ปฎิรูปรัฐวิสาหกิจให้เข้มแข็ง  นำพาประเทศไทยโต

29 พ.ย. 2560 | 06:25 น.
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) จัดงานสัมมนา “การพัฒนา การกำกับดูแล และบริหารรัฐวิสาหกิจ: คำตอบของการดูแลสมบัติชาติ” โดย นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล นายรพี สุจริตกุล กรรมการ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, นายบรรยง พงษ์พานิช อดีตกรรมการ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

[caption id="attachment_236744" align="aligncenter" width="503"] นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล[/caption]

นายประสาร กล่าวว่า เรื่องรัฐวิสาหกิจ เป็นการปฏิรูปเชิงองค์กร  คงต้องให้เวลาอีกหน่อย  โดยมีวัตถุประสงค์ ชัดเจนและวางหลักการบางอย่างไว้ จะขออนุญาตพยายามตอบคำถาม 3 คำถาม  คือ1.ทำไมเราต้องสนใจรัฐวิสาหกิจ?   2 ภายในระบบรัฐวิสาหกิจมีปัญหาอะไรที่สำคัญ  มีหลายเรื่องที่คิดว่าสำคัญที่ควรจะได้รับการแก้ไขคืออะไร และ  3 คือแนวคิดที่กำลังเดินอยู่ ไม่ได้หมายความว่ามีแนวคิดเดียวในโลก มีแนวคิดอื่นๆ

มักจะมีผู้หลักผู้ใหญ่ที่ประสบการณ์สูงให้คำแนะนำไว้ว่าการทำเรื่องพวกนี้อย่าเริ่มต้นด้วยการบอกว่าอยากจะเอา "รูปแบบ" นี้ทันทีทันใดโดยไม่ได้อธิบายวัตถุประสงค์ ความสำคัญ และการให้มีส่วนร่วมที่ดีของสมาชิก ท่านบอกว่าเวลาทำเรื่องพวกนี้ให้เรียงให้ถูก คือ P-P-P-O ตัว O คือองค์กร Organization ซึ่งท้ายที่สุดการปฏิรูปเชิงสถาบันต้องไปลงที่องค์กร แต่ว่าจุดอ่อนที่เรามักตกหลุมพลางคือว่าเริ่มต้นที่ตัวองค์กรก่อน โดยไม่เริ่มการอธิบายตัว P สามตัวข้างหน้า คือ "วัตถุประสงค์" (Purpose ) ว่าที่เราจะทำทำไปทำไม ถ้าเราตกลงกันให้ชัดเจน หลังจากนั้นต้องวาง "หลักการ" (Principles) สำคัญๆ หลังจากนั้นคือ "การมีส่วนร่วม" (Participation) ต้องทำ 3 ตัวนี้ให้ดีแล้วไปลงที่ตัว O สังเกตหลายๆที่ถ้าเริ่มที่ตัว O ก่อนก็จะทะเลาะกันว่าทำไมต้องเป็น O แบบนี้ กำลังซ่อนเร้นอะไรหรือไม่

คำถามแรก ทำไมเราต้องสนใจระบบรัฐวิสาหกิจ เริ่มต้นด้วยตัวเลขสถิติเช่นขนาดและปริมาณอย่างคร่าวๆ จะเห็นทันทีว่าในเชิงปริมาณไปในทางสูงและมีนัยยะต่อระบบเศรษฐกิจไทย ที่สำคัญคือว่า มีแนวโน้มที่จะเติบโตสูง  สัดส่วนที่เป็นโครงการภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจมีสัดส่วนในระบบเศรษฐกิจของไทยสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งถ้าไปในทางที่ดีก็ดีไป แต่ถ้า ไม่ดีจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคหยุดยั้งหรือไม่ว่าจะเป็นการถ่วงการรุดหน้าไป โดยเฉพาะ หลายรัฐวิสหากิจที่ ตอนตั้งไม่ได้เห็นบริบทที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตอีก 50 ปี ตัวอย่างเช่น สถาบันการเงินของรัฐ ตั้งมา 50-60 ปีแล้ว คงไม่มีใคร คิดว่าจะกลายเป็นเครื่องมือทางการคลังอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ไม่ปรากฎในบัญชีการคลังที่ชัดเจน เหมือนฟองน้ำที่ดูดซับอะไรต่างๆไว้มาก แล้วอะไรอยู่ข้างในบ้างถ้าวันหนึ่งบีบน้ำออกมาเป็นอย่างไร ตอนนี้บริบทต่างจาก 50-60 ปีที่แล้ว

วิทยุพลังงาน รัฐวิสาหกิจหย่อนประสิทธิภาพ

กระทบเศรษฐกิจในอนาคต

จากปี 2547-2559 สินทรัพย์ก็เติบโตจาก 4.7 ล้านล้านบาทเป็น 14.4 ล้านล้านบาท  รายได้รวมจาก 1.5 ล้านล้านบาทเป็น 4 ล้านล้าน เป็น 2 เท่าของงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล คือมีนัยยะมากในเชิงของขนาด มีแนวโน้มเติบโต ประเด็นสำคัญพอเราพยายามจะวัดอะไรที่คล้ายๆความมีประสิทธิภาพ ก็มีการวัดแบบหยาบๆ  หลายกิจการ  สมัยก่อนเอกชนทำไม่ได้ตอนนี้ทำได้มาเทียบกัน หรือบางอย่างอาจจะเทียบเคียงประเทศเพื่อนบ้านของเรา หรือวัดในเชิงของผลประกอบการ แต่ส่วนใหญ่จะชี้ออกมาเหมือนกันว่ารัฐวิสาหกิจไทยประสิทธิภาพจะหย่อน และมีข้อสังเกตว่ารัฐวิสาหกิจที่มีกำไรส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะมีอำนาจผูกขาดทางธุรกิจ สำหรับอันที่มีการแข่งขันกับรายอื่นๆ ผลประกอบการจะไม่ดีหรือขาดทุน

สิ่งที่สำคัญกว่านั้นที่อยากจะยกขึ้นมาคือว่า ณ ขณะนี้สำหรับประเทศไทย สินทรัพย์เชิงยุทธศาสตร์สำคัญๆที่จะนำพาประเทศไปในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการเดินทางทางอากาศ ทางบก ทางน้ำ คลื่นความถี่ สนามบิน ท่าเรือ อยู่ในรูปรัฐวิสาหกิจคุม แปลว่าถ้าองค์กรที่ดูแลสินทรัพย์เหล่านี้หย่อนในเรื่องประสิทธิภาพย่อมสะท้อนอย่างมีนัยยะสำคัญแน่นอนในการผลักดันเศรษฐกิจของไทยไปข้างหน้า

องค์กรรัฐวิสาหกิจซับซ้อน

แก้ข้อต่อมีจุดอ่อน

คำถามต่อมาที่วิเคราะห์ว่ามีปัญหาอะไร   บางแห่งอาจจะไม่ค่อยชินกับการแข่งขัน สมัยที่ก่อตั้งไม่ได้คิดว่าจะต้องมีบริบทของการแข่งขัน บางแห่งตั้งขึ้นมาอาจจะไม่ได้คิดว่าจะเป็นเครื่องมือด้านนโยบายการคลัง ในการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มต่างๆ ดังนั้นในบรรดาองค์กรของรัฐวิสาหกิจมีความซับซ้อนในตัวของมันเอง แต่ว่าปัญหาที่ วิเคราะห์เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญมากคือบรรดาข้อต่อต่างๆของคนที่เกี่ยวข้อง ระบบธรรมาภิบาลของคนที่เกี่ยวข้อง ที่ระบุความสัมพันธ์ขององค์ประกอบแบบนี้มีจุดอ่อนอยู่

ระบบรัฐวิสาหกิจไทยจะเริ่มตั้งแต่รัฐบาลที่ส่วนใหญ่เป็นฝ่ายการเมือง พอลงมาเป็นกระทรวงเจ้าสังกัดและกระทรวงคลังที่ทำหน้าที่เป็นประธานบริหารด้านการเงิน (CFO) ของประเทศ ลงไปอีกจะเป็นรัฐวิสาหกิจ 56 แห่ง ซึ่งมีหลากหลายบางคนหนักไปทางวัตถุประสงค์เชิงสังคม บางคนหนักไปทางธุรกิจ ซึ่งจะมีผู้กำกับดูแลกำกับร่วมกับเอกชนอื่นๆ และลงไปล่างสุดคือประชาชนผู้ใช้บริการ หลายข้อต่อมีปัญหา เช่นข้อต่อแรกรัฐบาลกับกระทรวงเจ้าสังกัด หนีไม่พ้นเรื่องอำนาจการแทรกแซงของการเมืองค่อนข้างมากในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ตั้งคนเข้าไปเป็นกรรมการ การเสนอโครงการ การตัดสินใจทำโครงการ เป็นข้อต่อธรรมาภิบาลระหว่างฝ่ายการเมืองลงมาทางองค์กรรัฐวิสาหกิจ

ส่วนกระทรวงการคลังที่ทำหน้าที่ประธานบริหารด้านการเงิน มีลักษณะที่แตกต่างจากบริษัททั่วไป คือไม่มีอำนาจสูงเท่าเพราะมีผู้เกี่ยวข้องเยอะมาก หลายครั้งทำหน้าที่ได้แค่แนะนำ ตักเตือน ชี้แนะ ขอข้อมูล  แต่ละปีบางแห่งก็ไม่มีผลประกอบการเพียงพอเลี้ยงดูพนักงานทั้งที่เกษียณหรือทำงานอยู่ ต้องหันมาให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้บ้าง แต่กระทั่งกระทรวงการคลังขอส่งรายงานผลประกอบการก็ไม่ส่ง  ก็ทำอะไรไม่ได้ ข้อต่อธรรมาภิบาลกับกระทรวงการคลังก็มีปัญหา

รัฐวิสาหกิจเองก็มีวัตถุประสงค์หลากหลายบางแห่งผสมผสานกัน ร่างกฎหมายที่ร่างขึ้นมา ตอนนี้ก็พยายามแยกแยะ ว่าถ้ามีวัตถุประสงค์เชิงสังคม พยายามพูดกันให้ชัดเจน มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ลงบัญชีได้หรือไม่ มีข้อสังเกตขึ้นมาบ่อยๆว่ารัฐวิสาหกิจต้องใช้บริการกับประชาชน ไม่ได้ทำธุรกิจ บางครั้งทำไปตามนโยบายรัฐหรือ Public Policy ถูกต้องว่านโยบายไปแปรรูปเป็นเอกชนไม่ได้ ต้องภาครัฐทำเท่านั้น แต่การดำเนินการ   มาถึงยามนี้แล้วไม่จำเป็นต้องเป็นงานของรัฐแล้ว เอกชนดำเนินการก็ได้ มาคิดบัญชีกับรัฐ อย่างเร็วๆนี้ที่กรมบัญชีกลางทำเรื่องรักษาพยาบาลของข้าราชการ แต่เดิมจำกัดเฉพาะโรงพยาบาลรัฐ สร้างข้อจำกัดมาก คิวยาว ไกลบ้าน ที่ทำงาน ตอนนี้ให้ไปเอกชนได้ ใกล้บ้าน ที่ทำงาน แล้วมาคิดบัญชีกับกรมบัญชีกลาง เป็นที่แซ๋ซ้องสรรเสริญ เพราะว่าสะดวกมากขึ้น

ดังนั้น Public Policy ต้องเป็น Public Policy  แต่การดำเนินการไม่จำเป็น แต่ตอนนี้ที่โต้แย้งอาจจะยังปนกันอยู่  ต้องดำเนินการเพื่อประชาชน บางที่ซ่อนอยู่ว่าแท้จริงราคาหรือต้นทุนควรเป็นเท่าไหร่ ความขัดแย้งในบทบาทพวกนี้ก็เห็นใจพนักงานและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ บางครั้งถ้าแยกไม่ชัดเจนจะสร้างความสับสนขึ้นได้ในการวางแผนธุรกิจ ปัญหาอีกอย่างคือเรื่องการแข่งขัน บางอันแข่ง บางอันไม่แข่ง พอไม่แข่งก็ไม่รู้จะวัดอย่างไร ขาดแรงผลักดันด้านประสิทธิภาพ

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 ทั้งหมดนี้เป็นการสรุปอย่างย่อว่ามีหัวใจอันหนึ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ของระบบรัฐวิสาหกิจคือเรื่องระบบธรรมภิบาลภายใน ด้วยการสรุปแบบง่ายๆตามแผนภาพ แล้วความพยายามของหลายคนที่พยายาม รวมทั้งร่างกฎหมายฉบับนี้ เจตนารมณ์คือจะปรับปรุงปัญหานี้ ในอดีตเคยเทียบเคียงไว้คือพยายมาหาทางไปจัดระเบียบให้ระบบธรรมภิบาลเป็นปกติ และเราสามารถเรียนรู้จากพัฒนาการที่เกิดขึ้นในไทยในด้านต่างๆ โดยเฉพาะจากภาคธุรกิจเอกชนที่ในอดีตเคยประสบปัญหาคล้ายกัน แต่ได้แก้ไขกันไป

อุปมาอุปไมเหมือนการจัดกระดูกให้เข้าที่ เหมือนกับหมอกระดูกที่บอกว่าร่างกายมนุษย์ กระดูกแต่ละชิ้นแต่ละรูปร่างแตกต่างกัน จริงๆธรรมชาติได้สร้างมาให้รับน้ำหนัก ทนทาน แรงกระแทกต่างๆได้อย่างเหมาะสม ถ้ารูปทรงไม่เป็นแบบนี้ กว่าเราจะรับน้ำหนักได้เหมือนทุกวันนี้ ร่างกายแต่ละคนต้องหนักกว่า 1 ตัน แต่ที่เรารับน้ำหนักได้โดยมีน้ำหนักแค่ 50 กิโลกรัมบ้าง 70 กิโลกรัมบ้าง เพราะกระดูกมันถูกสร้างมาให้เข้าที่พอดี แต่ไม่ได้หมายความว่าจัดเสร็จแล้วจะไปแข่งขันได้เหรียญทองโอลิมปิก ไม่ได้  จะเป็นแชมป์แบดบินตัน ไม่ได้ว่าจะเป็นนักฟุตบอลที่เก่ง อันนั้นเป็นอีกประเด็น แต่ถ้าตั้งต้นถ้าร่างกายกระดูไม่เข้าที่ไม่แข็งแรง จะไปแข็งกีฬาอะไร กระแทกนิดเดียวก็จบ

ความคิดอันนี้คือตั้งใจจะเข้าไปจัดกระดูกให้เข้าที่ พอเข้าที่แล้วต่อไปก็ไม่ใช่ว่าง่าย อย่างการบินไทยที่ว่าง่าย ถึงแม้ข้างในจะมีปัญหาภายในเรื่องธรรมาภิบาลต่างๆ แต่ยังต้องไปแข่งกับสิงคโปร์แอร์ไลน์ กับเอมมิเรตกับคาร์ตัน มันเหมือนน้องเมย์ (รัชนก อินทนนท์) น้องปอป้อ (ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย) ไปแข่งแบดบินตันกับจีนกับอินโดนิเซียอีก แต่ถ้าปอป้อข้อเท้าเคล็ดตั้งแต่แรก ไม่ดีตั้งแต่แรก อย่าเลยจะไปคิดแข่งกับอินโดนิเซีบกับจีน คือทำได้ก็ต้องเริ่มจัดกระดูกข้อเท้าของปอป้อให้ดีเรียบร้อยก่อน แล้วน้องปอป้อต้องฟิตร่างกายให้เก่งไปเอาแชมป์ได้ อันนี้เป็น P-Purpose

วางหลักการชัดเจน

กระเทาปัญหาให้ตรงจุด

ถ้าแนววัตถุประสงค์เป็นแบบนี้ หลักการมีอะไรบ้าง ในระบบธรรมาภิบาลที่เห็นว่าเป็นจุดอ่อนของระบบรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ที่ปะปนกันอยู่ ผู้กำกับดูแล ผู้กำหนดนโยบาย ผู้เป็นเจ้าของ ผู้ดำเนินงาน เราพยายามจะแยกแยะออกมาเป็นหลักการแรก ต้องให้ชัดเจนก่อนว่าจะทะเลาะไม่ทะเลาะกัน ต้องตกลงหลักการก่อนว่าจะทะเลาะอะไร หลักการนี้จะเอาหรือไม่ ไม่ใช่ว่าตีกันจนกระทั่งทะเลาะกันเสร็จหันกลับมาถามว่าเราตีกันเรื่องอะไร ที่ต้องรู้หลักการแรกคืออยากจะแยกบทบาทพวกนี้เท่าที่จะทำได้

เรื่องที่ 2 ที่เราเรียนรู้จากธุรกิจเอกชนคือธุรกิจที่มีการแข่งขัน บางที่หายไปจากระบบรัฐวิสาหกิจ บางที่เพื่อนสหภาพรัฐวิสาหกิจจะบอกว่าเขาเป็นเจ้าของ แต่ก็มีตัวอย่างเยอะที่ท้ายที่สุดจะไม่มีองค์กรที่เด่นออกมาว่าเรื่องนี้อย่าทำนะ  กระทบฐานะการเงินของเรา คือถ้าเป็นธุรกิจเอกชนไม่ได้เลย ผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายเล็ก เดี๋ยวนี้เข้มมากประชุมกันดูตลอดระหว่างทาง จะตัดสินใจซื้อกิจการอะไรไม่ถูกต้อง เขาต้องแสดงออกมาเลยเรื่องความเป็นเจ้าของ

เรื่องที่  3 คือมีระบบกำกับกิจการที่ดีหรือธรรมาภิบาล  มาตั้งแต่เรื่องของการมีแผนงาน เลือกคนที่ดีเหมาะสมเข้ามาบริหาร มีระบบรายงานประเมินผล เป็นตัวอย่างที่ของระบบธรรมาภิบาลที่ดี และเรื่องที่ 4 ถ้าใช้ประโยช์ให้เป็นจะดีมาก  เรื่องกลไกตลาดอันไหนที่พอใช้ได้ อันไหนที่ดูผิวๆเผินๆอาจจะใช้ไม่ได้ ลองคิดดูใหม่ ถ้าลองไปปรับนิดปรับหน่อย เอากลไกตลาดเข้ามาได้ บางคนบอกว่าเรื่องรถเมล์ต้องช่วยประชาชนนะ ไปลดราคาบ้างยอมขาดทุน ไม่ได้ว่าอะไร แต่แทนที่จะติดลบ 10 ถ้าลองเอากลไกตลาดเข้ามาอาจจะได้บริการที่ดีขึ้นหรือไม่ไม่ด้อยกว่าที่เคยให้อาจจะติดลบแค่ 2 ก็ได้ คำถามอยู่ที่จะใครจะรู้ว่าเป็นลบ 10 หรือลบ 2 ถ้าไม่มีกลไกตลาดเข้ามาดูแล

“หลักการทั้งหมดที่จะทำ ถ้าไม่เห็นด้วยก็ให้รู้กันว่าทะเลาะกันในหลักการตรงนี้ เพราะฉะนั้นถ้าทำตามแนวคิดนี้ โดยสรุปรัฐจะมีบทบาท 3 หน้าที่ กำหนดนโยบาย, ผู้กำกับรายสาขา และเป็นเจ้าของ และต้องแยก 3 บทบาทไม่ให้ทับซ้อนกัน โดย 1) รัฐบาลกับกระทรวงเจ้าสังกัดมีหน้าที่ให้นโยบายดำเนินการ และในทางกฎหมายต้องให้ค่าชดเชยไปกับนโยบายที่เรียกว่า PSA/PSO สำหรับนโยบายที่อาจจะทำให้รัฐวิสาหกิจขาดทุน ขาดทุนไม่ว่าแต่ให้มาคิดบัญชีกันได้

สำหรับบรรษัทที่พยายามจะสร้างขึ้นมาจะรับหน้าที่เจ้าของในบริบทใหม่นี้ จากการเรียนรู้จากประสบการณ์ของภาคธุรกิจเอกชนและจากประสบการณ์ของต่างประเทศ เรื่องที่คิดไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลก เป็นเรื่องที่ชาวโลกทำกันมานาน สิงคโปร์ทำมา 30-40 ปีแล้ว มาเลเซียทำมาในระยะ10 ปีที่ผ่านมา กลับมาองค์กรเจ้าของจะมีหน้าที่ดูแลฐานะการเงิน ความยั่งยืน ความสำเร็จขององค์กร ดูการบริหารทรัพย์สินให้เพิ่มมูลค่า สร้างประโยชน์สูงสุด การประเมินผล ดูแลเรื่องการตั้งกรรมการบริหาร คล้ายกับผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชน อย่าไปเข้าใจผิดว่าผู้ถือหุ้นทำงานแค่วันเดียวใน 1 ปีคือประชุมสามัญผู้ถือหุ้น  จะมีผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ไม่มีเวลาติดตาม แต่ผู้ถือหุ้นที่ดีที่ใหญ่หน่อยที่ เอ็กซ์ทีฟทำงานตลอด รับรายงาน ส่งความเห็นอะไรต่างๆ แต่หน้าทีสำคัญคือดูแลฐานะ ตั้งกรรมการบริหาร การบริหารทรัพย์สิน ประเมินผลทำงาน ถ้ามีข้อสงสัยว่าปัจจุบันเราก็มีเจ้าของแล้ว ให้ตอบคำถามว่าทำ 4 เรื่องนี้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ทำก็ยังไม่ได้เป็นไปตามนี้

สุดท้ายคือผู้กำกับดูแลรายสาขาเพราะบางรัฐวิสาหกิจอาจจะไม่ได้มีการแข่งขันสมบูรณ์นัก เช่นพลังงาน ต้องมีคนมาดูแลราคาและคุณภาพ หรือสถาบันการเงินของรัฐเป็นธุรกิจที่พิเศษคือมีทุน 1 บาท สามารถระดมทุนได้เป็น 10 บาท ไปเอาเงินประชาชนมาได้โดยตัวเองมีแค่ 1 บาท

สำหรับหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจ ก็ทำภารกิจหลัก  ทำอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และความสำเร็จอย่างยั่งยืน ดำเนินการอย่างโปร่งใส ไม่ทุจริต ไม่รั่วไหล บริหารทรัพย์สินของชาติให้เกิดมูลค่าและประโยชน์สูงสุด อันนี้เป็นการสรุปก่อนที่จะไปตัว O ว่าเกิดขึ้นมาอย่างไร เปรียบเสมือนกระดูกแต่ละชิ้นในระบบรัฐวิสาหกิจ ถ้าเราจัดให้เข้าที่ตามนี้ จะแยกบทบาทชัดเจน

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์-2 ยกตัวอย่าง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตอนที่ตั้งขึ้นมาเมื่อ 2500 ผู้หลักผู้ใหญ่ ตั้งขึ้นมาด้วยเจตนาที่ดีมากและตอนนั้นภาคเกษตรสำคัญมากและต้องได้รับความช่วยเหลือสินเชื่อ  แต่รับประกันได้เลยตอนที่ตั้งขึ้นมาไม่ได้คิดเลยว่าการณ์ข้างหน้า 50 ปีให้หลังจะเป็นสถาบันเป็นเครื่องมือทางการคลังไปโดยปริยาย ตัวอย่างคลาสสิคมากเลยคือการจำนำข้าว ตอนที่ตั้งขึ้นมากำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ ธ.ก.ส. มีผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เป็นกรรมการอยู่ด้วย ตอนนั้นไม่ได้ซับซ้อนอะไร รัฐมนตรีอยู่ตรงนั้นสามารถดำเนินนโยบายของรัฐได้ตามเจตนารมณ์

แต่พอมาเป็นโครงการรับจำนำข้าว รัฐมนตรีฯ ณ เวลานั้นต้องได้รับความเห็นใจสุดๆ เพราะต้องสวมหมวกหลายใบ หมวกแรกเป็นรัฐมนตรีฯจากพรรคการเมือง ต้องรับนโยบายตามที่แถลงต่อรัฐสภา กลายเป็นคนกำหนดนโยบาย แต่ธ.ก.ส.ก็อยู่ในการกำกับของกระทรวงการคลัง หมวกที่ 2 ภายใต้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแล คล้ายๆกับธปท.ดูแลธนาคารพาณิชย์ ถ้าดูในกทม.จะเห็นสาขาเยอะมาก ถามว่าทำไมมาเปิดสาขา เกษตรอะไรมาอยู่ในกทม. เขาต้องมาระดมเงินฝากเยอะนะ ผู้กำกับอย่างสศค.ต้องระวังว่าทุน 1 บาทระดมไป 10 บาท ภาษาทางการเงินเรียกว่า Leverage สูงมาก ผู้กำกับก็จะมีหลักเกณฑ์ต่างๆ เรื่องเงินกองทุนสินทรัพย์เสี่ยง สภาพคล่อง ฯลฯ   หมวกที่ 3 ด้วยความที่ต้องดูแลสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนเจ้าของของรัฐวิสาหกิจด้วย แล้วหมวกที่ 4 ตอนนั่งเป็นประธานกรรมการ ธ.ก.ส. ก็เป็นผู้ดำเนินการด้วย

กลับมาจำนำข้าว คนไปพบจุดอ่อนที่ว่าปกติความจริงการค้ำประกันหรือเงินกู้สาธารณะจะต้องผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ แต่ถ้าเป็นรัฐวิสาหกิจมีความเร่งด่วนจำเป็น ต้องกู้เงินลงทุน รัฐอาจจะค้ำประกันให้ได้ ดูลงไปลึกๆมันเหมือนกับเป็นโครงการที่ลงไปแล้วได้ผลตอบแทนมา สักวันหนึ่งก็จะต้องคืนได้ แต่มิได้คำนึงไปถึงว่าเงินที่กระทรวงการคลังไปค้ำเป็นการค้ำความเสียหายด้วย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่าย กลายเป็นจุดอ่อนที่ไม่มีใครเห็นเท่าไหร่ อย่างไรก็แล้วแต่ กระทรวงการคลังตกลงกัน 500,000 ล้านบาท หมายว่าได้ข้าวมาไม่นานก็ขายไปได้เงินมาหมุนเวียน แต่ความที่จำนำทุกเมล็ด ราคาข้าวยังไม่สู้ขึ้นพอ ก็ต้องเก็บ เก็บ เก็บ เก็บ เก็บ ทุกเมล็ดทั้งในและต่างประเทศที่เข้ามาด้วยนะ เกิน 500,000 ล้านบาท ก็ต้องใช้แสนที่ 6 เอาจากไหน? กลายเป็นเนื้อๆของธ.ก.ส.ที่ค้ำประกันไว้

คำถามคือคนที่นั่งเป็นประธาน ธ.ก.ส. คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้กำหนดนโยบาย ผู้กำกับดูแล ผู้ดำเนินการ และเจ้าของ จะ-ตัด-สิน-ใจ-โจทย์-นี้-อย่าง-ไร ถ้าผู้กำหนดนโยบายก็ต้องทำตามนโยบาย ถ้าเป็นผู้กำกับก็ต้องไม่ยอมเพราะว่าฐานะการเงินอาจจะกระทบ ถ้าเป็นเจ้าของแล้วไปทำเสียหาย 100,000 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นจะยอมหรือไม่ แล้วตัวเองเป็นคนดำเนินการด้วยต้องเคาะว่าจะทำหรือไม่ทำ เราจะเห็นว่าระบบธรรมาภิบาลที่มันค่อนข้างเละ มันเละ เราพยายามแก้พวกนี้ออกมา ทำได้มากน้อยแค่ไหนอีกเรื่อง ทำแล้วคนบอกว่ารับประกันว่าจะรุ่งเรืองหรือไม่ ยัง คอยดูว่าข้อเท้าของน้องปอป้อหายแล้วจะกลับมาเป็นแชมป์ได้หรือไม่ แต่อย่างน้อยที่สุดถ้าน้องปอป้อไม่รักษาข้อเท้า จะไปแข่งกับใคร จะไปหวังเหรียญเงิน ทองแดง ทอง อย่างไร ความพยายามอันนี้คือจัดกระดูกข้อเท้าให้ดี แล้วต้องไปฝึกซ้อมเพื่อแข่งขันกันต่อไป

ทีนี้ตัวบรรษัทที่จะเป็นเจ้าของไม่ใช่ว่าเราคิดเอง ชาวโลกก็มาในแนวประมาณนี้ การที่พยายามสร้างองค์กรอันหนึ่งโดยไม่ไปกระทบกระทั้งบริบทที่เป็นข้อจำกัด เช่นห้ามแปรรูป หรืออะไรต่างๆ แต่เข้ามาทำหน้าที่เป็นเจ้าของ ปกปักรักษาและเพิ่มมูลค่า OECD ยังยืนยันแนวคิดนี้ว่าในระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ตัวที่เป็นหัวใจคือการมี Clear Ownnership arrangement คือการจัดแจงให้มีผู้เล่นบทบาทเจ้าของให้ชัดเจน และคิดต่อไปว่าจะรวมศูนย์หรือกระจายออกไปดีก็พบว่าแบบที่รวมศูนย์อาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะว่าจะช่วยลดความซ้ำซ้อน ลดการถูกแทรกแซง มีเอกภาพ มีอำนาจเพียงพอ

ของเราจึงออกมาเป็นโครงสร้างแบบนี้ในสมัยที่คุยกันเมื่อ 3 ปีที่แล้ว คุยกันว่าให้ลองๆก่อน เพราะการตั้งองค์กรใหม่ยังไม่มีใครรับรองว่าจะเก่งกาจหรือไม่คุณสมบัติที่ดีอย่างไร ก็เอาเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่ส่วนเจ้าของอยู่ในรูปทุนเรือนหุ้นก่อน พอพิสูจน์ตัวเองแล้วค่อยมาว่ากันใหม่อีกครั้ง เรามี 13 แห่ง แต่พบว่าวิทยุการบินไม่ได้มีลักษณะแข่งขันก็เหลือ 12 แห่ง  ยังมีธนาคารกรุงไทยที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินสมัยวิกฤตเศรษฐกิจถือหุ้น จึงเหลือ 11 แห่ง พวกที่เหลือสคร.จะดู ส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์เชิงสังคมเยอะหน่อย ส่วนทางด้านที่บรรษัทดูจะออกไปเชิงธุรกิจ เป็นที่มาของตัว O

ถามว่าชาวโลกทำหรือไม่ ก็มีตัวอย่างว่าทำมาดังนี้ อาจจะตั้งเป็นกระทรวงขึ้นมาก็ได้ มีอินโดนิเซีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส นอร์เวย์ โปแลนด์ แอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร ชิลี จีน ภูฏาน  ฮังการี มาเลเซีย โมซัมบิก เปรู เวียดนาม สิงคโปร์ แล้วพูดถึงมาเลเซียอย่างไปพูดถึง 1MDB อันนั้นเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา บางที่คนเอามาพัวพันและเข้าใจผิดที่พูดถึงคือคาซาน่าที่ทำเหมือนกัน ส่วนสิงคโปร์ที่ทำคือเทมาเสก ทำมา 30-40 ปีแล้ว หลายคนไปมองไปทางว่าต้องออกไปลงทุนทั่วโลก มาซื้อหุ้นอะไรเมืองไทย แต่เขามีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่เราเรียนรู้จากเขาได้ ซึ่งมีคนเก่งมากทำงานเพื่อให้คำแนะนำรัฐวิสาหกิจต่างๆมีการจัดฝึกอบรม เชิญต่างประเทศมาร่วมด้วย หลักของเขาคือข้าไปส่งเสริมธรรมาภิบาลแล้วปล่อยผู้บริหารใช้ความสามารถทางธุรกิจในการแข่งขันทางธุรกิจ แต่ในหน้าที่ผู้ถือหุ้นเขาเล่นเรื่องธรรมาภิบาล เหมือนกับน้องปอป้อ หน้าที่ของเทมาเสกคือรักษาข้อเท้าให้หายแผลง แต่กรรมการบริหารต้องไปแข่งต้องไปฝีกฝน แยกหน้าที่กัน

โดยสรุปถ้าทำแนวนี้ตั้งแต่ Purpose Principles สิ่งที่เรามาเสวนาวันนี้คือ Participation ถกกันไป เห็นด้วยไม่เห็นด้วยว่ากันไป แต่มองไปวันข้างหน้านี้ไม่พ้นที่ต้องทำเรื่องพวกนี้ ขอพูดถึงในฐานะที่เป็นประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ เราพยายามทำเต็มที่โจทย์มีเยอะมาก

วาง 3 ยุทธศาสตร์

แต่สรุปในเชิงยุทธศาสตร์ 3 ด้านที่ต้องทำ 1.คือเพิ่มการแข่งขันสั้นกลางยาว   2 คือกระจายรายได้ ประชาชน กิจการขนาดเล็ก และ 3 หนีไม่พ้นและในใจลึกๆคิดว่าสำคัญมากคือเสาที่ 3 ตอนแรกมีคนชวนไปทำเรื่องยุทธศาสตร์ 20 ปี ผมบอกบ้าหรอจะเดาได้อย่างไรว่าอนาคต 20 จะเป็นอย่างไร แต่ท้ายที่สุดถ้าดูดีๆ ประเทศต้องการเป้าหมายและทิศทาง แต่ไม่ใช่ทิศทางที่วางแข็งทื่อ มันสำคัญมากที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน ตั้งแต่ 5 ปี 10 ปี 20 ปี ก็คือต้องมีสถาบันทางเศรษฐกิจให้เป็นสถาบันที่มีชีวิต มีความเข้มแข็ง มีพัฒนาการในตัวของมันเอง

เสาที่ 3 ต้องทำอีก 3 กลุ่ม 1.เกี่ยวกับนโยบาย สภาพัฒน์ สำนักงานสถิติ สภาวิจัย จะให้เป็นสมองของชาติ คำถามถามคนรุ่นปัจจุบันว่าตอนนี้สิ่งเหล่านี้ยังทำหน้าที่เหล่านั้นได้หรือไม่ สำนักงานสถิติถูกโยนไปโยนมา ตอนนี้มาอยู่กระทรวงดิจิทัล ซึ่งกำลังมุ่งไป 4.0 สำนักงานสถิติก็เลยเคว้ง อาจจะต้องมาทบทวนใหม่หรือไม่ สถาบันที่ชี้เป้าชี้ทิศทาง กลุ่มที่ 2 คือเรื่องทรัพยากร เรื่องการคลัง สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง รวมทั้งหน่วยที่บริหารจัดการสินทรัพย์ภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจถืออยู่ครึ่งหนึ่ง ดังนั้นตอนนี้กฎหมายจะผ่านไปผ่าน มองไปข้างหน้าอีก 20 ปี หนีไม่พ้น วันหนึ่งต้องกลับมาหาคนที่บริการสินทรัพย์ภาครัฐให้แข็งแรงกว่าที่เป็นอยู่ ไม่เช่นนั้นประเทศไม่เดินไปไหน มันหนีไม่พ้น ต้องทำ ทำรูปแบบใดแบบหนึ่งให้มีหน่วยงานมาดูแลอย่างจริงจังอย่างมีประสิทธิภาพ  เปลี่ยนไปจาก 50 ปีที่แล้วมาก แล้วถ้าทำไม่ดีนอกจากไม่ช่วยแล้วยังเป็นอุปสรรคขัดขวางของประเทศ และกลุ่มที่ 3 คือหน่วยงานประเมินผล ซึ่งประเทศไทยยังอ่อนมาก ใช้เงินไปแล้วไม่เคยได้ยินเลยว่าได้ผลอย่างไร ไม่ต้องพูดถึงโครงการใหญ่ๆ ไม่มีการรายงานให้ประชาชนทราบว่าช่วง 3-5 ปีใช้เงินไปประมาณนี้ ยังผลแบบนี้ๆ

กฎหมายชัดเจน

ไม่สามารถขัดแย้งกับที่มีอยู่ในปัจจุบัน

[caption id="attachment_236747" align="aligncenter" width="503"] นายรพี สุจริตกุล นายรพี สุจริตกุล[/caption]

นายรพี กล่าวถึงความคืบหน้าของตัวกฎหมายอยู่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาดู ซึ่งตัวกฎหมาย มีโครงสร้างใหญ่อะไรบ้าง เรื่องแรกคือกฎหมายฉบับนี้ ไม่สามารถไปขัดแย้งกับกฎหมายอื่นที่มีในปัจจุบัน หรือไม่สามารถไปครอบงำหรือทับกฎหมายฉบับอื่นได้ ที่เราพูดแบบนี้ให้ชัดเจนว่ามันมีการพูดกันว่ากฎหมายนี้จะนำไปสู่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือไม่ จริงๆไม่ใช่

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ 1.องค์กรของรัฐที่ยังไม่มีรูปแบบบริษัทเลย ต้องมีกระบวนการแปลงองค์กรให้อยู่ในรูปแบบบริษัทก่อน ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายร่วมทุนรัฐวิสาหกิจ มีกระบวนการว่าจะทำอย่างไร ใครมีอำนาจดำเนินการ ต้องไปขอมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ต้องออกเป็นกฎหมายอย่างไร

2 คือบอกว่ารัฐวิสาหกิจที่แปรรูปเป็นบริษัทแล้ว ถามว่าถ้าภาครัฐจะเปลี่ยนสัดส่วนการถือหุ้น และให้เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ปัจจุบันมีระเบียบว่าต้องของมติครม. ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้ไม่สามารถไปยุ่งอะไรได้เลย ไม่ได้ไปล้มล้างระเบียบตรงนั้นเลย กลับกันกฎหมายฉบับนี้ให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ตามกฎหมายต้องให้ความเห็นไปยังครม.ใช้ร่วมตัดสินใจด้วย ทำให้ยากขึ้นอีกระดับด้วยว่าต้องมีคนร.แนะนำไปด้วย ฉะนั้นการนำไปสู่การแปรรูปทั้งทางตรงทางอ้อมเป็นไปไม่ได้ เพราะมีกฎหมายดูแลอยู่แล้ว

ประเด็นที่ 2 กฎหมายฉบับนี้กำหนดองค์ประกอบและหน้าที่ของคนร.ชัดเจน ปัจจุบันคนร.ตั้งโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ถามว่ามีคนเข้าใจมากน้อยแค่ไหนว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง ต้องดูระเบียบ พูดเลยไปถึงว่าเรียกกันว่าซูเปอร์บอร์ด หรือกลายเป็นบอร์ดของซูเปอร์แมน  ไม่มีในโลกนี้ซูเปอร์แมน  มีแต่บอร์ดทำหน้าที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ การกำหนดหน้าที่ชัดเจนถามว่าได้อะไรหรือมีผลอย่างไร  จะเป็นกรอบบังคับว่าถ้าคนร.ไม่ปฏิบัติหน้าที่จะมีความผิดด้านกฎหมาย คนสามารถชี้ได้เลยว่าหน้าที่เขียนไว้แล้ว ถ้าทำผิดหรือไม่ทำ กลายเป็นละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งในประมวลกฎหมายอาญาเป็นเรื่องที่ข้าราชการกลัวมาก เพราะว่าไม่มีอายุความถูกดำเนินการได้ตลอดเวลาและมีโทศจำคุกด้วย

ประเด็นที่ 3 กฎหมายฉบับนี้ทางคณะผู้ร่างขึ้นมาเป็นกลุ่มที่มาจากทางด้านตลาดทุนเยอะ ก็มีความเชื่อว่าสิ่งที่ต้องทำมากที่สุดคือการเปิดเผยข้อมูล ยิ่งเอาข้อมูลเรื่องผลการดำเนินงานออกไปสู่ประชาชนมากเท่าไหร่ ประชาชนจะสามารถมาชี้และบอกว่านี่คือสิ่งที่ทำผิดหรือไม่ผิด ถ้ากลับข้างกันไม่มีเปิดเผยข้อมูลกลายเป็นไม่มีใครรู้ว่าใครมีหน้าที่อะไร ต้องทำอะไร ตัวกฎหมายจะเน้นมากเรื่องเปิดเผยข้อมูล เรื่องแผนยุทธศาสตร์ต้องทำทุก 5 ปี ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้รู้ว่ารัฐบาลจะให้รัฐวิสาหกิจแต่ละอันไปทำอะไรบ้าง ไม่ใช่มั่วๆกันไป ทำนั้นทีทำนี่ที แต่ไม่เคยรู้เลยว่ารัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งต้องทำอะไร ประชาชนสามารถเห็นได้ ยกขึ้นมาได้ว่ากรรมการรัฐวิสาหกิจได้ทำตามหรือไม่ ถ้าไม่ทำก็ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

รัฐบาลต้องระบุว่าต้องการให้รัฐวิสาหกิจเข้ามาสนับสนุนการทำงานของประเทศ ไม่ใช่ของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง แต่ของประเทศ เป็นจุดสำคัญ แล้วการเปิดเผยข้อมูลไม่ใช่แค่แผนงานหรือภารกิจ แต่ไปทุกเรื่องตั้งแต่การตั้งกรรมการคัดเลือกอย่างไร พวกนี้เขียนในตัวกฎหมาย ถ้าไปทำแล้วไม่เปิดเผยก็มีความผิดแล้ว ไปเปิดเผยแล้วไม่ทำตามก็ผิดอีก สุดท้ายรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งไม่ว่าจะอยู่ใต้สคร.คือมีกฎหมายจัดตั้ง หรือเป็นบริษัทแล้วต้องเปิดเผยการดำเนินงานของตัวเอง เขียนในกฎหมายเลยว่ารัฐวิสาหกิจทั้งหมดจะต้องเปิดเผยข้อมูลมาตรฐานเดียวกับบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ประเด็นที่ 4 บอกว่าห้ามทำอะไรที่ไม่ได้อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ ถ้าจะทำอะไรนอกเหนือ ทำไม่ได้ กฎหมายห้ามเลย และบอกว่าถ้าเกิดมีการแก้ไขแผน แต่ถ้าแผนนั้นไปก่อภาระทางการเงินแก่รัฐวิสาหกิจจะต้องมีกระบวนการให้รัฐวิสาหกิจประเมินค่าใช้จ่าย ค่าเสียหายออกมา เปิดเผยให้ประชาชนรู้ แล้วรัฐบาลต้องชี้แจงว่าความเสียหายนี้จะทำอย่างไร ชดเชยอย่างไร ต้องเขากระบวนการงบประมาณ พิจารณากันในรัฐสภามีการอภิปรายกัน

ประเด็นที่ 5 การกำหนดบทบาทของสคร. ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้กระทรวงการคลัง ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำกระทรวงเจ้าสังกัด ถ้าเราไปดูกฎหมายที่จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ อำนาจยังอยู่ที่กระทรวง ถ้าจะแก้กฎหมายมารวมศูนย์ทั้งหมด เข้าใจว่าต้องการกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจพร้อมกัน 30-40 ฉบับ เป็นอะไรที่ยากมากต่อให้มีเวลามากกว่านี้ ฉะนั้นบทบาทสคร.ในตอนนี้คือแนะนำเจ้ากระทรวงและต้องผ่านคนร. และคนร.ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานจะสามารถสั่งลงไปได้ว่าต้องทำเรื่องพวกนั้นพวกนี้ เรื่องประเมินผล เรื่องเปิดเผยข้อมูล เรื่องงบประมาณการทำบัญชีและต้องเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนรู้

ประเด็นสุดท้ายคือบรรษัท ถามว่าทำไมต้องแยกออกมา มีประเด็นอยู่ 2-3 ประเด็น 1) บรรษัทต้องออกมาทำหน้าที่ผู้ถือหุ้น เวลาเราพูดถึงผู้ถือหุ้นความจริงคำที่เราเคยใช้คือ Active Shareholder แต่ว่าปัจจุบันกว้างข้ามไปอีกระดับแล้ว สิ่งที่พูดกันชัดคือคำว่า Stewardship หมายความว่าคนที่เข้ามาดูแลทรัพย์สินตรงนี้ ถามว่าต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง ความจริงต้นปีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกเรื่อง Investor Code มา เป็นกฎหรือข้อบังคับว่านักลงทุนสถาบันต้องทำตาม คือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันบริหารทั้งหมด 5 ล้านล้านบาท ตัวกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เองที่ไม่ได้อยู่ใต้การกำกับของก.ล.ต. แต่เห็นว่าเป็นอะไรที่ยึดถือและปฏิบัติมาโดยตลอดก็มาลงนามรับไปปฏิบัติตาม บริษัทประกันทั้งหลาย

ข้อบังคับนี้บอกว่าถ้านักลงทุนสถาบันเอาเงินของประชาชนไปลงทุนในบริษัท  มีหน้าที่หลายประการมาก คือ 1.ต้องคอยติดตามวิเคราะห์บริษัทเหล่านั้นว่ายั่งยืนในระยะยาวหรือไม่ ไม่ใช่ดูแค่กำไรขาดทุนแต่ละงวด แต่ดูว่ามีการบริหารจัดการที่ดีหรือไม่ ต้องมีหน่วยงานวิเคราะห์เฉพาะ ใครคุ้นเคยกับการบริหารกองทุนรวมจะมีผู้จัดการกองทุนที่คอยวิเคราะห์งบการเงิน   เป็นฝั่งผู้จัดการกองทุน แต่ข้อบังคับนี้ต้องมีหน่วยงานมาวิเคราะห์ธรรมาภิบาลด้วย ดูว่ากรรมการที่เป็นผู้บริหารมีคุณสมบัติหรือไม่ ตรงกับธุรกิจหรือไม่ เปิดเผยข้อมูลถูกต้องหรือไม่ มีการบริหารจัดการตามที่เปิดเผยข้อมูลหรือไม่ นี่แค่การวิเคราะห์ ต่อมาติดตามไม่ใช่แค่ไปประชุมผู้ถือหุ้นปีละครั้ง แต่ต้องมีกระบวนการไปติดตามบริษัท บอกว่าสิ่งที่กำลังจะทำหรือกำลังเสนอ ไม่เป็นไปตามที่คุณเปิดเผยข้อมูล แล้วถ้ายังไม่ฟัง นักลงทุนสถาบันต้องลุกขึ้นมาสร้างพันธมิตรไปบอกว่าไม่ใช่ผมคนเดียวที่ไม่เห็นด้วย แต่นักลงทุนสถาบันทั้งหมด และไม้ตายสุดท้ายคือบอกว่านักลงทุนสถาบันต้องไปใช้สิทธิผู้ถือหุ้น หลายครั้งเขาต้องประกาศด้วยว่านโยบายการออกเสียงคืออะไรในแต่ละวาระ เห็นด้วยไม่เห็นด้วย ตั้งกรรมการ ค่าใช้จ่าย ค่าเบี้ยประชุม งบลงทุนมีการศึกษาหรือไม่ และอื่นๆ สุดท้ายก็กลับมาเป็นหน้าที่ของบรรษัทที่กำลังจะตั้ง

[caption id="attachment_236748" align="aligncenter" width="503"] นายบรรยง พงษ์พานิช นายบรรยง พงษ์พานิช[/caption]

นายบรรยง กล่าวว่า   จริงๆได้พูดหลักการทั้งหมดไปแล้ว แต่จะแยกออกมา 4 คำถามที่เป็นที่กังวล แต่ขอกลับไปเสริมความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการปฏิรูประบบรัฐวิสาหกิจ เราพอจะรู้ว่าประเทศไทยมีปัญหาในด้านพัฒนาเศรษฐกิจ เราเติบโต 3% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งที่เป็นประเทศที่มาครึ่งทางของเป้าหมายการพัฒนา เราเป็นประเทศที่เติบโตต่ำสุดในอาเซียน ไม่รวมสิงคโปร์ที่รวยกว่า 10 เท่าไปแล้ว นอกจากเติบโตแล้วปัญหาการกระจายรายได้ก็เป็นปัญหาใหญ่ แล้วทำไมรัฐวิสาหกิจเป็นเรื่องสำคัญ 12 ปีที่ผ่านมา รัฐวิสาหกิจขยายตัวจาก 4.7 ล้านล้านบาทเป็น 15 ล้านล้านบาทแล้ว ขยายตัวจาก 60% ของจีดีพี เป็น 110% ของจีดีพี ความหมายคือเราเอาทรัพยากรของประเทศไปอยู่ใต้รัฐวิสาหกิจมากขึ้น คำถามคือถ้าทรัพยากรถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่รั่วไหลก็ไม่น่ากังวล เราก็รู้ว่าปัญหาของการพัฒนาประเทศคือการเพิ่มผลิตภาพ มีตัวเลขชี้วัดมากมาย ไม่ได้โทษรัฐวิสหากิจ แต่กระบวนการเดิมที่มีอยู่ไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการใช้ทรัพยากรก้อนใหญ่ของประเทศก้อนนั้น

แต่ไม่ได้มาพูดให้ลดการลงทุน มันลดไม่ได้ ลดขนาดก็ไม่ได้เพราะเศรษฐกิจจะทรุดเลย ฉะนั้นเหลือทางเลือกเดียวคือทำอย่างไรให้กลับไปปรับปรุงประสิทธิภาพให้ได้ สิ่งที่เราพูดมันเป็นเรื่องของกระบวนการทางสถาบัน คือจัดรูปแบบสถาบันใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องซับซ้อนและดูเผยๆจับต้องได้ยาก จึงต้องศึกษาอธิบายค่อนข้างยาวนาน แต่ที่ทำมาทั้งหมดมีหลักการมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ซึ่งดร.ประสารพูดไปชัดเจน แต่อยากจะเพิ่มอีกข้อคือทุกอย่างของการปฏิรูป ความยากของมันคือต้องเริ่มจากสภาวะที่เป็นอยู่ คือบางคนบอกว่าง่ายนิดเดียว อะไรแย่ก็ขายทิ้งไป มันขายไม่ได้  ยุบทิ้งไป คนบอกว่าการบินไทยไม่เห็นต้องมีเลยสายการบินแห่งชาติ แต่มีอยู่ไง มีเครื่องบิน อ๊ายยยขายของ-7-1