“สุรชัย”เห็นด้วยสนช.ยื่นศาลรธน.ตีความกฏหมายป.ป.ช.

15 ม.ค. 2561 | 09:12 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

“สุรชัย” ยืนยันเป็นสิทธิของสมาชิก สนช.ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณียกเว้นคุณสมบัติและลักษณะต้องของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้หากได้ข้อยุติจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย และสังคมให้การยอมรับ

วันนี้(15 ม.ค.2561)เว็บไซต์ http://www.radioparliament.net รายงานว่า นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่หนึ่ง กล่าวถึงกรณีที่มีสมาชิก สนช.บางส่วน เตรียมเข้าชื่อยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเนื้อหาของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. .... ที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ สนช.ไปแล้ว ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการยกเว้นคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นั้น ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ว่า สมาชิก สนช. บางส่วน เห็นว่าคำวินิจฉัยเดิมของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยกเว้นเฉพาะคุณสมบัติของกรรมการองค์กรอิสระเท่านั้น แต่ไม่ได้ครบคลุมถึงลักษณะต้องห้าม ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อยุติจึงควรยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องดังกล่าว

org_9696872490

นายสุรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนตัวเห็นว่า หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ได้ข้อยุติที่ชัดเจนแล้ว จะเป็นผลดีกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะ ป.ป.ช. จะได้มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน และไม่มีข้อครหาตามมาในอนาคต หรือหากมีประเด็นอย่างหนึ่งอย่างใด จะได้มีการแก้ไขร่างกฎหมายลูกว่าด้วย ป.ป.ช.ก่อนที่ประธาน สนช. จะส่งร่างกฎหมายดังกล่าวไปยังนายกรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมและประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีสมาขิก สนช.เข้าชื่อ เพื่อยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเนื้อหาของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญมาแล้ว เชื่อว่ากระบวนการดังกล่าวสังคมจะให้การยอมรับ

ad-hoon-1 ทั้งนี้ สมาชิก สนช. ที่ติดใจเนื้อหากฎหมายดังกล่าว ต้องรวมกลุ่มกันเข้าชื่อจำนวน 1 ใน 10 ของสมาชิก สนช.ที่มีอยู่ หรือคิดเป็นจำนวน 25 คนขึ้นไป  โดยสามารถยื่นผ่าน สนช. หรือยื่นไปยังศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงก็ได้ ซึ่งเป็นสิทธิที่สมาชิก สนช. สามารถดำเนินการได้ อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ไม่ได้กำหนดกรอบเวลาที่ประธาน สนช.จะต้องส่งร่างกฎหมายไปยังนายกรัฐมนตรี ซึ่งหากสมาชิก สนช.ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สนช.ก็ต้องรอให้ศาลมีคำวินิจฉัยแล้วเสร็จก่อน จึงจะดำเนินการต่อไปได้ โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6-2