PTTEP กอดคอ PTT ดิ่ง หลังหยุดผลิตน้ำมันดิบในพื้นที่ส.ป.ก.แหล่ง S1

05 มิ.ย. 2560 | 08:18 น.
ในช่วงบ่ายของวันที่ 5 มิถุนายน 2560 ราคาหุ้น บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(PTTEP) ถูกเทขายออกมาอย่างหนัก จนราคาหุ้นรูดลงแรง ซื้อขาย บริเวณ 87.75 บาท ติดลบ 2.25 บาท คิดเป็น 2.50 % และฉุดห้าคาหุ้นบริษัทปตท.(PTT)ที่ถือหุ้น PTTEP สัดส่วน 65.29% ทรุดลงตาม ซื้อขายบริเวณ385 บาท ติดลบ 6 บาทหรือ 1.53% และกดดันให้ดัชนีหุ้นพลิกจากบวกลงมาติดลบ เกือบ 5 จุด ในเวลาประมาณ 15.05 น.

image1 (4) หลังจาก นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTEP ชี้แจงตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การหยุดการผลิตชั่วคราว ในพื้นที่ ส.ป.ก. โครงการเอส 1 ตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ให้เพิกถอนระเบียบ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เรื่องการให้ความยินยอมในการนำทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูป ที่ดินไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจึงแจ้งให้ผู้รับสัมปทานบนบกทุกรายหยุด กิจกรรมการผลิตปิโตรเลียมที่มีการดำเนินการอยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. เป็นการชั่วคราวนั้น ทำให้บริษัท ปตท.สผ.สยาม ที่ PTTEP ถือหุ้น 100% ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงได้หยุดการผลิตโครงการเอส 1 เฉพาะในพื้นที่ ส.ป.ก. ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2560

image2 สำหรับโครงการเอส 1 ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก และก าแพงเพชร โดย ปตท.สผ. และ ปตท.สผ.สยาม ถือสัดส่วน 100% มีปริมาณการขายน้ำมันดิบเฉลี่ยปี 2559 อยู่ที่ ประมาณ 27,351 บาร์เรลต่อวัน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ประมาณ 264 ตันต่อวัน และก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 21 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

“การหยุดการผลิตโครงการเอส 1 ในพื้นที่ ส.ป.ก จะส่งผลให้ปริมาณ การขายน้ำมันดิบลดลงประมาณ 15,000 บาร์เรลต่อวัน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ลดลงประมาณ 130 ตัน ต่อวัน และก๊าซธรรมชาติลดลงประมาณ 10 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน อย่างไรก็ดี กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอยู่ ระหว่างการรวบรวมผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้รับสัมปทานบนบกรายอื่น เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหา ต่อไป” นายสมพรกล่าว

ที่ผ่านมา การดำเนินการปตท.สผ.สยาม เป็นไปอย่างถูกต้อง โดยบริษัท ไทยเชลล์ เอ็กซ์พลอเรชั่น แอนด์ โปรดักชั่น (ไทยเชลล์) ผู้รับสัมปทานเดิม ได้รับอนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ และต่อมาในปี 2536 ได้ มีการออกประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินทับซ้อนพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานเดิมเข้าใช้ประโยชน์ ในปี 2543 บริษัท ไทยเชลล์ ได้ยื่นขออนุญาตใช้ที่ดินในเขต ส.ป.ก. พร้อมยื่นคำขอรับคำยินยอมให้ ใช้ที่ดินในเขต ส.ป.ก. ตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เมื่อ ปตท.สผ. เข้าซื้อกิจการ โครงการและเป็นผู้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 จึงได้เข้าใช้ประโยชน์ตามที่บริษัท ไทยเชลล์ ได้รับ อนุญาต รวมถึงได้ขออนุญาตการเข้าใช้ประโยชน์ตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง