‘นิพิฐ’ ยื่นศาลปราบโกง ฟ้อง ‘สุภา’ ผิดม.157 ชี้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

17 พ.ย. 2560 | 10:19 น.
“นิพิฐ” ยื่นฟ้อง “สุภา ปิยะจิตติ” ต่อศาลปราบโกง ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามมาตรา 157 เอื้อให้ผู้ถูกกล่าวหาพ้นผิด บิดเบือน สอบพยานปากเอก และไม่นำสืบข้อเท็จจริงคดีรับสินบน

- 17 พ.ย. 60 - การทุจริตโครงการปาล์มอินโดนีเซีย กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง หลังจากยืดเยื้อมานาน ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา นายนิพิฐ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กรีน เอ็นเนอร์ยี จำกัด (PTTGE) ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.สุภา ปิยะจิตติ หนึ่งในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในข้อหาหรือฐานความผิด เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

เนื่องจากน.ส.สุภา เป็นผู้รับผิดชอบสำนวนคดีที่นายนิพิฐ ถูกกล่าวหาคดีทุจริตโครงการปาล์มนํ้ามัน ของกลุ่มบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่ประเทศอินโดนีเซีย และได้เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปสอบสวนข้อเท็จจริง โดยมีนางรสยา เธียรวรรณ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาและเป็นจำเลยที่นายนิพิฐ ฟ้องฐานทุจริตในโครงการ และเป็นเจ้าหน้าที่รัฐกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ ซึ่งได้ร้องทุกข์ต่อ ป.ป.ช.ไปแล้วเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2556 ได้เดินทางไปอินโดนีเซียในช่วงระยะเวลาเดียวกับคณะข้าราชการป.ป.ช. วิทยุพลังงาน

การให้นางรสยา ซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาและเป็นจำเลยในคดีอาญา เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการสอบสวนพยาน และเดินทางไปอินโดนีเซียในช่วงระยะเวลาเดียวกับคณะสอบสวนข้อเท็จจริงของ ป.ป.ช. โดยที่ทราบอยู่แล้วว่านางรสยา มีคดีถูกกล่าวหาอยู่ จึงเป็นการเปิดเผยความลับทางราชการให้บุคคลภายนอกรับทราบ และช่วยเหลือให้ผู้กระทำผิดไม่ให้ต้องถูกลงโทษ และช่วยเหลือโดยตรงแก่นางรสยา กับพวกในการสร้างพยานหลักฐานเท็จในอินโดนีเซีย ทำให้นายนิพิฐ ได้รับความเสียหาย

อีกทั้ง เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2560 นางรสยา มีพฤติกรรมติดสินบนผู้ร่วมลงทุนในโครงการ พีที.เคพีไอ โดยได้นำถุงสินบนมอบให้กับนายบูลฮันนุดดิน ซึ่งถือเป็นพยานปากสำคัญ เพื่อให้พยานบิดเบือนข้อเท็จจริง ก่อนที่เจ้าหน้าที่ป.ป.ช.ซึ่งนำโดยน.ส.สุภา และคณะจะเดิน ทางไปสอบสวนข้อเท็จจริงกับนายบูลฮันนุดดิน ในวันที่ 7 ส.ค. 2560

น.ส.สุภา ได้เข้าสอบปากนายบูลฮันนุดดิน ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนที่จะมีการสอบสวน เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ได้ส่งคำถามล่วงหน้าให้นายบูลฮันนุดดินผ่านหน่วยงาน KPK (ป.ป.ช.ประเทศอินโดนีเซีย) เพื่อให้พยานตอบคำถามหลายคำถาม แต่วันสอบสวนข้อเท็จจริงกลับถามคำถามเพียงไม่กี่คำถาม โดยมีการละเว้นไม่ได้ถามประเด็นสำคัญแห่งคดี ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2560 คณะ ป.ป.ช.ได้บันทึกคำให้การไว้เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้ลงนาม เมื่อนายบูลฮันนุดดิน ตรวจสอบข้อความในเอกสารก่อนลงลายมือชื่อปรากฏว่าเอกสารที่คณะ ป.ป.ช.ได้จัดเตรียมมานั้น กลับไม่ใช่คำตอบที่นายบูลฮันนุดดิน เคยตอบและเคยให้การไว้กับคณะ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2560 โดยมีข้อความหรือถ้อยคำถูกแต่งเพิ่มเติมขึ้นมาจากที่เคยให้การไว้ และข้อ ความดังกล่าว ได้ใส่ร้ายป้ายสีปรักปรำนายนิพิฐ และผู้อื่นซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ สร้างความไม่พอใจให้นายบูลฮันนุดดิน เป็นอย่างมาก จึงไม่ยอมลงลายมือชื่อ และได้เชิญเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ออกจากสำนักงาน แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01

จนกระทั่งในวันที่ 11 ส.ค. 2560 นางรสยา ก็ได้เดินทางกลับจากอินโดนีเซีย ด้วยสายการบินเที่ยวเดียวกับเจ้าหน้าที่ป.ป.ช.

จากกระบวนการไต่สวนคดีทุจริตโครงการปาล์มนํ้ามันอินโดนีเซีย ตั้งแต่แรกในชั้นอนุกรรมการไต่สวน จนมาถึงปัจจุบัน ได้มีการยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมกับคณะกรรมการป.ป.ช.ที่ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนว่า มีกลุ่มบุคคลที่ทำให้เกิดความเสียหายที่แท้จริงต่อ ปตท. และ PTTGE ไม่น้อยกว่า 12 ครั้ง แต่น.ส.สุภา ได้เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องแต่อย่างใด เป็นเหตุให้นายนิพิฐ ต้องฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางถึง 5 คดี

นอกจากนี้ กรณีที่นางรสยา ได้นำส่งถุงสินบนมอบให้นายบูลฮันนุดดิน นายนิพิฐได้ยื่นหนังสือถึงน.ส.สุภา ถึง 3 ฉบับ เพื่อให้ดำเนินการสอบนางรสยา และเจ้าหน้าที่ป.ป.ช.ที่เกี่ยวข้อง แต่ปรากฏว่าน.ส.สุภา ได้เพิกเฉยไม่ดำเนินการใดๆ อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญใหม่ ที่ได้กำหนดการเข้าสู่ตำแหน่งของ ป.ป.ช.เอาไว้

ปรากฏว่าน.ส.สุภา ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ตํ่ากว่า อธิบดีหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ ป.ป.ช. การที่น.ส.สุภา ปิยะจิตติ ที่มีลักษณะต้องห้ามเป็น ป.ป.ช. ไม่มีวุฒิภาวะและความสามารถพอมาปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อกระบวนการยุติธรรม e-book