เสริมสุขทำธุรกิจ...ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

08 เม.ย. 2560 | 01:00 น.
TP31-3250-1 สิ่งแวดล้อม คือ หัวใจสำคัญของการแสดงความรับชอบต่อสังคม ที่บริษัทผู้ผลิตทั้งหลายไม่อาจมองข้าม "บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)" หนึ่งในบริษัทชั้นนำด้านเครื่องดื่มของไทยก็เช่นกัน หนึ่งในนโยบายด้านสังคมของ เสริมสุข ก็คือ การให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

TP31-3250-8 ล่าสุด เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2559 กับการเปิดโรงงานน้ำดื่มคริสตัล ที่โรงงานนทีชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยกำลังการผลิต 36,000 ขวดต่อชั่วโมง หรือ 1.2 ล้านลังต่อเดือน "เลสเตอร์ เต็ก ชวน ตัน" รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส บริษัท ไทยดริ้งค์ จำกัด และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) บอกว่า คริสตัลได้รับ "ฉลากลดโลกร้อน" ในฐานะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุที่อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น ด้วยการลดน้ำหนักพลาสติก ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเท่าที่จำเป็น และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นทางคือการผลิตขวดพลาสติก กระบวนการผลิตน้ำดื่ม และการขนส่งสินค้า ลดต้นทุนด้าน logistics มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคนในพื้นที่ตั้งของโรงงาน

TP31-3250-7 ส่วนของโรงงานใหม่แห่งนี้ สายการผลิตใหม่ ได้รับการออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีจากประเทศเยอรมนีที่ทันสมัยและได้มาตรฐานระดับโลก ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 3.97 แสนกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อปี คิดเป็นปริมาณลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 415 CO2e (คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) ต่อปี

TP31-3250-5 "เรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ การดำเนินธุรกิจอะไร ก็ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และต้องลดมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศ"... และสิ่งที่เสริมสุขทำ คือ การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ามาช่วย แทนการใช้สารเคมี ซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

TP31-3250-3 นอกจากนี้ เสริมสุขยังตระหนักดีว่า น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของประเทศ จึงได้กำหนดนโยบายและระบบการควบคุมคุณภาพน้ำอันเคร่งครัด โดยการออกแบบและเลือกใช้ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีความเหมาะสมกับคุณลักษณะของน้ำเสียจากโรงงาน รวมถึงสภาพแวดล้อมทั่วไปและที่ตั้ง

TP31-3250-4 ของโรงงานแต่ละโรงงาน โดยปัจจุบันแต่ละโรงงานของบริษัทฯ มีระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพ ในโรงงานทั้งหมด 12 แห่ง อาทิ โรงงานปทุมธานี ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ UASB (Up-flow Anaerobic Sludge Blanket) และระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS (Activated Sludge) โรงงานนครราชสีมา ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ Aerated Lagoon และระบบบำบัดน้ำเสียแบบ Oxidation Pond และระบบตกตะกอนในการกำจัดสาหร่ายโรงงานนครสวรรค์ ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS (Activated Sludge) โรงงานสุราษฎร์ธานี ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS (Activated Sludge) และโรงงานชลบุรี ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ Anaerobic Filter และระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS (Activated Sludge)

TP31-3250-2 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,250 วันที่ 6 - 8 เมษายน พ.ศ. 2560