จี้รัฐสกัดเหล็กนำเข้าเพิ่ม ตั้งกำแพงภาษี-เข้มมาตรฐานหวั่นทะลักแสนตัน

14 ต.ค. 2560 | 11:01 น.
เอกชนห่วงปลายปีนี้เหล็กโครงสร้างสำเร็จทะลักกว่าแสนตัน จูงใจนำเข้าเพราะปลอดกำแพงภาษี ล่าสุดจี้ทุกภาคส่วนร่วมยกร่างมาตรฐานเหล็กโครงสร้างสำเร็จก่อน ขณะที่กลุ่มเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีชงกำหนดมาตรฐานบังคับคุ้มครองผู้บริโภค

[caption id="attachment_217856" align="aligncenter" width="340"] เภา บุญเยี่ยม เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เภา บุญเยี่ยม เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน[/caption]

นายเภา บุญเยี่ยม เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าขณะนี้น่าเป็นห่วงว่า การนำเข้าเหล็กโครงสร้างสำเร็จตลอดปีนี้ทั้งปีน่าจะเพิ่มขึ้นจาก 91,000 ตันเป็นมากกว่าแสนตันขึ้นไป เนื่องจากตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2560 มีการนำเข้ามาแล้ว 64,000 ตัน

สาเหตุที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่ต้องเสียภาษีอากรขาเข้า และไม่มีกำแพงภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) แค่นำมาประกอบขันนอตแล้วใช้งานได้เลย โดยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณจะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ใช้ในงานก่อสร้างอาคารสูง สะพาน ศูนย์การค้า สร้างงานก่อสร้างที่เป็นขนาดใหญ่

“ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา กลุ่มเหล็กมีความพยายามผลักดันให้มีการสร้างมาตรฐานโครงสร้างเหล็ก แต่ปัญหามันมีหลายปาร์ตี้มาก และยังไม่สามารถหาเจ้าภาพได้ ล่าสุดได้หารือกับสมาคมผู้ก่อสร้างงานเหล็กไทยว่าจะร่วมกันทำโดยมีสมาคมโครง สร้างเหล็กไทยในการดูการยกร่าง มาตรฐานเหล็กโครงสร้างสำเร็จ เพราะตรงนี้จะเป็นศูนย์รวมเหล็กแผ่น เหล็กท่อ และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างสำเร็จ และมีภาคราชการมารวมกันตั้งเป็นคณะทำงาน”

นายเภากล่าวว่า พอยกร่างเสร็จก็ต้องเสนอไปยังคณะกรรมการสมอ. ซึ่งการยกร่างน่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน คณะกรรมการวิชาการมีความเป็นอิสระก็อาจจะใช้เวลาในการพิจารณาพอสมควร พอผ่านคณะกรรมการวิชาการพิจารณาแล้วก็ต้องเข้าสู่คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือกมอ. ซึ่งจะมีภาครัฐเป็นหลัก โดยมีปลัดกระ ทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน กว่าจะผลักดันสำเร็จน่าจะใช้เวลา 1-2 ปี

ปัจจุบันเหล็กโครงสร้างรูปพรรณมีกำลังผลิตเต็มเพดานอยู่ที่ 2-2.5 ล้านตันจากผู้ผลิตรวม 5-6 รายในประเทศ แต่ผลิตได้จริงประมาณ 1 ล้านตัน (รวมทุกราย) ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศอยู่ที่ 5-6 แสนตัน ในจำนวนนี้มีการนำเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดด้วย ทั้งที่กำลังผลิตภายในประเทศก็มีรองรับเพียงพออยู่แล้ว

[caption id="attachment_217861" align="aligncenter" width="331"] งษ์เทพ เทพบางจาก นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี งษ์เทพ เทพบางจาก นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี[/caption]

ด้านนายพงษ์เทพ เทพบางจาก นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีกล่าวว่า ควรมีมาตรฐานบังคับเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้มากขึ้น เพราะเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีจะเน้นงานก่อสร้าง ทำหลังคาบ้าน และกลุ่มปศุสัตว์

อย่างไรก็ตามกลุ่มเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีจะมีมาตรการคุ้มครองน้อยที่สุด โดยความจริงแล้วอยากให้ทุกภาคส่วนมองในมุมของผู้บริโภค ไม่ใช่สื่อสารออกไปเฉพาะในส่วนของผู้ผลิต อะไรก็ตามที่เข้าใกล้ซีกผู้ผลิตมากๆ ไม่ว่าจะเป็นเหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็นจะมีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) และเซฟการ์ดออกมาคุ้มครอง แต่อะไรก็ตามที่เข้าใกล้ในซีกผู้บริโภค มาตรการดูแลเหล่านี้ยังมีน้อยมาก และมันควรจะลงไปที่เรื่องมาตรฐานบังคับ มาตรฐานอุตสาหกรรม เพราะสุดท้ายก็เพื่อผู้บริโภคปลายทาง

“การให้ความรู้กับภาคเกษตร หรือปศุสัตว์ เลี้ยงหมูเลี้ยงไก่ เราไม่เคย บอกผู้บริโภคในเชิงให้ความรู้ เพราะเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (จีไอ) กับเคลือบสังกะสีผสมอะลูมิเนียม (จีแอล) พวกนี้จะเป็นเรื่องทางเคมีธรรมดา มีเรื่องกรด ด่าง ฉะนั้นโรงเลี้ยงไก่มันเป็นด่าง พอเป็นด่างถ้าเราไปใช้เหล็กจีแอลอะลูมิเนียมทำเล้าไก่ก็จะแพ้ด่าง จะกัด กร่อนและผุได้ง่ายกว่า ฉะนั้นคนที่เลี้ยงไก่จะต้องใช้เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เป็นต้น”

นายพงษ์เทพ กล่าวอีกว่า สมาคมการค้าผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีมีสมาชิกประมาณ 10 ราย มีกำลังผลิตประมาณ 1 ล้านตันต่อปี (เต็มเพดาน) แต่ตอนนี้ผลิตขายในประเทศได้เพียง 35% ต่อปี มีการนำเข้ามา 5-6 แสนตัน เฉพาะเดือนมกราคมถึงสิงหาคม มีการนำเข้ามาแล้ว 4 แสนตัน ที่เหลือนำเข้ามา เพราะเหล็กกลุ่มนี้ยังไม่มีมาตรการคุ้มครองใดๆออกมา และยังไม่มีมาตรฐานอุตสาหกรรมชนิดบังคับ ดังนั้นการนำเข้าอัตราภาษีจึงเป็น 0% เป็นเหล็กอีกชนิดที่ง่ายต่อการนำเข้า

“ก่อนหน้านี้เราเดินเรื่องเอดีไปเพื่อคุ้มครองเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี โดยขอเก็บภาษีเอดีจีน และไต้หวันในอัตรา 30% และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีจากไต้หวันกว่า 9% ซึ่งเวลานี้กระทรวงพาณิชย์เปิดไต่สวนมาจนครบปีแล้ว”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,304 วันที่ 12 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1