เทรนด์คอมมิวนิตีมอลล์ ขยายจำนวนชะลอตัว

02 ธ.ค. 2560 | 07:06 น.
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา คอมมิวนิตีมอลล์เป็นตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่งที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในกรุงเทพฯ โดยมีปริมาณพื้นที่เพิ่มขึ้นถึง 150% ในช่วง 10 ปี

ศูนย์บริการข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ไทยของเจแอลแอล ระบุว่า ปัจจุบัน กรุงเทพฯ มีคอมมิวตีมอลล์คิดเป็นพื้นที่เช่ารวมทั้งสิ้น 856,000 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่มีพื้นที่รวม 345,600 ตารางเมตร

MP29-3318-X อย่างไรก็ดี พบว่า การขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์กลุ่มนี้เริ่มชะลอตัวนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา จากการที่มีโครงการคอมมิวนิตีมอลล์หลายโครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จ ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนสร้างโครงการใหม่ใช้เวลาในการตัดสินใจนานขึ้น

นายกฤษฎ์ จรุงรักษ์ หัวหน้าฝ่ายบริการธุรกิจศูนย์การค้า เจแอลแอล เผยว่าผู้พัฒนาโครงการคอมมิวนิตีมอลล์ ไม่ได้มีแต่เฉพาะผู้ประกอบการมืออาชีพที่มีประสบการณ์ แต่ยังมีจำนวนมากที่เป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ไม่เคยทำธุรกิจศูนย์การค้ามาก่อนเลย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีคอมมิวนิตีมอลล์หลายโครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยบางโครงการไม่สามารถดึงธุรกิจค้าปลีกให้เข้ามาเช่าพื้นที่เปิดกิจการ-ร้านค้าภายในโครงการได้ บางโครงการไม่สามารถดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาเดิน-จับจ่ายสินค้าได้ แม้จะมีร้านค้า-ร้านอาหารชื่อดังเข้ามาเช่าเปิดร้านเต็มพื้นที่ในโครงการก็ตาม

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6 แต่ก็ยังมีคอมมิวนิตีมอลล์หลายโครงการที่เพิ่งเปิดขึ้นไม่นานและประสบความสำเร็จ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้คือโครงการ ลิตเติ้ล วอล์ค บางนา (Little Walk Bangna) ที่พัฒนาโครงการโดยอินเด็กซ์ ลิฟวิ่ง มอลล์ มีพื้นที่ร้านค้าให้เช่า 3,200 ตารางเมตร เปิดดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบเมื่อต้นปี 2560 นี้ โดยในช่วงเริ่มเปิดโครงการมีผู้เช่าพื้นที่ 90% และในขณะนี้มีผู้เช่าเต็มแล้ว

จากการที่กรุงเทพฯ ยังคงมีการขยายตัวของเมืองอย่างต่อเนื่อง จึงยังมีโอกาสที่จะสามารถเกิดโครงการคอมมิวนิตีมอลล์ใหม่ๆ ขึ้นมารองรับ แม้จะไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวสำหรับการพัฒนาโครงการให้ประสบความสำเร็จ แต่หากผู้พัฒนาโครงการมีความเข้าใจในความต้องการของทั้งผู้ประกอบการค้าปลีกและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการลงทุนได้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,318
วันที่ 30 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว