‘เครดิตบูโร’รับมือ สินเชื่อโมบายแอพ

28 ม.ค. 2561 | 05:05 น.
เครดิตบูโรปักหมุด 4 ภารกิจใหญ่ปี 2561 เร่งพัฒนาระบบดิจิตอลสนับสนุนสินเชื่อออนไลน์ บริการตรวจสอบเครดิตด้วยตัวเองผ่านร้านสะดวกซื้อ ผนึกแบงก์รัฐหนุนเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงิน และจับมือพันธมิตรต่างชาติ

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัทศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าการดำเนินงานปีนี้เครดิตบูโรต้องปรับตัวเพื่อทำให้ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลสอดคล้องกับแนวทางสถาบันการเงินสมาชิกที่จะปล่อยสินเชื่อในรูปแบบใหม่ๆ เช่น การปล่อยกู้ผ่านแอพพลิเคชัน คอนเซ็ปต์ของเครดิตบูโรจึงต้องเข้าไปอยู่บนแอพพลิเคชันเช่นกัน

[caption id="attachment_221545" align="aligncenter" width="344"] สุรพล โอภาสเสถียร สุรพล โอภาสเสถียร[/caption]

ทั้งนี้คาดว่าประมาณต้นปีนี้เจ้าของข้อมูลจะสามารถเข้าถึงข้อมูลของตัวเองผ่านแอพพลิ เคชันของสถาบันการเงินและหนังสือที่ให้ความยินยอมที่เป็นดิจิตอลของเครดิตบูโรด้วย ซึ่งการปรับตัวของเครดิตบูโรเพื่อให้ สอดคล้องกับ Digital Disruption

“เมื่อ 3 แบงก์ใหญ่เริ่มทดลองใช้โมบาย โลนผ่านแอพของแบงก์และหนังสือที่ให้ความยินยอมที่เป็นดิจิตอลของเครดิตบูโรรวมอยู่ในนั้นด้วย ซึ่งผลจะทำให้ลดต้นทุนเอสเอ็มอีรายเล็กๆไม่ต้องวุ่นวายกับเอกสาร รวมทั้งเวลานี้ เรามี ฐานข้อมูล Big Data ที่เป็นสถิติย้อนหลัง 10 ปี บวกกับพฤติกรรมของลูกค้าที่ใช้บริการทางการเงินประเภทต่างๆ ซึ่งสามารถผสมผสานกับข้อมูลของสถาบันการเงินเพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงและทำการประเมินความเสี่ยงลูกค้าได้ อีกทั้งวันนี้เรามีฐานข้อมูลเอสเอ็มอีที่ได้รับการคํ้าประกันสินเชื่อจาก บสย.อยู่ในระบบด้วย”

นายสุรพล กล่าวว่า ปีนี้คณะกรรมการบริษัทมุ่งใน 4 นโยบายหลักคือ 1.บริการรายงานประวัติเครดิตบุคคลผ่านธนาคาร กรุงไทยเป็นการทั่วไปภายในต้นปี 2561 หลังจากทดลองใช้เป็นบางส่วน 2.ความร่วมมือกับผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สมาชิก ซึ่งมีเครือข่ายมาก เพื่อให้เจ้าของข้อมูลสามารถตรวจสอบประวัติเครดิตของตัวเองได้ทั้งสาขาธนาคารและร้านสะดวกซื้อ

นายสุรพล กล่าวว่า ปัจจุบันจากข้อมูลจำนวนผู้ที่มีภาระหนี้ทั้งหมด 28 ล้านคน แต่ที่สามารถตรวจสอบข้อมูลมีไม่ถึง 1 ล้านคน จึงเป็นเหตุผลที่จะต้องหาช่องทางให้คนเหล่านี้เข้าถึงข้อมูลของตัวเอง เพราะเมื่อคนเหล่านี้เข้ามาตรวจข้อมูลตัวเองก็จะเห็นเครดิตของตัวเอง ซึ่งเขาสามารถนำข้อมูลเครดิตไปอ้างอิงเพื่อต่อรองกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ให้ได้รับดอก เบี้ยในอัตราเหมาะสม

โดยเฉพาะเมื่อกระทรวงการคลังกับกระทรวงดีอีพัฒนาระบบการยืนยันตัวตนแบบดิจิตอลแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายนนี้ ประชาชนตรวจสอบเครดิตของ ตัวเองผ่านแอพพลิเคชันของบริษัท ที่ไม่ใช่สมาชิกโดยไม่ต้องเซ็น หรือแสดงสำเนาบัตรประชาชนได้

728x90-03-3-503x62-3-503x62 3.เรื่องขยายผลสถิติข้อมูลโดยจะสร้างฐานข้อมูลเอสเอ็มอี ด้วยความร่วมมือกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ซึ่งโครงการนี้มีต้นแบบจากธนาคารกรุงไทยรับเป็นแม่งานในการวิเคราะห์ได้ดำเนินการไปแล้ว ที่เหลือคือการขยายผล

4.ความร่วมมือกับเครดิตบูโรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจาก เกาหลีใต้ เนปาล ไต้หวัน อินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม ญี่ปุ่นแล้ว จะเชิญชวนสปป.ลาว และเมียนมาเข้ามา ร่วม ซึ่งจะมีการประชุมเครดิตบูโรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งที่ 2 ที่ไต้หวันประมาณเดือนมิถุนายน 2561

นายสุรพล กล่าวว่า ในส่วน ของสถาบันการเงินจะพยายามโปรโมตให้สมาชิกใช้คะแนนเครดิต (Credit Scoring) ซึ่งปีที่ผ่านมาพบว่า Credit Scoring มีการนำไปใช้ประมาณ 23% ของการดูข้อมูลเพื่ออนุมัติสินเชื่อตั้งเป้าภายใน 3 ปี ยอดจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 40%

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,334 วันที่ 25 - 27 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-11-503x62