เปิด 5  เหตุผล  ค้านแก้! ‘กม.บัตรทอง’

25 มิ.ย. 2560 | 10:03 น.
การแก้กฎหมายหลักประกันสุขภาพยังคงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ ล่าสุดนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ออกมาระบุว่า เหตุผลในการแก้มีน้อยมาก ในส่วนของโรงพยาบาลขาดทุนจากโครงการดังกล่าวเป็นเรื่องการบริหารจัดการและลดลงมากแล้ว

วันที่ 25 มิ.ย.60–นายแพทย์ วิชัย โชควิวัฒน์ อดีตกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เปิดเผยถึงการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง ในรายการสปริงนิวส์อาสาคลายทุกข์ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา ว่า จริงๆแล้วมีความจำเป็นที่จะแก้ไขน้อยมาก เพราะกฎหมายเดิมวางรากฐานไว้ดี เพราะผ่านการพิจารณามาอย่างเข้มข้น แต่ที่ต้องแก้ไขเนื่องจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ได้เข้ามาตรวจสอบและพบว่าอาจมีการกระทำเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด รวมถึงคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ หรือ คตร. ที่เข้ามาตรวจสอบ แต่พบว่าการดำเนินการผ่านมาตั้งแต่ปี 2545 ค่อนข้างดี

[caption id="attachment_169245" align="aligncenter" width="350"] นายแพทย์ วิชัย โชควิวัฒน์ อดีตกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. นายแพทย์ วิชัย โชควิวัฒน์ อดีตกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช.[/caption]

จากนั้นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้ออกคำสั่งแก้ปัญหาที่กฎหมายฉบับนี้อาจจะบกพร่อง ซึ่งเหลือเพียงประเด็นที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ช่วยจัดซื้อยาบางประเภท ซึ่งมีไม่ถึงร้อยละ 10 เช่น ยารักษาเอดส์ ถ้าให้แต่ละโรงพยาบาลจัดซื้อเองจะได้ยาหลากหลายประเภท ซึ่งผู้ป่วยเอดส์หากกินยาไม่ถูกจะทำให้ดื้อยาได้

ในส่วนประเด็นที่มีโรงพยาบาลขาดทุนจากโครงการบัตรทอง นายแพทย์วิชัย มองว่าเป็นเรื่องการบริหารจัดการของโรงพยาบาลมากกว่า

ขณะที่ นางสุภัทรา นาคะผิว โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เปิดเผยว่า การแก้พระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพ ทางกลุ่มเห็นร่วมตามกรอบคำสั่งของ คสช. ซึ่งหากแก้ไขตามคำสั่ง คสช. คงไม่มีปัญหา แต่กระทรวงสาธารณสุขกลับตั้งคณะกรรมการขึ้นมาปรับแก้กฎหมายเกินกว่าคำสั่ง คสช. ทำให้กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพต้องออกมาคัดค้าน โดยมีประเด็นที่เห็นต่าง 5 ข้อ

ข้อแรกคือการปรับแก้สัดส่วนบอร์ด โดยเพิ่มตัวแทนหน่วยบริการ

ข้อที่ 2  คือ เรื่องการแยกเงินเดือนออกจากค่าเหมาจ่ายรายหัวในกฎหมายใหม่ แต่ตามกฎหมายเดิมการรวมเงินเดือนเข้ากับค่าเหมาจ่ายรายหัว เพื่อต้องการกระจายบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้มีเงินไปจ้างบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มเติมได้

ข้อที่ 3 การแก้มาตรา 41 เรื่องการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ที่มีการเสนอให้คุ้มครองผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายด้วย ซึ่งกลุ่มมองว่า อยากให้ขยายเป็นเรื่องการเยียวยา จะได้ไม่มีการฟ้องร้อง

ข้อที่ 4  การปรับสัดส่วนกรรมการควบคุมคุณภาพ ทางกลุ่มขอให้เพิ่มตัวแทนโรงพยาบาล ไปแทนวิชาชีพ

ข้อที่ 5  เป็นข้อเสนอของทางกลุ่มฯคือ ให้ดูเรื่องมาตรา 9 และ 10 คือทำให้ระบบสุขภาพมีมาตรฐานเดียว คือต้องการเห็นกองทุนสุขภาพกองทุนเดียว คือต้องการให้บัตรทอง ประกันสังคม และสิทธิข้าราชการ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมมากขึ้น

Clinic-02-1-768x432 ส่วนเรื่องอื่น ๆ คือ มาตรา 5 วรรค 2 เรื่องคณะกรรมการอาจจะมีการกำหนดให้ร่วมจ่ายได้ ซึ่งมีอยู่ในกฎหมายเดิม โดยทางกลุ่มฯ มองว่า ประชาชนร่วมจ่ายผ่านระบบภาษีก่อนป่วยอยู่แล้วอยู่แล้ว จึงไม่ควรมีคำว่าร่วมจ่ายในกฎหมายฉบับนี้โดยเสนอให้ตัดออกไป เพราะจะเปิดโอกาสให้บอร์ด สปสช. กำหนดการร่วมจ่าย ณ จุดบริการ

ขณะที่ นายแพทย์ ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า ต่อจากนี้จะรวบรวมความเห็นทั้งหมด ก่อนที่จะส่งให้คณะรัฐมนตรี พิจารณา 18-19 กรกฎาคม ซึ่งการแก้กฎหมายครั้งนี้อาจจะดีขึ้นสำหรับคนบางกลุ่ม หรือไม่ดีกับคนบางกลุ่ม