‘ดีอี’ดันไทยสู่ฮับไซเบอร์ซิเคียว ผนึกเอ็ตด้า ตั้งศูนย์อบรมอาเซียน-เจแปน

09 ธ.ค. 2560 | 13:25 น.
อาเซียนรับไทยเป็นฮับพัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี พร้อมก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมอาเซียน-เจแปน ไซเบอร์ซิเคียวริตี ภายใต้การสนับสนุนเงินทุนจากญี่ปุ่น 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ระยะเวลา 4 ปี ดีเดย์ ม.ค. 61

นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) เปิดเผยว่า จากการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ASEAN Telecommunications and Information Technology Senior Officials Meeting) หรือ ASEAN TELSOM ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เมื่อช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา ร่วมกับคู่เจรจา 3 ชาติ คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยทุกประเทศยอมรับอย่างฉันทามติให้ไทยเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี โดยญี่ปุ่นจะเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนาบุคลากร ในวงเงิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นระยะเวลา 4 ปี (2561-2564) เพราะไทยมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรในการฝึกอบรม และค่าใช้จ่ายส่วนอื่นทั้งอาคารสถานที่หรืออุปกรณ์ ที่ทีม cert ของทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การ มหาชน) (สพธอ.) หรือเอ็ตด้า จะเข้ามาช่วยสนับสนุน

MP20-3320-1 ทั้งนี้โครงการจะเริ่มในวันที่ 1 มกราคม 2561 และมีการจัดกิจกรรมทุก 2 เดือน เช่น การฝึกอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจด้านไซเบอร์ มีการจัดประกวดไซเบอร์ซีเกมส์ รวมถึงมีการซ้อมรบด้านไซเบอร์ร่วมกัน เพื่อรองรับสถานการณ์กรณีที่เกิดการโจรกรรมข้อมูลทางไซเบอร์ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งก็จะเชื่อมโยงกับคณะกรรมการไซเบอร์แห่งชาติ ที่จัดตั้ง ขึ้นโดยจะมีการจัดประชุมภายในเดือนหน้า โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน อีกทั้งจะมีการวางยุทธ ศาสตร์ของไซเบอร์ซิเคียวริตีในเรื่องการจัดกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานหลักเพื่อปกป้องข้อมูลทางไซเบอร์ เช่น ด้านการเงิน การคลัง พลังงาน สาธารณสุข ดังนั้นถือ ว่าเป็นวาระเร่งด่วนในการขับเคลื่อน ที่ต้องรีบดำเนินการ

“เราได้เสนอให้ไทยมีส่วนร่วมในการเป็นศูนย์กลางทางด้านไซเบอร์ และได้รับการยอมรับอย่างฉันทามติจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนทั้ง 9 ประเทศว่ามีความพร้อมและความเหมาะสม สำหรับโครงการฝึกอบรมนั้นจะจัดขึ้นทุก 2 เดือน โดยจะมีหลักสูตรและบุคลากรจากอาเซียนเข้ามาร่วมฝึกอบรม มีการก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อาเซียนและญี่ปุ่น หรืออาซียน-เจแปน ไซเบอร์ ซิเคียวริตี โดยมีทางญี่ปุ่นเป็นผู้ให้ความรู้ และเงินทุนสนับสนุน อย่างไรก็ตามการที่ไทยเป็นฮับทางด้านไซเบอร์ซิเคียวริตีนั้นจะทำให้ไทยสามารถสร้างบุคลากรได้ทั้งภายในและภายนอกในประเทศ อีกทั้งยังเป็นต้นทางของการฝึกอบรมหลักสูตรรวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งนี้เป้าหมายหลักคือ เพื่อพัฒนาบุคลากรในภาครัฐที่จะต้องมีหน้าที่ในการคุ้มครองดูแลระบบ รวมถึงเยาวชนที่จะเข้ามาเป็นกำลังสำคัญ ซึ่งในการแข่งขันก็จะเป็นการฝึกอบรมไปในตัว และสำหรับบุคลากรต้องเป็นบุคลากรที่จะเข้ามาทำงานให้กับภาครัฐเพื่อคอยเฝ้าระวังภัยทางไซเบอร์” นายพิเชฐ กล่าว

วิทยุพลังงาน สำหรับความร่วมมือของญี่ปุ่นในฐานะผู้ให้เงินทุนในการสนับสนุนก็มีความคาดหวังว่าประเทศในอาเซียนจะคุ้นเคยกับระบบและเทคโนโลยีต่างๆ ของญี่ปุ่นมากขึ้น โดยเมื่อเกิดปัญหาก็จะทำให้อาเซียนกับญี่ปุ่นสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างรวดเร็ว ทั้ง นี้ยังได้มีการเสนอให้มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล สถาบันอุดมศึกษา ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ ภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ที่ก่อตั้ง โดย มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในการบรรจุหลักสูตรความปลอด ภัยทางไซเบอร์ในการเรียนการสอนเพื่อเชื่อมโยงศูนย์อาเซียน-เจแปน ไซเบอร์ซิเคียวริตี กับ 
อีอีซี เข้าด้วยกัน

นอกจากนี้ นายพิเชฐ ยังกล่าว เพิ่มเติม เกี่ยวกับประเด็นของโครงการเน็ตประชารัฐว่า จะต้องมีการหารือกันในรายละเอียด โดย ตั้งเป้าให้ทุกหมู่บ้านมีอินเตอร์เน็ตใช้งานภายในสิ้นปีหน้า คาดว่าภาย ในสัปดาห์หน้าจะมีการนัดหารือกับทาง คณะกรรม การกิจการกระ จายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. โดยท้ายที่สุด ทางกระทรวงดิจิทัลฯ จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะใช้โมเดลไหนในการ คิดค่าบริการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น โมเดลเดียวกับเน็ตชายขอบ (USO Net) 3,920 หมู่บ้าน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,320 วันที่ 7 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว