ และ 3. ปัญหากลไกภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมถึงกฎระเบียบต่างๆ ที่ล้าสมัย บางส่วนอาศัยดุลพินิจเป็นบ่อเกิดของการคอร์รัปชันขึ้นได้ นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความท้าทายในปัจจุบันกับในอนาคตอีกหลายประการ เช่น เทคโนโลยีต่างๆ ที่ก้าวรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วซึ่งมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นความท้าทายที่ต้องได้รับการแก้ไข

++ชง3ด้านปฏิรูปเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดี การปฏิรูปประเทศนั้นต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาหลายประการด้วยกัน เบื้องต้นทางคณะกรรมการได้นำเสนอแผนการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจไว้ 3 ด้าน คือ

1.ความสามารถทางการแข่งขัน โดยแบ่งออกเป็น 3 มาตรการหลักๆ ดังนี้คือ ระยะสั้น คือ เรื่องผลิตภาพของสินค้าและบริการที่มีความชำนาญอยู่แล้ว เช่น ในภาคการผลิต ด้านเกษตร กรรม อุตสาหกรรมอาหาร และการท่องเที่ยว โดยเสริมประสิทธิ ภาพของบุคลากรเข้ากับความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการแก้กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคให้สะดวกและง่ายต่อการทำธุรกิจมากขึ้น ซึ่งสามารถทำได้เลย ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับสิ่งที่โลกกำลังสนใจและมีศักยภาพสูง อาทิ ยานยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เศรษฐกิจชีวภาพ รวมถึงเรื่องเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เป็นต้น

ระยะกลาง คือการใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงของเศรษฐกิจในภูมิภาค ที่ไม่ใช่มองเพียงแค่ประเทศกลุ่ม CLMV แต่ต้องมองไปถึงบังกลาเทศ และอินเดียด้วย มองการเชื่อมโยงกันทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคมนาคม ความสัมพันธ์ การลดอุปสรรคทางการค้า เป็นต้น

ระยะยาว คือต้องมุ่งเน้นให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยความ รู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ซึ่งเรื่องนี้ต้องใช้เวลาแต่มั่นใจว่าสามารถทำได้ อาทิ การส่งเสริมเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา การวิจัยและพัฒนา เป็นต้น โดยต้องเชื่อมโยงเข้ากับภาคปฏิบัติ ต้องมีหน่วยงานที่ทำงานอย่างจริงจัง

++แก้ปัญหาความเหลื่อมลํ้า
2. การแก้ปัญหาความเหลื่อมลํ้าโดยเสนอให้มีสำนักงานเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถวางทิศทางและชี้แนะได้ ทั้งในระดับบุคคล ระดับชุมชน และระดับประเทศ โดยในระดับบุคคล อาทิ กลุ่มของเกษตรและแรงงานไร้ทักษะที่จะมีการเสริมทักษะความรู้ความสามารถด้วยการฝึกอบรม การใช้เทคโนโลยี เป็นต้น ระดับชุมชน มุ่งที่ไปธุรกิจชุมชนที่ต้องเปลี่ยนวิธีคิดจากการรับผลิตเพียงอย่าง เดียว ต้องหันมาคำนึงถึงเรื่องของการตลาด เป็นต้น ส่วนระดับประเทศที่ต้องทำ อาทิ ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสที่ปัจจุบันรัฐมีโปร แกรมต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือ เช่น ระบบสวัสดิการ บำเหน็จบำนาญ และประกันสังคม เป็นต้น ซึ่งต้องทำให้มีประสิทธิภาพและสอดรับไปกับการสร้างพลังทางการเงินการคลังของประเทศที่จะนำมาใช้เพื่อสนับสนุนในเรื่องเหล่านี้ อาทิ การปรับปรุงภาษี เป็นต้น

ทั้งนี้สำหรับการแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมลํ้านั้นอาจทำลักษณะของการตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาดูแลเฉพาะ หรืออาจจะใช้วิธีการปรับบทบาทองค์กรที่มีอยู่แล้วซึ่งต้องดูในรายละเอียดต่อไป และ 3. การสร้างความยั่งยืน ด้วยการทำให้องค์กรทางเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน มีความโปร่งใสเพื่อลดต้นทุนแฝงที่จะเกิดขึ้น รวมถึงการคิดถึงการกระจายอำนาจให้เหมาะสมเพื่อให้แต่ละโจทย์มีเจ้าภาพที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา เป็นต้น

++4 ปัจจัยนำสู่ปฏิรูปสำเร็จ
อย่างไรก็ดี การปฏิรูปจะประสบความสำเร็จได้มีหลายเงื่อนไขที่สำคัญ คือ 1. ความสามารถในการจัดการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา อาทิ ภาวะเศรษฐกิจโลก ทิศทางและกลไกของภาคธุรกิจเอกชนและอื่นๆ ซึ่งมีความไม่แน่นอน เป็นปัจจัยแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้ 2. ความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน ความสัมพันธ์กับมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

Ad_Online-03-503x62-1 3. ความสามารถในการแปลงความคิดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ (Action) ซึ่งเป็นข้อต่อที่สำคัญของการปฏิรูป สิ่งที่รัฐบาลพยายามกำลังทำอยู่ คือ มีการตั้งหน่วยที่รับผิดชอบเฉพาะขึ้นในทุกกระทรวงซึ่งต้องเชื่อมโยงเข้ากับมิติของกฎหมาย แรงจูงใจ และจริยธรรมจรรยาบรรณประกอบกัน 4. การสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนเห็นว่า การปฏิรูปเป็นหน้าที่ของทุกคน ไม่ควรเป็นหน้าที่แค่ภาครัฐหรือรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว

“การทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยนั้น คือ การทำให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมซึ่งต้องมองถึงเรื่องของกฎหมาย กฎระเบียบที่ต้องสอดคล้องกัน สร้างแรงจูงใจมากระตุ้นให้อยากทำ ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากไม่ทำ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,341 วันที่ 18 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว