เปิด4มุมมอง หลัง‘ราคานํ้าตาลลอยตัว’

06 ธ.ค. 2560 | 08:35 น.
ตามมติครม.ก่อนหน้านี้กำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคม 2560 ราคานํ้าตาลลอยตัวตามราคาในตลาดโลก และยกเลิกระบบโควตา ก. (นํ้าตาลสำหรับบริโภคภายในประเทศ) โควตา ข. (นํ้าตาลดิบที่ส่งออกโดยบริษัทอ้อยและนํ้าตาลไทยฯ) และโควตา ค. (นํ้าตาลดิบหรือนํ้าตาลทรายที่ส่งออกโดยโรงงานนํ้าตาล)

ล่าสุด “ฐานเศรษฐกิจ” จัดเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง “การเปลี่ยนผ่านระบบอ้อยและนํ้าตาลไปสู่การลอยตัว” ณ ห้องประชุมกองบรรณาธิการ ชั้น 25 อาคารเล้าเป้งง้วน 1 ถ.วิภาวดีรังสิต เชิญตัวแทนจากแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนํ้าตาล เพื่อติดตามความพร้อม ข้อกังวล หลังราคานํ้าตาลลอยตัว ถึงผลที่จะตามมาทั้งทางบวกและทางลบ มีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยตัวแทนทั้ง 4 ภาคส่วน ในฐานะตัวแทนภาครัฐ โรงงานนํ้าตาล กลุ่มชาวไร่อ้อย และตัวแทนผู้ใช้นํ้าตาลจากโรงงานอุตสาหกรรม

[caption id="attachment_237705" align="aligncenter" width="470"] บุญถิ่น โคตรศิริ บุญถิ่น โคตรศิริ[/caption]

**ระเบียบรองรับออกไม่ทัน 1 ธ.ค.
นายบุญถิ่น โคตรศิริ 
ผู้อำนวยการสำนักบริหารอ้อยและนํ้าตาลทราย ฉายภาพให้เห็นว่า ก่อนหน้านี้ไทยถูกบราซิลฟ้องว่า ทำผิดกฎกติกาองค์การการค้าโลก (WTO) และทางรัฐบาลได้ส่งเจ้าหน้าที่เจรจากับบราซิลมาแล้วหลายรอบ และรับปากว่าในฤดูการผลิตปี 2560/2561 นี้เราจะมีการปรับเปลี่ยนให้สอด คล้องกับการค้าโลก ทั้งด้านกฎหมาย กติกา และเรื่องของรายได้ราคาอ้อย โดยสาระสำคัญการเปลี่ยนผ่านรอบนี้ คือ ระเบียบ 4 ฉบับ ที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามพันธะสัญญาองค์การการค้าโลก (WTO) คือ 1. ยกเลิกโควตานํ้าตาลโควตาก. โควตา ข. และโควตา ค. 2. ปล่อยลอยตัว
ราคานํ้าตาล 3. การคิดราคาอ้อยโดยนำกติกาต่างๆในการคำนวณราคาอ้อยแบบใหม่มาใช้ 4. ระเบียบว่าด้วยการส่งออกนํ้าตาลไป
ยังต่างประเทศภายใต้กติกา
ใหม่ ทั้งหมดนี้ผ่านคณะกรรมการอ้อยและนํ้าตาลทราย (กอน.) แล้ว

“วันนี้เหลือแต่กระบวน
การที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจะเสนอเข้า ครม. กฤษฎีกาตรวจร่างระเบียบ เมื่อครม. เห็นชอบก็ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาออกมาถึงจะใช้ได้ ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ยังอยู่ในกระบวนการ ที่ระเบียบปฏิบัติออกไม่ทัน วันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา แต่นโยบายบอกว่าให้เริ่มลอยตัววันที่ 1 ธันวาคมนี้ ที่จะต้องมีระเบียบกฎหมายออกมารองรับ ซึ่งน่าจะใช้เวลาอีกราว 2 เดือนหรือราวปลายเดือนมกราคม นับจากนี้ถึงจะสามารถลอยตัวได้ 100%”

สำหรับช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การลอยตัวนํ้าตาลอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นน่าจะมาจากผู้ซื้อนํ้าตาลกับโรงงานนํ้าตาล เพราะวันนี้ทุกคนเข้าใจว่าถ้าลอยตัวเมื่อไหร่ราคานํ้าตาลจะลงเพราะเวลานี้ราคานํ้าตาลในตลาดโลก
ขาลงอยู่ จึงเกิดการชะลอการซื้อนํ้าตาลจากโรงงาน วันนี้โรงงาน
นํ้าตาลเริ่มบ่นว่าขายนํ้าตาลไม่ค่อยได้ หรือผู้ค้าก็คิดว่าเราไปซื้อหลังราคาลอยตัวน่าจะดีกว่า เพราะราคานํ้าตาลจะถูกลง ตรงนี้ก็น่าจะมีปัญหาอยู่ระยะหนึ่ง แต่เชื่อว่าอีกสักระยะหนึ่งจะกลับไปสู่ภาวะปกติได้ เพราะทุกประเทศลอยตัวหมดแล้ว ทั้งบราซิล ออสเตรเลีย

[caption id="attachment_237704" align="aligncenter" width="437"] นราธิป อนันตสุข นราธิป อนันตสุข[/caption]

**ราคาอ้อยตํ่าดันกองทุนช่วย
นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 7 และสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ตัวแทนกลุ่มชาวไร่อ้อย กล่าวถึงผลต่อราคาอ้อยหลังราคานํ้าตาลลอยตัวว่า เราผลิตนํ้าตาลเพื่อทำรายได้ในการกำหนดราคาอ้อยตามระบบที่เรากำหนด 70/30 ฉะนั้นนํ้าตาลภายในประเทศจะเปลี่ยนไปตามกลไกราคาเดียวกับตลาดโลก เดิมในประเทศเรากินนํ้าตาลโดยเป็นราคาที่ถูกควบคุมโดยกระทรวงพาณิชย์ พอราคาเปลี่ยนไปตามตลาดโลกแปลว่าราคามีขึ้น-ลง ซึ่งเราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าว่ามันจะกระทบไปในทิศ
ทางที่บวกหรือลบ ซึ่งการเปลี่ยน แปลงตรงนี้ชาวไร่อ้อยเข้าใจดี ส่วนเรื่องราคาอ้อยตํ่ากว่าต้นทุนเราก็ต้องใช้การบริหารโดยกองทุนอ้อยและนํ้าตาลทราย (กท.) มาช่วยสนับสนุน

ปัจจุบันมีพื้นที่ส่งเสริมปลูกอ้อยทั่วประเทศอยู่ที่ 11 ล้านไร่ แบ่งเป็นเขตๆ โดยมีกำลังผลิตที่ประเมินว่า อยู่ที่ประมาณ 10.6-10.7 ตันต่อไร่ และปีที่ผ่านมามีค่าความหวานอยู่ที่ 12 C.C.S กำลังการผลิตของฤดูกาลผลิตใหม่ที่ประเมินเบื้องต้นคาดว่า น่าจะอยู่ที่ 103 ล้านตัน จากปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ประมาณ 93 ล้านตัน โดยตัวเลขที่แท้จริงจะสิ้นสุดในช่วงเวลาที่มีการปิดหีบ

อย่างไรก็ตามให้เกษตรกรเข้ามาพึ่งพิงการทำอ้อยแล้ว ก็ต้องพยุงให้อยู่ได้ เช่น การตั้งกองทุนอ้อยและนํ้าตาลทรายก็ควรที่จะต้องมีเม็ดเงินเข้ามาในยามที่ตกตํ่า เช่นเดียวกับผู้บริโภค การกำหนดเพดานสูงหรือตํ่าสามารถเป็นไปได้หมด เพราะเรื่องของตลาดสินค้าที่เป็นคอมมิวนิตี ไม่ได้เป็นเพียงแค่ปัจจัย
พื้นฐาน ซึ่งพูดถึงความต้องการซื้อและขาย แต่เป็นเรื่องของผู้ค้าและผู้ซื้อ

[caption id="attachment_237702" align="aligncenter" width="487"] ปิยวงศ์ ศรีแสงนาม ปิยวงศ์ ศรีแสงนาม[/caption]

**ผู้บริโภควิ่งรับความเสี่ยง
นายปิยวงศ์ ศรีแสงนาม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เจริญอุตสาหกรรม จำกัด ตัวแทนผู้ใช้นํ้าตาลจากโรงงานอุตสาหกรรมกล่าวถึงข้อกังวลหลังราคานํ้าตาลลอยตัว ในเรื่องปริมาณ ถ้าเกิดมีการขาดแคลน
นํ้าตาลในประเทศขึ้นมา ก็จะทำให้เราไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตามเวลาที่กำหนด นอกจากนี้หากราคานํ้าตาลมีราคาขึ้น-ลงแรงๆ เพราะบริษัททำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าไว้ก่อนแล้วตลอดปี โดยขายสินค้าในราคาเดียวที่ตกลงกันไว้ทั้งปี ฉะนั้นในระหว่างปีถ้าราคานํ้าตาลมีราคาที่เหวี่ยงขึ้นหรือเหวี่ยงลงแรงๆ ก็มีผลกระทบต่อต้นทุนเรา รวมถึงความกังวลเรื่องคุณภาพนํ้าตาล เป็นต้น

สำหรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในแง่ราคาผันผวนนั้น คงต้องพึ่งพาผู้ผลิตนํ้าตาลที่เป็นคู่ค้าเยอะขึ้น ปกติเราเองจะมีการคุยกับลูกค้าทุกรายก่อนว่า ปีนี้จะซื้อสินค้าจากโรงงานเราเท่าไหร่ เราก็จะคำนวณปริมาณนํ้าตาลแล้วคุยกับโรงงานนํ้าตาล เช่นคุยกับมิตรผลว่า ปีนี้เราจะซื้อเท่านี้ ในราคาเท่านี้ได้หรือไม่ซึ่งบางปีก็ต่อรองกันได้ บางปีก็ต่อรองไม่ได้

“ปัจจุบันกฎระเบียบในการซื้อนํ้าตาลเพื่อผลิตผลไม้อบแห้งส่งออก ปัจจุบันขั้นตอนยังยุ่งยากในทางปฏิบัติ อาทิ ทางหน่วยงานราชการจะให้บริษัทแจ้งล่วงหน้าในแต่ละปีว่ามีปริมาณการใช้นํ้าตาลเท่าไร ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็นการพิจารณาปริมาณการใช้นํ้าตาล 1-4 ครั้งต่อปี ขณะเดียวกันบริษัทไม่ได้ขายสินค้าโดยตรงให้กับลูกค้า แต่ขายผ่านเทรดเดอร์ ต้องมีใบอนุญาตจากภาครัฐ ดังนั้นต้องการให้มีการผ่อนผันมาตรการดังกล่าวเพื่อความคล่องตัวทางการค้า”

[caption id="attachment_237703" align="aligncenter" width="468"] คมกริช นาคะลักษณ์ คมกริช นาคะลักษณ์[/caption]

**นํ้าตาลถูกลง 1-2 บาท
นายคมกริช นาคะลักษณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานองค์กรสัมพันธ์และบริหารองค์กรเพื่อความยั่งยืน กลุ่มมิตรผล กล่าวถึงแนวโน้มราคานํ้าตาลภายหลังจากลอยตัวราคาตามตลาดโลก ส่วนตัวคาดว่าราคาจะลดลงอย่างแน่นอน แต่จะลดลงเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพและปริมาณการซื้อ หากมีการสัญญาระยะยาวและซื้อในปริมาณมาก ราคาจะถูกลง ปัจจุบันราคานํ้าตาลหน้าโรงงาน 19-20 บาทต่อกิโลกรัม คาดว่าจะถูกลงอย่างน้อย 1-2 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งปัจจุบันราคานํ้าตาลภาคครัวเรือนอยู่ที่ 23.50 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนราคานํ้าตาลจะลดลงมากน้อยเพียงใด มีหลายปัจจัย แต่เชื่อว่าทางกระทรวงพาณิชย์จะเข้ามาดูแลราคาให้มีความเหมาะสมต่อไป

“ภายหลังจากลอยตัว
ราคานํ้าตาลในประเทศ อย่ากังวล ไม่ต้องกลัวว่าปริมาณนํ้าตาลในประเทศจะขาดแคลน เพราะมีปริมาณการผลิต 11 ล้านตัน กินในประเทศ 2.5-3 ล้านตัน นํ้าตาลเพียงพอให้ผู้บริโภคใช้ในประเทศแน่นอน ซึ่งราคานํ้าตาลที่ถูกลงจะเป็นผลดี ผู้ใช้นํ้าตาลจะเติบโต จะมีกำลังการผลิตที่ขยายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในอาเซียนที่มีประชากรมากถึง 600 ล้านคน นอกจากนี้ยังมั่นใจว่ากฎระเบียบ กติกาจะง่ายขึ้น เริ่มผ่อนคลาย ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องสร้างประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้น ต้นทุนแข่งขันได้เพื่อสู้กับตลาดโลก” นายคมกริช กล่าว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,319 วันที่ 3 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว