ทางออกนอกตำรา : พื้นที่ทอง “อีอีซี” ดวงดาว ฤา โคลนตม...

03 ก.พ. 2561 | 09:32 น.
125

EEC-e1508814402461.original ผมนำเสนอเรื่องการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก “อีอีซี” ที่ครอบคลุมพื้นที่ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง มาหลายครั้ง  ผมมีความเชื่อว่า หากรัฐบาลทุ่มสรรพกำลังอย่างเต็มที่ “อีอีซี” จะเป็น Golden Land ของประเทศไทยอย่างแน่นอนภายในระยะเวลาไม่กี่ปีหลังจากนี้ไป

ไม่ว่าใครจะมองอย่างไรก็แล้วแต่ ผมเชื่อมั่นว่า นี่คือโอกาสของประเทศไทยเราที่จะก้าวกระโดดไปอีกขั้นหนึ่ง

แต่แน่นอนละว่า แต่ละคนอาจเห็นโอกาสไม่เหมือนกัน เหมือนที่ ฟ.ฮีแลร์  (F. Hilaire) ปูชนียบุคคลสำคัญของโรงเรียนอัสสัมชัญในประเทศไทยเคยกล่าวไว้จนเป็นคติให้เรามองเห็นปัญหา และโอกาสที่ต่างกัน

ไม่ว่าท่านจะมองอย่างไร หากท่านเป็นผู้ประกอบการ เป็นนักลงทุน ลองพิเคราะห์ชุดข้อมูลนี้ดู ท่านอาจมองเห็นโอกาสที่ต่างจากคนอื่น....
1517645844563 maxresdefault นี่เป็นข้อมูลที่มีการนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายอีอีซีครั้งที่ 1/2561 ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และได้มีมติออกมาแล้วให้เดินหน้า

1. คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ. เสร็จแล้วทุก มาตรา เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2561 และคาดว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะพิจารณาแล้วเสร็จ ภายในกุมภาพันธ์ 2561

2. การลงทุนอุตสาหกรรม เป้าหมายในพื้นที่ EEC บรรดาเขตส่งเสริมเพื่อกิจการพิเศษ เช่น เมืองการบินภาคตะวันออก ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมในการยกเว้นภาษีนิติบุคคล เพิ่มอีก 2 ปี รวมแล้ว 8 ปี และลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 50% เพิ่มอีก 5 ปี แต่มีเงื่อนไขต้องฝึกอบรมพนักงาน มากกว่า 10 % ของพนักงานทั้งหมด หรือมากกว่า 50 คน
27331916_1968174226535456_8571337584357359367_n 3. เขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะได้รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 50% เพิ่มอีก 5 ปี จากเกณฑ์ปกติ โดยมีเงื่อนไขต้องฝึกอบรมพนักงาน มากกว่า 10% ของพนักงานทั้งหมด หรือมากกว่า 50 คน

4. เขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ได้รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 50% เพิ่มอีก 3 ปี จากเกณฑ์ปกติ โดยมีเงื่อนไขต้องฝึกอบรมพนักงาน มากกว่า 5% ของพนักงานทั้งหมด หรือมากกว่า 25 คน
728x90-03-3-503x62-3-503x62 นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายอีอีซี มีมติประกาศเขตส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มเติมอีก 19 แห่ง ซึ่งมีหลักเกณฑ์การจัดตั้งเขตส่งเสริมครบถ้วนแล้ว ทำให้มีพื้นที่ใหม่รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายอีก 26,200 ไร่ ประมาณว่าจะรองรับการลงทุนได้กว่า 1.1 ล้านล้านบาท ภายใน 10 ปีข้างหน้า

เขตส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมเป้าหมาย 19 แห่งอยู่ที่ไหนบ้าง ที่จังหวัดระยอง 6 แห่ง ชลบุรี 12 แห่ง และฉะเชิงเทรา 1 แห่ง นิคมอุตสาหกรรมเหล่านี้ผ่านการศึกษาสิ่งแวดล้อม และเปิดดำเนินการอยู่แล้ว แต่ยังมีที่ดินที่เหลืออยู่ จึงไม่จำเป็นต้องนำที่ดินอื่นๆ นอกเขตนิคมอุตสาหกรรมมาประกอบอุตสาหกรรม สามารถทำงานได้เลยเพียงแต่จะได้รับสิทธิการลงทุนเพิ่มขึ้นตามประกาศอีอีซี

ท่านอาจจะมองไม่เห็น แต่ผมเชื่อว่าผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมใน 3 จังหวัด เจ้าของโรงงานขนาดใหญ่ที่ประสงค์จะลงทุนในพื้นที่อีอีซีล้วนแล้วแต่ “ตีปีก” กับมติชุดนี้
27459135_1974625512556994_484595830915335807_n เรื่องต่อมาที่มีความชัดเจน คือการผลักดันอุตสาหกรรมอากาศยาน รอบนี้คณะกรรมการนโยบายอีอีซีมีมติเปิดกว้างในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอากาศยานที่เป็นนิติบุคคลชัดเจนว่า ต้องมีผู้ที่มีสัญชาติไทยน้อยกว่า 51% ก็ได้ คณะกรรมการยังมีมติในสาระสำคัญที่เราน่าจะรู้คือ 1. ต้องยกระดับ EEC ให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่น่าอยู่อาศัยแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียให้ได้

2. ต้องทำให้ EEC เชื่อมต่อกับกรุงเทพฯ ได้อย่างสมบูรณ์ รวมกันเป็นมหานครขนาดใหญ่ เพื่อลดความอัดแอของกรุงเทพฯ ในอนาคต ประชาชนสามารถเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ-EEC-เข้าสู่กรุงเทพฯ ใน 1 ชั่วโมงด้วยรถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภาเสมือนเป็นสนามบินหลักแห่งที่ 3 ของกรุงเทพฯ ช่วยผ่อนคลายความคับคั่งของสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ
eec 3. เพื่อให้เกิดผลในการปฏิบัติในแผนนี้ จะมีโครงการ ระยะสั้น-กลาง-ยาว 168 โครงการ ในกรอบวงเงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท และประมาณว่าการลงทุนจะเป็นเงินงบประมาณ  30% งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 10% และรัฐร่วมทุนเอกชน (PPP) อีก 60%

4. ต้องยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวใน EEC ให้เป็นการท่องเที่ยวระดับโลกอย่างยั่งยืน รองรับนักท่องเที่ยว กลุ่มรายได้ดี กลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กลุ่มครอบครัวและนักธุรกิจเพิ่มขึ้น ประมาณว่าใน 4 ปีเมื่อระบบคมนาคมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวสมบูรณ์ขึ้น จะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 47 ล้านคน จาก 30 ล้านคนในปัจจุบัน แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 ถ้าเป็นตามประมาณการนี้ จะทำให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวกว่า 5 แสนล้านบาท จาก 3 แสนล้านบาท ในปัจจุบัน

เพื่อให้แผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อีอีซีเดินไปตามนี้ จึงมีมติเห็นชอบโครงการ ทั้งหมด 53 โครงการ กรอบวงเงิน 31,028 ล้านบาท เป็นการใช้เงินงบประมาณ 25% งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 1% และรัฐร่วมลงทุนกับเอกชน 75%

ผมนำเสนอชุดข้อมูลนี้เพื่อให้ท่านได้เห็นโอกาส...แต่การไขว่คว้า การตัดสินใจอยู่ในมือท่าน
maxresdefault (1)
ถ้าในปี 2560 มีนักลงทุนยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในอีอีซี 296,890 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 100,000 ล้านบาท จากปี 2559 พอสิ้นปี 2561 ผมเชื่อว่าการขอบีโอไอในการลงทุนจะสูงกว่า 300,000 ล้านบาทแน่นอน ผมเชื่อเช่นนั้น

เพราะถ้า พ.ร.บ.อีอีซี ที่กำลังพิจารณาในวาระ 3 ผ่านสนช.ในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ ผมเชื่อว่าการลงทุนในประเทศจะติดลมบน เพราะอย่างน้อยเป็นหลักประกันให้กับนักลงทุนได้ว่า ไม่ว่ารัฐบาลไหนมาบริหาร จะต้องเดินหน้าสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่นี้ตามกฎหมาย...

ถ้าการลงทุนติดปีก การจ้างงานก็ดีขึ้น กำลังซื้อก็ดีขึ้น คุณภาพชีวิตของคนก็ดีขึ้น

ท่านละเห็นอะไร...

...................
คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา /หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ /ฉบับ 3337 ระหว่างวันที่ 4-7 ก.พ.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว