ประมูลก่อสร้างตีปีก จัดซื้อจัดจ้าง3หมื่นรายการต่อปี

17 ก.ย. 2560 | 02:48 น.
เข้าสู่ยุคของการปฏิบัติให้สอดคล้องกับการประกาศใช้พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่อย่างเป็นทางการที่การประมูลแต่ละโครงการจะต้องไปขึ้นตรงกับกรมบัญชีกลางทั้งหมด ส่งผลให้ภาครัฐคือหน่วยงานต่างๆ และภาคเอกชนโดยเฉพาะบริษัทรับเหมาต้องปรับตัวกันอย่างมากเพื่อให้ได้รับงานกันอย่างเต็มที่ในปลายปีนี้และปีหน้า

ทั้งนี้นายสังวรณ์ ลิปตพัลลภ นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ฐานเศรษฐกิจ”ถึงแนวทางการเร่งขับเคลื่อนพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลว่าควรจะนำไปบังคับใช้กับโครงการขนาดใหญ่ให้สำเร็จ ให้เข้าที่เข้าทางก่อนแล้วจึงค่อยนำไปใช้กับโครงการขนาดกลางและขนาดย่อย แม้ว่าการประกาศใช้ในครั้งนี้จะดูเร่งรีบก็ตาม จึงเป็นห่วงว่าท้ายที่สุดแล้วจะส่งผลให้โครงการต่างๆต้องล่าช้าออกไปหรือไม่ และเจ้าหน้าที่ของกรมบัญชีกลางมีเพียงพอและเชี่ยวชาญในเรื่องนี้เป็นอย่างดีมากน้อยแค่ไหน

[caption id="attachment_208697" align="aligncenter" width="503"] สังวรณ์ ลิปตพัลลภ นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สังวรณ์ ลิปตพัลลภ นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์[/caption]

++แนะงานใหญ่ใช้วิธีอี-บิดดิ้ง
ดังนั้นหากโครงการไหนที่งบประมาณเกิน 1,500 ล้านบาทจึงควรจะเข้าไปสู่วิธีการประมูลอี-บิดดิ้งของกรมบัญชีกลางส่วนโครงการที่งบระดับ 5-10ล้านบาทควรจะชะลอการบังคับใช้ไว้ก่อนได้ หากรัฐจะหาวิธีป้องกันการฮั้วประมูลเนื่องจากหากโครงการขนาดใหญ่ทำได้สำเร็จก็จะช่วยลดงบประมาณได้มหาศาลโดยควรแบ่งเฟสดำเนินการ ไม่ควรเหมาเข่งแบบนี้เพราะบุคลากรพร้อมหรือไม่ ความร่วมมือจากหน่วยงานต้นสังกัดมีมากน้อยแค่ไหน จะส่งผลให้รัฐบาลขับเคลื่อนโครงการล่าช้าไปหรือไม่ล้วนต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ

ทั้งนี้ระบบอี-บิดดิ้งมีกระบวนการเสนอราคาและเคาะราคาที่ซับซ้อนจึงน่าจะเป็นอีกหนึ่งวิธีการป้องกันการฮั้วได้พอสมควรช่วยรัฐประหยัดงบประมาณไปได้มาก แต่การประกาศใช้พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่นี้อาจจะส่งผลกระทบให้โครงการประมูลต่างๆชะลอระยะเวลาออกไปแน่นอนว่าโครงการระยะเร่งด่วนมีผลกระทบแน่

“ดังนั้นจึงควรแบ่งขนาดของงานไปดำเนินการ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ควรนำร่องประมูลก่อนแล้วค่อยไปดำเนินการในโครงการย่อยต่างๆ อาทิโครงการระดับ 1,000 ล้านบาทจะต้องเข้าสู่การดำเนินการอี-บิดดิ้งของกรมบัญชีกลาง ส่วนโครงการย่อยให้แต่ละหน่วยรับไปดำเนินการก่อน”

ปัจจุบันงานประมูลจัดซื้อจัดจ้างมีไม่น้อยกว่า 300-400 รายการหรือปีละกว่า 3 หมื่นรายการหากจะใช้บริษัทที่ปรึกษาเข้าไปดำเนินการคงจะมีจำนวนมากราย นับเป็นอีกหนึ่งการเติบโตของบริษัทที่ปรึกษาหากภาครัฐให้ความสำคัญเนื่องจากปัจจุบันมอบหมายให้เพียงการออกแบบ ควบคุมงาน แต่หากจะให้มีที่ปรึกษาจัดซื้อจัดจ้างยังไม่เห็นมีดำเนินการ อีกทั้งรัฐยังต้องขออนุมัติต้งั งบประมาณไปดำเนินการ จึงต้องจับตามองว่ารัฐจะใช้แนวทางใดแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้

“ประการหนึ่งนั้นสมาคมยังพยายามขับเคลื่อนให้มีการตั้งสภาก่อสร้างเพื่อควบคุมดูแลการก่อสร้างต่างๆ โดยมีบุคลากรหน่วยงานภาครัฐเข้ามาร่วมทำงานจากที่ปัจจุบันมีหน่วยงานกรมโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการอยู่บางส่วนแล้วก็ตาม”

++สมาชิกเร่งปรับตัวรับมือ
ผู้รับเหมาชั้นนำหรือรายใหญ่ที่เคยรับงานหรือรับงานกับภาครัฐขนาดใหญ่มาอย่างต่อเนื่องอาจจะไม่น่าเป็นห่วง จะห่วงก็เฉพาะรายกลางรายย่อยเท่านั้นที่อาจจะปรับตัวไม่ทัน โดยเฉพาะการจดทะเบียนจะล่าช้าดังนั้นกรมบัญชีกลางจะต้องเร่งสร้างความชัดเจนโดยเร็ว แม้ว่าช่วงนี้จะอนุโลมให้ใช้วิธีปฏิบัติตามระเบียบเดิมไปก่อนก็ตาม ซึ่งเมื่อประกาศใช้ครบทั้งหมดก็จะมีหน่วยงานภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจเข้าไปสู่ระเบียบปฏิบัติกันทุกหน่วย หากรัฐไม่มองปัญหาที่จะเกิดขึ้นไว้ตั้งแต่วันนี้ก็จะสร้างผลความเสียหายตามมาได้ด้วยเช่นกัน

“รายกลาง รายย่อย บางรายอาจจะโดนเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่จะมีระบุเครื่องจักรเครื่องยนต์นั่นคือจะต้องมีการยกระดับขีดความสามารถทางธุรกิจเพิ่มขึ้น จะต้องมีการลงทุนมากขึ้นโดยเฉพาะทุนจดทะเบียนรองรับไว้ตั้งแต่วันนี้ เช่นเดียวกับรายที่จะมีการร่วมทุนกับรายอื่นต้องเช็กรายละเอียดให้ครบถ้วนซึ่งในส่วนของสมาคมจะพยายามต่อรองกับกรมบัญชีกลางเพื่อไม่ให้ปัญหาเกิดผลกระทบตามมาได้นั่นเอง”

++ภาพรวมก่อสร้างปีนี้
ปัจจุบันบริษัทรับเหมารายใหญ่ล้วนรับงานในระดับหลักแสนล้านบาท โดยเฉพาะโครงการมอเตอร์เวย์ รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ สนามบินสุวรรณภูมิเฟส2 ก่อสร้างท่าเรือล้วนมีมูลค่าหลักหมื่นล้านบาทขึ้นไป จึงมีผลอย่างมากด้านการมีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศนอกจากนั้นยังมีภาคเอกชนสนใจจะลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าอีกหลายรายคาดว่าปลายปีนี้และปีหน้ายังจะมีการลงทุนเกิดขึ้นมากมายตามมาอีก

ประการสำคัญปลายปีนี้และปีหน้าภาครัฐหลายหน่วยงานยังคงมีการลงทุนอีกจำนวนมากอาทิ กรุงเทพมหานครที่ล่าสุดสภากรุงเทพมหานครได้อนุมัติงบประมาณเพื่อการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท และยังจะมีอีกหลายหน่วยเร่งดำเนินการโดยเฉพาะหน่วยงานหลักอย่างกรมทางหลวงปี 2561 คาดว่าจะได้รับงบประมาณไม่น้อยกว่า 5-6หมื่นล้านบาท กรมทางหลวงชนบทไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาทซึ่งยังเป็นหน่วยหลักที่มีการใช้งบประมาณจำนวนมากในแต่ละปี

++ปี 2561 ยังมีงานอีกมาก
ส่วนปีหน้ายังมองว่ามีโครงการรถไฟทางค่อู ีก 9 เส้นทางมูลค่ารวมกว่า 4 แสนล้านบาท นอกจากนั้นยังมีโครงการตามแผนงบประมาณของหน่วยต่างๆ เพิ่มเข้ามาอีกหลายรายการคงจะกระจายงานให้กับบริษัทรายกลางและรายย่อยได้อีกจำนวนมาก

แต่ที่น่าเป็นห่วงคือบริษัทรับเหมาที่รับงานอาคารจะกระทบได้หากงานทะลักออกมาจำนวนมากอาจรับมือไม่ทันที่อาจจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีนี้เมื่อโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐแล้วเสร็จ ซึ่งหากจะให้เห็นผลชัดเจนภาครัฐควรกำหนดแผนงานด้านงานอาคารขนาดใหญ่ตามมาอีกเพื่อให้เอกชนได้วางแผนรับมือเอาไว้แต่เนิ่นๆ

“เมื่อโครงสร้างรถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง มอเตอร์เวย์แล้วเสร็จงานด้านอาคารขนาดใหญ่อย่างศูนย์ประชุมของภาครัฐและเอกชนก็คงจะเกิดขึ้นตามมา ขณะนี้พอเห็นอยู่บ้างสำหรับการก่อสร้างอาคารสถานีรถไฟรถไฟฟ้าต่างๆ แต่ละจุดมูลค่าไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีแผนกำหนดเอาไว้ในนโยบายภาครัฐก็ตามจึงฝากความหวังไว้กับรัฐบาลต่อไปเร่งขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,297 วันที่ 17 - 20 กันยายน พ.ศ. 2560

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1