เอเชียจับมือยุโรป ต้านนโยบายกีดกันทางการค้า

22 ก.ย. 2560 | 09:18 น.
เอเชียจับมือยุโรป ต้านนโยบายกีดกันทางการค้า  เปิดศักราชใหม่ความร่วมมือสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0

[caption id="attachment_211461" align="aligncenter" width="503"] สาธารณรัฐเกาหลีเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) เมื่อวันที่ 21-22 กันยายน 2560 ณ กรุงโซล ภายใต้แนวคิดความเชื่อมโยงเอเชีย-ยุโรป ด้วยการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยมีรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และผู้แทนระดับสูงจากประเทศในภูมิภาคเอเชียและยุโรป เข้าร่วมกว่า 53 ประเทศ ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศ อาทิ องค์การการค้าโลก OECD UNIDO และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย เป็นต้น สาธารณรัฐเกาหลีเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) เมื่อวันที่ 21-22 กันยายน 2560 ณ กรุงโซล ภายใต้แนวคิดความเชื่อมโยงเอเชีย-ยุโรป ด้วยการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยมีรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และผู้แทนระดับสูงจากประเทศในภูมิภาคเอเชียและยุโรป เข้าร่วมกว่า 53 ประเทศ ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศ อาทิ องค์การการค้าโลก OECD UNIDO และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย เป็นต้น[/caption]

นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซม ครั้งนี้จัดห่างจากครั้งก่อนนานกว่า 12 ปี และจัดในช่วงเวลาที่เหมาะสม ท่ามกลางกระแสความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายทางการค้า การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial 4.0) และความต้องการที่จะให้เศรษฐกิจมีการเติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซมนับว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากมีขนาดเศรษฐกิจ มูลค่าการค้า และจำนวนประชากร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของโลก นอกจากนี้ เอเชียและยุโรปมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจอย่างแน่นแฟ้น โดยในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซม ครั้งที่ 7 เน้นการหารือใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

2091808 1) การอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการค้าและการลงทุน ซึ่งมีการออกแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซมสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี ภายใต้ WTO เพื่อเน้นย้ำกฎเกณฑ์ทางการค้าอันเป็นรากฐานสำคัญต่อความเจริญเติบโตทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาค และต่อต้านการกีดกันทางการค้าทุกรูปแบบ และผลักดันให้มีผลการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 11 ที่เป็นรูปธรรม

2) การเสริมสร้างการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ ผ่านการเชื่อมโยงทางการค้า การลงทุน โครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และดิจิทัล ในการนี้ มีการออกเอกสาร Seoul Initiative on the 4th Industrial Revolution ซึ่งระบุแนวทางและกิจกรรมความร่วมมือ อาทิ ความร่วมมือด้านกฎระเบียบ การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล การเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา โดยเน้นการอบรมและการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกัน (best practice)

3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เน้นการหารือเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 การสนับสนุนการปฏิบัติตาม Paris Agreement เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุน เพื่อการพัฒนาและการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีแก่ประเทศกำลังพัฒนา และการสนับสนุนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 ขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals 2030) ในการนี้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่ให้ความสำคัญการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ผ่านการพัฒนานวัตกรรม การเพิ่มมูลค่าการผลิต เสริมสร้างศักยภาพ SMEs และเศรษฐกิจชุมชนของประเทศ ตลอดจนนำเสนอโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงของภูมิภาค ทั้งการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานและคมนาคม และด้านดิจิทัล ผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม การรองรับการเติบโตของการค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมูลค่าสูงสาขาต่างๆ ซึ่งจะเป็นการขยายโอกาสทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน

2068726 แม้อาเซมจะเป็นเวทีที่ดำเนินบนหลักการความสมัครใจ และไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย แต่อาเซมจะเป็นเวทีที่ไทยสามารถผลักดันให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจสาขาต่างๆ ได้ในอนาคต

การค้ารวมระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศ ASEM มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 284,243.04 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 2559 การค้าไทยกับกลุ่มประเทศ ASEM มีมูลค่า 268,766.31 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65.55 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทย โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 6,165.96 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยส่งออกไปกลุ่มประเทศ ASEM มูลค่า 268,766.31 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65.55 ของมูลค่าการส่งออกของไทย และมีมูลค่าลดลงร้อยละ 0.40

2068727 ในปี 2559 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยในกลุ่ม ASEM ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องอัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพาราเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ เป็นต้น

ในปี 2559 สินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากกลุ่ม ASEM ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า สินแร่โลหะอื่นๆ โลหะและผลิตภัณฑ์ และน้ำมันดิบ ตามลำดับ เป็นต้น ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว