ธปท.ชี้ปีหน้าเงินเฟ้อกลับสู่กรอบเป้าหมาย

12 ก.ย. 2560 | 11:31 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

แบงก์ชาติย้ำเงินเฟ้อต่ำ  เหตุจากอุปทาน-โครงสร้างภายนอก ชี้จุดเด่นกรอบเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นหนุนวินัยการเงิน –เล็งยกระดับเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายการเงินรับความท้าทายที่เพิ่มขึ้น เตือนนักลงทุนไทยกระจายเสี่ยง

เมื่อวันที่ 11กันยายน 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บรรยายพิเศษเรื่อง "นโยบาย การเงินและความท้าทายในยุคใหม่" โดยนำเสนอ 2ประเด็นคือ กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นยังเหมาะสมกับบริบทปัจจุบันมีส่วนสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้นขณะที่เศรษฐกิจไทยไม่อยู่ในภาวะเงินฝืดและ อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันอยู่ในระดับเหมาะสม

[caption id="attachment_207077" align="aligncenter" width="335"] นายเมธี สุภาพงษ์ นายเมธี สุภาพงษ์[/caption]

นายเมธี สุภาพงษ์   รอง ผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า  ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่เผชิญกับปรากฎการณ์เงินเฟ้อต่ำ เห็นได้จากในหลายประเทศอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับเช่นกัน อาทิ สวีเดนอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าเป้าหมายมาเป็นเวลา  5ปี เกาหลีใต้ 5ปี ไทย 2ปีจึงไม่ผิดปกติในสภาวะที่ผ่านมาแม้กระทั่งนิวซีแลนด์ซึ่งเป็นประเทศผู้คิดกรอบเงินเฟ้อยังสะท้อนเงินเฟ้อต่ำเป้าเช่นกัน  รวมไปถึงประเทศ 3Gทั้งญี่ปุ่นและยุโรปเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ขณะที่จีนเงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำด้วย ส่วนประเทศในแถบเอเซียบางประเทศบ้างเงินเฟ้อเพิ่มและทรงตัวเช่น อินโดนีเซีย

สำหรับไทยอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลา 2ปีนั้น ปัจจัยจากอุปทานโดยเดือนสิงหาคมอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.32% ทั้งอาหารสด 15.69% พลังงาน 11.75% รวมทั้งปัจจัยโครงสร้างจากภายนอกมีส่วนกดดันให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำต่ำเนื่อง ไม่ว่าการผลิตน้ำมันจาก Shale oil หรือ Global Value Chainทำให้ประเทศต่างๆเข้าถึงวัตถุดิบได้ง่ายและถูกลง ผู้บริโภคเกิดการเปรียบเทียบราคาสินค้าได้ง่าย และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งเป็นปัจจัยระยะยาวยังกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ให้ชะลอทั้งการบริโภคและการลงทุน ประกอบกับพลวัตเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะหลัง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจในประเทศกับเงินเฟ้อปรับลดลงระยะหลังทำให้การเฟ้อตัวทางเศรษฐกิจส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อไม่เร่งตัวมากเหมือนในอดีต โดยเงินเฟ้อมีความหนืดสูงหรือปรับตัวช้ากว่าเดิมทั้งนี้ปัจจัยภายนอกมีบทบาทต่อพลวัตของเงินเฟ้อไทยมากขึ้น

“แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยลดต่ำมา 2-3ปียังไม่น่าห่วง เพราะเกิดจากPositive Supply Shockโดยเฉพาะการลดลงของราคาน้ำมันซึ่งสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจผ่านการลดต้นทุนธุรกิจและครัวเรือน เศรษฐกิจไทยก็ไม่อยู่ในภาวะเงินฝืดและเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะ 1ปีข้างหน้าทรงตัว ส่วนเงินเฟ้อคาดการณ์ 5ปีใกล้เคียงค่ากลาง 2.5% และภายในเดือนนี้ธปท.จะทบทวนตัวเลขเศรษฐกิจ”

อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไป อาจมาจากนโยบายจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวทำให้ค่าจ้างบางส่วนหายไป และการขึ้นภาษีสรรพสามิต รวมถึงการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่อาจต่ำกว่าที่ประเมินไว้ โดยประมาณการอัตราเงินเฟ้อสิ้นปี2560 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 0.8%ปี 2561อยู่ที่ 1.6% อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.6%(0.7) และ0.9%(1.0) ตามลำดับ ทั้งนี้ การตัดสินนโยบายภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นนั้นคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ชั่งน้ำหนักระหว่าง 3ปัจจัยคือ ความเสี่ยงเงินเฟ้อ  การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และเสถียรภาพระบบการเงินโดยติดตามความสมดุลที่อาจก่อตัวในระบบเศรษฐกิจ 7ด้านเป็นประจำทั้งต่างประเทศ   ตลาดการเงิน การคลัง ภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน ครัวเรือน และอสังหาฯเป็นต้น

นายเมธีกล่าวถึงภาวะการเงินในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ผ่อนคลาย ซึ่งเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สะท้อนได้จากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงที่ยังติดลบอยู่ 0.3% (คำนวณจากอัตราดอกเบี้ยหักอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดการณ์ 1ปีข้างหน้า)ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค เช่น อินโดนีเซีย 1% อินเดีย 0.8% มาเลเซีย 0.8% ฟิลิปปินส์ -0.4% โดยที่เสถียรภาพระบบการเงินโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี แต่กนง.มีความเป็นห่วงบางจุดโดยสอดส่องถึงความเสี่ยงที่ยังไม่ปรากฏชัดในภาวะดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่องด้วย  ขณะที่หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงแม้สัดส่วนต่อจีดีพีเริ่มปรับลดลงบ้าง หรือปัจจัยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวไม่มากหรือพฤติกรรมการประเมินความเสี่ยงที่ต่ำเกินไป Search For Yield มีมากขึ้นทั้งผู้ลงทุนซึ่งยังเห็นคนไทยออกไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศ( FIF) บางช่วงกระจุกตัวในบางประเทศ ซึ่งเป็นความเสี่ยงจึงแนะนำให้ผู้ลงทุนพยายามกระจายการลงทุนออกไปที่อื่นด้วย  ทั้งนี้ที่ ผ่านมาได้เข้าไปแก้ไขปัญหาสหกรณ์ออมทรัพย์ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)สหกรณ์ฯ

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันยังเป็นระดับที่เหมาะสมเพื่อรักษาสมดุลใน 3เป้าหมายทั้งอัตราเงินเฟ้อ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงิน ซึ่งโดยสรุปกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบบยืดหยุ่นยังเหมาะสมบริบทปัจจุบัน ซึ่งมีจุดเด่นช่วยรักษาวินัยทางการเงิน เข้าใจง่ายและโปร่งใสกว่ากรอบเป้าหมายอื่นๆและมีส่วนสร้างความน่าเชื่อถือและธนาคารกลางประเทศอื่นๆที่ใช้หลักการกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นยังไม่เปลี่ยนไปใช้กรอบนโยบายการเงินอื่น

สำหรับไทยกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นยังมีประสิทธิภาพควบคุม ยึดเหนี่ยวการคาดการเงินเฟ้อของสาธารณชน ในระยะต่อไป การเพิ่มประสิทธิภาพของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดีขึ้นขึ้น โดยขณะนี้หาวิธีจะปรับปรุงกรอบนี้อย่างไรภายใต้ 4แนวทางคือ 1.ใช้ประโยชน์ของความยืดหยุ่นของกรอบเป้าหมายอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อและระยะเวลาที่เหมาะสมในการนำเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายตามประเภท/ขนาดของ Shock โดยไม่สร้างผลข้างเคียงต่อเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับเป้าหมายระยะปานกลาง

2.ยกระดับกรอบการประเมินFinancial stability risks พัฒนาแบบจำลองและเครื่องชี้ในการประเมิน Financial stability risks และ Incorporate ประเด็นเหล่านี้ในกระบวนการตัดสินนโยบายการเงินอย่างเป็นระบบ 3.วางแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือเชิงนโยบายอื่นๆ นอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะยกระดับการใช้ Macro prudential policyควบคู่ไปกับอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยลดความเสี่ยงหรือความเปราะบางต่อเสถียรภาพระบบการเงินในกรณีที่จำเป็น รวมถึงประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแล และ4.ยกระดับการสื่อสารนโยบายการเงินเพื่อเพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพ

“ อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังเป็นระดับเหมาะกับสภาวการณ์ปัจจุบัน และผ่อนคลายเพียงพอที่จะเอื้อต่อการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ ตลอดจนสนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทยอยปรับตัวสูงขึ้น น่าจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปีหน้า แต่ภายใต้ความท้าทายที่เพิ่มขึ้นธปท.จะเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายการเงินผ่านการพัฒนาและยกระดับการวิเคราะห์ เครื่องมือเชิงนโยบายและแนวทางสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ส่วนการตัดสินใจนโยบายการเงินในระยะต่อไปต้องพิจารณาบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจและคำนึงถึงTradeoffระหว่างเป้าหมายต่างๆอย่างเหมาะสม"