'บิ๊กตู่' หนุนเอ็มโอยู หวังเพิ่มลงทุนไทย-สหรัฐฯ

04 ตุลาคม 2560
นายกรัฐมนตรียืนยันพร้อมสนับสนุนภาคเอกชน ตามแนวทาง “สิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจ” เอกชนแนะใช้สันธิสัญญาไมตรีและความสัมพันธ์เศรษฐกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด หอการค้าสหรัฐฯเสนอเป็นตัวเชื่อมเอกชน-รัฐบาลสหรัฐฯ

- 4 ต.ค. 60 - เว็บไซต์ www.thaigov.go.th เผยแพร่ข่าว วันนี้ (3 ตุลาคม 2560) เมื่อเวลา 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ โรงแรม Four Seasons กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พบปะกับภาคเอกชนไทย เพื่อรับฟังผลการหารือระหว่างภาคเอกชนไทยกับสภาหอการค้าสหรัฐฯ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นเกี่ยวกับการค้าและการลงทุน

นายกลินทร์ สารสิน ประธานหอการค้าไทย และผู้บริหาร SCG ได้รายงานภาพรวมการหารือระหว่างภาคเอกชนไทยและสหรัฐฯว่า ไทยและสหรัฐฯ ควรใช้ประโยชน์จากสนธิสัญญาไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ให้เกิดประโยชน์แก่การค้าและการลงทุนทั้งสองฝ่ายอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งจะมีการร่าง MOU เพื่อให้การส่งเสริมการลงทุนมากขึ้น มีเป้าหมายเดียวกัน และที่สำคัญมีแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้จริง โดยจะครอบคลุมด้านต่าง ๆ ที่ไทยและสหรัฐฯมีศักยภาพ เช่น อาหาร พลังงาน ยานยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ หอการค้าสหรัฐฯแสดงความยินดีที่จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาคเอชนและรัฐบาลสหรัฐฯด้วย 7159_IMG_3166

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงภาพรวมการหารือกับประธานาธิบดีสหรัฐฯว่า การหารือเป็นไปด้วยความราบรื่น ด้วยความเป็นมิตรที่ดีต่อกัน และยินดีสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนทั้งสองประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการค้าและการลงทุน และจัดตั้งศูนย์ข้อมูล เช่นเดียวกับศูนย์ดำรงธรรม เพื่อให้ข้อมูล แนวทาง และทิศทางการค้าการลงทุนเป็นเอกภาพ พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจและการรับรู้เกี่ยวกับนโยบาย กฎระเบียบที่เอื้อต่อการลงทุนที่รัฐบาลได้ดำเนินการ รวมทั้ง มาตรการสนับสนุนการลงทุนให้กว้างขวาง ทั่วถึง และถูกต้องด้วย

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำว่า ภาคเอกชนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกและสนับสนุน ดังนั้น หากมีข้อเสนอหรือข้อติดขัดขอให้แจ้ง รัฐบาลจะได้ดำเนินการเพื่อให้กลไกเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น ที่สำคัญรัฐบาลได้ดำเนินการตามหลัก “สิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจ” โดยยึดแนวทาง “ เคารพ คุ้มครอง และเยียวยา” เพื่อเป็นไปตามแนวทางของสหประชาชาติ

ภายหลังการหารือ นายกลินทร์ สารสิน และผู้บริหาร SCG  ได้ชี้แจงกรณีการซื้อถ่านหินจากสหรัฐฯว่า SCG เตรียมลงนามซื้อถ่านหินจากภาคเอกชนสหรัฐฯ 2 ฉบับ รวม 155,000 ตัน เพื่อใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ และทดแทนการซื้อถ่านหินจากอินโดนีเซีย ที่ปัจจุบันอินโดนีเซียมีความต้องการใช้ถ่านหินสูงขึ้น  SCG จึงต้องมองหาแหล่งถ่านหินใหม่ ซึ่งถ่านหินจากสหรัฐฯมีคุณภาพดีและคุ้มค่าต่อการลงุทน ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1