กรอบงบปี61‘พัฒนาโลจิสติกส์’ คมนาคมเสนอมากสุด2.5แสนล.

22 พ.ย. 2559 | 02:00 น.
ที่ประชุมงบประมาณเชิงบูรณาการ เสนองบพัฒนาโลจิสติกส์และคมนาคม 2,434 รายการ วงเงินรวมกว่า 2.6 แสนล้านบาท คมนาคมได้มากสุก 2.55 แสนล้านบาท

แหล่งข่าวจากที่ประชุมงบประมาณบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ประจำปี 2561ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา เปิดเผย“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแผนบูรณาการพัฒนาคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ปี 2561 หรือ Pre-ceiling จำนวน 2,434 รายการ กรอบวงเงิน 2.6 แสนล้านบาท มีการเสนอมาจาก 11 กระทรวง 26 หน่วยงาน โดยกระทรวงคมนาคม เสนอวงเงินมากที่สุด 2.55แสนล้านบาทคิดเป็นประมาณ 985%

แผนปี 2561-2565 กระทรวงคมนาคมเสนอจะเน้นเรื่องการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ 3 สาย การลงทุนก่อสร้างรถไฟรางคู่สายหลัก รวมถึงการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ครอบคลุมการก่อสร้างศูนย์การเปลี่ยนถ่ายขนส่งเชียงของ

ส่วนแผนบูรณาการปี 2562 เน้นเรื่องการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ (บ้านไผ่-นครพนม), เส้นทางรถไฟสายใหม่ (เด่นชัย-เชียงราย) ,พัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไฮสปีดเทรนและท่าอากาศยานอู่ตะเภา ส่วนแผนบูรณาการปี 2563-2565 เน้นในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างผู้โดยสารสายใหม่รองรับ 15 ล้านคนต่อปีท่าอากาศยานอู่ตะเภา, พัฒนาโครงการท่าเรือแหลมฉบังสู่ อาเซียน เกทเวย์และพัฒนาท่าบกเชื่อมแหลมฉบังและ CLMV

แหล่งข่าวระบุว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรกระทรวงคมนาคม ได้จัดทำแนวทางจัดทำงบประมาณบูรณาการด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ออกเป็นยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ครอบคลุมตั้งแต่ปี 2560-2579 เน้นในเรื่องการพัฒนาและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่จะรวมกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับฉบับที่ 12 ระหว่างปี 2560-2564แบ่งออกเป็น 7 เป้าหมายประกอบด้วย

1.Modal Shift เน้นระบบการขนส่งทางน้ำ/ท่าเรือ ระบบขนส่งทางราง/รางคู่ กำหนดว่าในปี 2562 จะต้องเพิ่มระบบขนส่งทางน้ำเพิ่มขึ้น 0.28% และทางรางเพิ่มขึ้น 1.14%โครงการลงทุน 30 รายการ วงเงิน1.68 หมื่นล้านบาท

2.พัฒนาศูนย์การเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งศูนย์ รวบรวมกระจายสินค้า CY/ICD (Multi Modal)ที่จะเข้ามาจะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งสินค้าให้ต่ำกว่า 7% ของจีดีพีได้ในปี 2564 รวม 4 รายการ วงเงินลงทุน129 ล้านบาท

3. เพิ่มความคล่องตัวที่ประหยัดเวลาในการเดินทางและการขนส่งสิ นค้า (Mobility)เน้นพัฒนาระบบขนส่ งทางถนนหรือมอเตอร์เวย์ ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสู ท่าอากาศยาน ระบบขนส่งผู้โดยสารสาธารณะและรถไฟฟ้า ช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการขนส่งทางอากาศเพิ่มเป็น 10% ภายในปี2562 และค่าเฉลี่ยจำนวนคนในการเดินทางต่อวันโดยระบบการขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 9.02 หมื่นคนภายในปี 2560 ตามแผนจะมีการลงทุนรวม 2,132 รายการวงเงิน 2.13 แสนล้านบาท

4. เป้าหมายทางด้านการรองรับพื้นที่ เศรษฐกิจพิเศษ SEZ ชายแดน และEEC ชายฝั่งทะเลตะวันออก รองรับปริมาณคนและสินค้าที่ผ่านด่านหลักของประเทศ ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5% คาดว่ามีลงทุนรวม116 รายการ วงเงินลงทุนใกล้เคียง 2.4 หมื่นล้านบาท

5. เน้นเป้าหมายในการจัดการห่วงโซ่ อุปทานหรือเพิ่มขีดความสามารถด้ านการบริหารจัดการเครือข่ายโลจิ สติกส์และเซอร์วิส โพรไวเดอร์ จะทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อยอดขายของภาคอุตสาหกรรมลดลงไม่น้อยกว่า 0.1% ในปี 2562 ตามแผนจะมีการลงทุนรวม5 รายการวงเงินลงทุนรวม 578 ล้านบาท

6. เป้าหมายทางด้านมาตรฐานด้านโลจิสติกส์ พัฒนาระบบ National Single Window ให้เป็นไปตามหลักสากล ที่จะทำให้คุณภาพการให้บริการด้ านโครงสร้างพื้นฐานของไทยสูงขึ้นอย่างน้อย 6 ลำดับในปี 2564 โดยจะมีโครงการลงทุนรวม 140 รายการ วงเงินลงทุนรวม 2,353 ล้านบาท

7. เป้าหมายทางด้านลดภาระงบประมาณ ที่จะนำระบบพีพีพี และลดภาระการซ่อมโครงสร้างบำรุงโครงสร้างพื้นฐานนำมาปรับใช้ให้มากขึ้น ตามแผนจะมีการลงทุนรวม 7 รายการ วงเงิน 4.43 พันล้านบาท ช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้ลดลง 2%

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,211 วันที่ 20 - 23 พฤศจิกายน 2559