การันตีองค์กรตรวจสอบพึ่งได้

04 ต.ค. 2560 | 10:23 น.
นายวิชา มหาคุณ อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สะท้อนบทบาทขององค์กรตรวจสอบต่อกรณีโครงการรับจำนำข้าวว่า เห็นชัดเจนว่าทางองค์กรตรวจสอบสามารถดำเนินการได้ ถ้าชัดเจนและยึดโยงกันว่า อาจจะนำไปสู่การทุจริต ซึ่งกรณีนี้ป.ป.ช. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน อนุกรรมการปิดบัญชีของรัฐเอง เตือนแล้วเตือนอีก ทางรัฐสภาก็ยื่นญัตติไม่ไว้วางใจ แล้วนำคำร้องจากรัฐสภา มาสู่ป.ป.ช. มีการประมวลว่ามีการทุจริตจากต้นนํ้า กลาง นํ้า ปลายนํ้าอย่างไร ทำให้เห็นภาพชัดเจน นำไปสู่การชี้มูลความผิดของป.ป.ช.

[caption id="attachment_214202" align="aligncenter" width="503"] วิชา มหาคุณ อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) วิชา มหาคุณ อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)[/caption]

โดยเฉพาะตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายใหม่ที่ป.ป.ช.ได้ออกมาตั้งแต่ปี 2554 เพิ่มเติมคำว่าใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ตรงนี้เป็นจุดสำคัญมาก ถ้ามีอำนาจใช้อำนาจได้ แต่ถ้าใช้อำนาจโดยมิชอบก็มีความผิด ที่ป.ป.ช.ฟ้องไปคือการปล่อยปละละเลย ไม่ยอมเปลี่ยน
แปลง ทั้งๆ ที่รู้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นต้องหยุด ตรงนี้จะเตือนว่าผู้บริหารราชการแผ่นดิน ถ้าเห็นว่าไม่ชอบมาพากล ต้องหยุด

แม้ว่านางสาวยิ่งลักษณ์ อ้างว่าไม่มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตและการจำนำข้าวและมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว แต่คำว่าทุจริตไม่ได้หมายความว่าแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง อาจก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพรรคพวกก็ได้ แต่ต้องชัดเจนอย่างที่ป.ป.ช.ประมวลในข้อเท็จจริงเอาไว้ ทางอัยการนำสืบให้เห็นอย่างทะลุปรุโปร่งแล้วว่ามีกระบวนการอะไรบ้างที่ว่าละเว้น ปล่อยปละละเลย ไม่ยอมหยุดโครงการ ความสูญเสียจาก 8 หมื่นกว่าล้าน กลายเป็น 5-7 แสนล้านบาท

แน่นอนว่า บทบาทในองค์กรอิสระในการทักท้วงรัฐบาลกำหนดในรัฐธรรมนูญใหม่อยู่แล้ว ซึ่งเข้มข้นกว่า เดิม โดยเฉพาะการเฝ้าระวัง ขณะนี้กำลังร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช เรื่องการเฝ้าระวังให้ป.ป.ช.มีอำนาจในการป้องกันเฝ้าระวังใน
กรณีที่เห็นว่าพฤติกรรมอะไรไม่ถูกต้อง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,301 วันที่ 1 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว