พอเพียงอย่างพอใจ : ‘ผู้นำ’…มูลค่าแฝงขององค์กร (1)

15 พ.ย. 2560 | 05:49 น.
 

1510660862412 590923_14 ในหลักความเชื่อทางพุทธศาสนา มนุษย์ทุกคนต่างมีบัญชีกรรมเป็นของตน ซึ่งต่างคนต่างกระทำไว้ในชาติภพก่อนๆ นับร้อยนับพันชาติที่ผ่านมา ทั้งชาติที่เกิดเป็นมนุษย์และไม่เป็นมนุษย์

กรรมดีและกรรมชั่วเหล่านั้นส่งผลให้เราทั้งหลายมีความแตกต่างกันทั้งรูปลักษณ์ อุปนิสัย ความคิด ความสามารถเฉพาะ คุณภาพชีวิตและบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่ไม่เหมือนกัน

คนบางคนจึงเกิดมาเพื่อเป็นดาวเคราะห์ที่อับแสง และบางคนเกิดมาเพื่อเป็นดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างในตนเอง
ความแตกต่างของมนุษย์มักก่อให้เกิดปัญหาเวลาต้องมาอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะและต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน
ในทุกๆสถาบัน ตั้งแต่สถาบันที่ใหญ่ที่สุด นั่นคือ “สถาบันชาติ” ลงมาถึงสถาบันที่เล็กที่สุดนั่นคือ “สถาบันครอบครัว” จึงต้องมี “ผู้นำ” และ “กฎและกติกา” ที่ชัดเจนเหมาะสมเพื่อพัฒนา ปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคมนั้นๆ
leadership1 ในองค์กรที่แสวงหากำไรก็เช่นกัน “ผู้นำ” คือ “ผู้บริหารระดับสูง” และ “คณะกรรม การ” ของบริษัท… บุคคลกลุ่มนี้คือองค์ประกอบสำคัญและ คือ “หัวใจ” ซึ่งบ่งชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรนั้นๆ ยิ่งเฉพาะในสังคมไทยที่ระบบควบคุมจัดการภายในนั้นยังไม่เข้มแข็งเพียงพอและยังคงเน้นการพึ่งพิงความสามารถส่วนบุคคลเป็นอันมาก

ความไม่แน่นอนคือ สัจธรรมของโลก... ดังนั้นปัจจัยว่าด้วยเรื่องของผู้บริหารและผู้สืบทอดการบริหาร (Successor) จึงเป็นความสำคัญและความเสี่ยงหลักอันดับต้นๆ ที่ห้ามละเลยเวลาวิเคราะห์ทิศทางและมูลค่าแฝงของบริษัท
หากให้เรียงลำดับนํ้าหนักความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ในการวิเคราะห์บริษัท ผมจะให้นํ้าหนักเรื่อง “คุณภาพและความสามารถของผู้นำองค์กร” มาเป็นอันดับต้นๆ ก่อนเรื่องธุรกิจ และ Story หุ้นต่างๆ เพราะต่อให้ธุรกิจดีเพียงใด หากผู้นำไม่ดี บริษัทก็คงไม่ประสบความสำเร็จ

2
1510722006052 ตัวอย่างที่เห็นความแตกต่างได้ชัดคือ แนวทางของผู้บริหารในการ “แก้ปัญหา” จัดการลูกหนี้รายใหญ่ของ 2 ธนาคาร ระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงไทย

ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งมี นายอาทิตย์ นันทวิทยา ดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่วิธีการแก้ปัญหาลูกหนี้รายใหญ่ที่ประสบปัญหาทางธุรกิจเช่น บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ “PACE” นั้นแสดงให้เห็นถึงความจริงใจในการแก้ปัญหาร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้เป็นลูกหนี้และผู้เป็นเจ้าหนี้

ผลลัพธ์ของกรณี PACE จึงมีแนวโน้มที่ค่อนข้างสดใสทั้ง 2 ฝ่าย โดยไม่ต้องไปรบกวนขบวนการฟื้นฟูกิจการ!
ปัญหาต่างๆ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องแก้ไขและต้องกล้าตัดสินใจอย่างไร้อคติ และมีความเมตตาบนประโยชน์สูงสุดขององค์กรนั้นๆ

[caption id="attachment_231493" align="aligncenter" width="359"] อาทิตย์ นันทวิทยา อาทิตย์ นันทวิทยา[/caption]

ในโลกธุรกิจที่มีความเสี่ยง นโยบายบริหารความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญที่บางบริษัทมักจะละเลยและมองข้าม
มีแบบเรียน บทวิเคราะห์ บทความ และทฤษฎีฝรั่งมากมายที่ระบุถึงเรื่องคุณสมบัติที่ดีของผู้บริหารที่ควรมี
สำหรับเราคนไทย คนเมืองพุทธ ผู้

นำที่ดีต้องมีคุณสมบัติหรือมีความเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมหลายๆ อย่างอยู่ในตัว หาใช่ความฉลาดเชิงพาณิชย์เพียงด้านเดียว โดยคุณธรรมของผู้นำหากยกหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาก็ได้รับการจัดสรรไว้พร้อมสรรพ ขึ้นอยู่ที่การเลือกสรรนำมาใช้ให้เหมาะกับกาลเทศะ บุคคล และสถานการณ์ เช่น ทศพิธราชธรรม 10 และ พรหมวิหาร 4

(ติดตามต่อฉบับหน้า)...........

คอลัมน์ : พอเพียงอย่างพอใจ /หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ /ฉบับ 3314


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว