เบนซ์ลีสซิ่ง ตั้งเป้าโกย 4 หมื่นล้าน

13 ส.ค. 2560 | 09:34 น.
แม้ตลาดรถโดยรวมจะอยู่ในภาวะชะลอตัว แต่สำหรับตลาดรถหรูแบรนด์ใหญ่ กลับมียอดขายพุ่งสูง ยกตัวอย่าง ค่ายเบนซ์ ลีสซิ่ง ที่เผยว่ายอดสินเชื่อใหม่ในช่วง6เดือนแรกของปี 2560 เพิ่มขึ้นมากว่า 14% ซึ่งปัจจัยอะไรที่ทำให้ตลาดนี้รวมไปถึงเบนซ์ลีสซิ่งที่เติบโต วันนี้ ศุภวุฒิ จิรมนัสนาคร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่ง (ประเทศ ไทย) จำกัด จะมาบอกกล่าว

++ตลาดรถหรูโต
กลุ่มรายได้ระดับกลาง-สูง มีการจับจ่ายใช้สอยตามปกติ ทำให้ตลาดรถหรูยังคงเติบโต ทั้งเราเองหรือบีเอ็มดับเบิลยู ยอดขายเพิ่มสูงขึ้น โดยมูลค่าสินเชื่อรถยนต์รวมของเบนซ์ลีสซิ่งตั้งแต่มกราคม-มิถุนายน 2560 อยู่ที่ 3.3 หมื่นล้านบาท เติบโต 7%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีที่ผ่านมา และเมื่อแบ่งออกเป็นยอดสินเชื่อใหม่พบว่ามีจำนวน 6,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อเดือน 1,000 ล้านบาท ขณะที่สินเชื่อที่ไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้หรือNPLอยู่ในระดับ 0.3 % ซึ่งตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยของตลาด ที่เฉลี่ย 2%

[caption id="attachment_193453" align="aligncenter" width="398"] ศุภวุฒิ จิรมนัสนาคร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่ง (ประเทศ ไทย) จำกัด ศุภวุฒิ จิรมนัสนาคร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่ง (ประเทศ ไทย) จำกัด[/caption]

++ผลประกอบการปี 60
คาดว่าจนถึงสิ้นปีเบนซ์ลีสซิ่งจะมียอดสินเชื่อใหม่ 1.3 -1.4 หมื่นล้านบาท ส่วนมูลค่าสินเชื่อรถยนต์รวมของปีนี้วางเป้าหมายอยู่ที่ 4 หมื่นล้านบาท โดยบริษัทมีความมั่นใจเพราะกลุ่มรถเพื่อการพาณิชย์ที่เข้ามาช่วยผลักดันยอดสินเชื่อให้เพิ่มมากขึ้น

++แผนรถเพื่อการพาณิชย์
เราให้การสนับสนุนวงเงินกับบริษัท เดมเลอร์ คอมเมอร์เชียล วีฮีเคิลส์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยจัดตั้งฟูโซ่ลีสซิ่งเพื่อบริการด้านการเงินครบวงจร ทั้งสินเชื่อสำหรับลูกค้าและสินเชื่อสำหรับผู้แทนจำหน่ายในการสต๊อกรถรวมไปถึงโชว์รูม โดยความคืบหน้าตอนนี้มีการพูดคุยเพื่อแต่งตั้งดีลเลอร์เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มี 9 ราย

ขณะที่การปล่อยสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ บริษัทได้วางแผนออกเป็น 2 แบบคือรายย่อย ที่ให้สินเชื่อโดย ตรงหรือในลักษณะเงินกู้ และอีกแบบคือรายใหญ่ อาทิบริษัทข้ามชาติ, ผู้ประกอบการขนส่ง, ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีโลจิสติกส์เป็นของตัวเอง ซึ่งกลุ่มนี้ใช้รถมากกว่า 50 คันขึ้นไป โดยบริษัทจะชูจุดเด่นเพื่อเข้าหาลูกค้ากลุ่มใหญ่ผ่านระบบฟลีตแมเนจเมนต์รวมไปถึงการนำเสนอโปรแกรม mySTAR

++เป้ารถเพื่อการพาณิชย์
ปัจจุบันการปล่อยสินเชื่อให้กับรถเพื่อการพาณิชย์ยังอยู่ในสัดส่วนที่น้อย 5-6% แต่หลังจากนี้จะเริ่มขยับเพิ่มขึ้นเป็น 10% และในอนาคตจะไปถึง 30% เพราะบริษัทมีรถรุ่นใหม่ โดยนำเข้ามาจาก 2 แหล่งได้แก่ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นรถหัวลากขนาดเล็ก ส่วนรถขนาดกลางและใหญ่ จะมาจากอินเดีย ที่มีกำลังการผลิตมากกว่า 3 หมื่นคันต่อปีและได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีนำเข้า

นอกจากนั้นแล้วในไตรมาส 4 จะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับโรงงานในไทย ที่จะประกอบรถบางรุ่นให้ ซึ่งความได้เปรียบของรถประเภทนี้คือ ประกอบง่ายกว่ารถเก๋ง หากสามารถตกลงหาบริษัทที่พร้อมประกอบให้ได้ ก็สามารถเดินหน้าได้เลย และบริษัทยังมีความสนใจเกี่ยวกับรถบัสขนาดเล็ก ขนาด 32 ที่นั่ง ที่อาจจะนำมาวิ่งแทนรถตู้ ตามนโยบายรัฐที่เคยประกาศออกมา

++กลยุทธ์อื่น
แผนงานในครึ่งปีหลังของเบนซ์ลีสซิ่ง ยังเดินหน้าให้ความสำคัญกับลูกค้าเพื่อ ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมและยังคงอยู่กับแบรนด์เมอร์เซเดส-เบนซ์ โดยเน้นกิจกรรม อาทิ เวิร์กช็อปต่างๆ, โรดโชว์, แคมเปญ ส่วนกลยุทธ์ต่อมาที่จะเน้นคือ mySTAR ที่เปิดโปรแกรมมา 3 ปีแล้ว โดยจะนำเสนอโปร แกรมทางเงินที่ยืดหยุ่น ค่างวดที่ตํ่ากว่าโปรแกรมเช่าซื้อถึง30% และเมื่อสิ้นสุดสัญญาลูกค้าก็เลือกได้ว่าจะคืนรถเพื่อออกคันใหม่ หรือจะเลือกชำระบัลลูนเต็มจำนวน หรือเลือกที่จะรีไฟ แนนซ์ไปอีก 1-4 ปี และล่าสุดบริษัทได้เพิ่มประกันภัยชั้น 1 เข้าไว้กับ mySTAR

นอกจากนั้นแล้วจะให้ความสำคัญกับบริการแบบดิจิตอล ที่จะเสนอให้กับดีลเลอร์ และลูกค้าไม่ว่าจะเป็น “Dealer Touchpoint (DTP)” ที่ช่วยให้ดีลเลอร์ทำธุรกิจได้ทุกที่ทุกเวลา, “myBUSINESS” ที่ดีลเลอร์จะเช็กผลประกอบการของตนเองผ่านมือถือได้, “Customer Online Service (COS)” ระบบที่ลูก ค้าสามารถดูประวัติการชำระค่างวด พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน หรือติดต่อกับทางเบนซ์ลีสซิ่งได้ด้วยตนเอง , Digital Welcome message ที่จะแนะนำการใช้งาน แบบวีดิทัศน์ การคำนวณยอดปิดสินเชื่อก่อนกำหนด และ การใช้บัตรชำระค่างวดแบบอิเล็กทรอนิกส์

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,287 วันที่ 13 -16 สิงหาคม พ.ศ. 2560