ตลาดโรงแรมเชียงใหม่...บูม โอกาสในวันนี้และวันหน้า อุปสงค์เพิ่มอีก 2 เท่า

01 ต.ค. 2559 | 12:00 น.
จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองที่มีศักยภาพในการลงทุนสูง โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม เชียงใหม่ยังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ ศูนย์กลางการลงทุน การศึกษา ศูนย์ราชการ วัฒนธรรม เมืองหลักในภาคเหลือ และศูนย์กลางของ AEC, CLMV เชื่อมต่อกับประเทศจีน โดยเศรษฐกิจ GPP เชียงใหม่ ยังคงขยายตัวสูงเฉลี่ยถึง 8.0% ต่อปี ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดในปี 2557 GPP 184,132 ล้านบาท เป็นลำดับที่ 1 ในภาคเหนือ

ศักยภาพในอนาคต การเชื่อมต่อกับ AEC, CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม เป็นประเทศในกลุ่ม ASEAN ที่มีแนวโน้ม เศรษฐกิจโตต่อเนื่องและยังมีแร่ธาตุทรัพยากรอุดมสมบูรณ์) และที่สำคัญคือ การเชื่อมต่อด้านการท่องเที่ยว การลงทุน เศรษฐกิจกับมหาอำนาจใหม่ ประเทศจีน

ด้านการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างมากโดยจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มจาก 3.0 ล้านคน ในปี 2553 เป็น 7.4 ล้านคน ในปี 2558 (เพิ่ม 146% ในรอบ 5 ปี)ผู้โดยสารผ่านสนามบินเชียงใหม่ในปี 2558 จำนวน 8.3 ล้านคน (ส่วนที่เหลือเป็นธุรกิจ ฯลฯ) เที่ยวบิน 982 flights ต่อสัปดาห์

AOT ยังคาดการณ์อีกว่าในปี 2568 ผู้โดยสารจะเพิ่มถึง 14.6 ล้านคน (แผนขยายสนามบิน เชียงใหม่ให้รองรับได้ 18 ล้านคนต่อปี) และในปี 2578 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 19.7 ล้านคน (แผนขยายสนามบิน ขยายรองรับได้ 20 ล้านคนต่อปี)แผนการขยายสนามบินเชียงใหม่ (สนามบินแห่งเดิม)

[caption id="attachment_101626" align="aligncenter" width="700"] เมกะโปรเจ็กต์สำคัญ โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เมกะโปรเจ็กต์สำคัญ โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่[/caption]

นอกจากนี้ยังมีเมกะโปรเจ็กต์สำคัญ โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมมีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ด้านระบบราง และบันทึกความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนน ร่วมกับนายเคอิชิ อิชิอิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น สาระสำคัญของเอ็มโอยูด้านระบบรางจะเป็นเรื่องของการพัฒนารถไฟความเร็วสูงไทย - ญี่ปุ่น ช่วงกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ซึ่งเบื้องต้นจะนำเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น หรือ ชินคันเซน ที่มาตรฐานความปลอดภัยสูงมาใช้ในโครงการนี้ โดยเป็นรูปแบบรางเฉพาะ และจะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ คือ 1.กรุงเทพฯ -พิษณุโลก และ 2.พิษณุโลก - เชียงใหม่ ทั้งนี้ทางญี่ปุ่นต้องไปศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนำเสนอฝ่ายไทยพิจารณารูปแบบการลงทุนว่าจะเป็นแบบได้ โดยญี่ปุ่นจะรายงานความเป็นของโครงการในเดือนพฤศจิกายนหากโครงการมีความเป็นไปได้จะใช้เวลาในการออกแบบอีก 1 ปี หรือประมาณปี 2560 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2561 (ที่มา: รถไฟไทยดอทคอม (rodfaithai.com) 7 ส.ค. 59)

อีกทั้งยังมีโครงการมอเตอร์เวย์ เชื่อมเชียงใหม่-เชียงรายอุโมงค์ทางลอด วงแหวนรอบ 4 โครงการรถไฟฟ้าในเมืองเชียงใหม่ เป็นต้นที่จะเสริมศักยภาพด้านการขนส่ง การเดินทางในอนาคต นอกจากนี้จังหวัดยังมีแผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี 2557- 2560 โดยกำหนดให้เป็น

1. เมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวและบริการระดับสากล : MICE City, Wellness City

2. เมืองศูนย์กลางการค้า การลงทุน และการคมนาคมขนส่ง : Northern Land port

3. เมืองแห่งเกษตรปลอดภัย : Northern Food Valley

4. เมืองศูนย์กลางการศึกษานานาชาติสู่สากล : Education Hub

5. เมืองน่าอยู่: Eco-Town Eco-Village

ปัจจัยข้างต้น ล้วนส่งเสริมศักยภาพของจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่คาดว่าอุปสงค์จะขยายตัวอีกถึง 2 เท่าจากการขยายสนามบินเชียงใหม่ดังกล่าว อย่างในปีที่แล้ว นักท่องเที่ยวเดินทางมาจำนวนกว่า 7.4 ล้านคน ทำให้เชียงใหม่ไม่มี Low Season (ในบางทำเล)

อย่างไรก็ตาม การลงทุนยังต้องระมัดระวัง ในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านกฎหมาย ซื้อที่ดินมาอาจก่อสร้างได้นิดเดียว กรณีการปรับปรุงอาคารก็ไม่มีใบอนุญาตโรงแรม ต้องระวังเรื่องใดบ้าง อะไรที่เป็นจุดตายของโรงแรม ด้านการตลาด โรงแรมบางแห่ง บางทำเล บางประเภท ก็ทำไม่ได้เพราะอาจมีคนพักแค่ 3-4 เดือน ต้องมีข้อมูลภาวะตลาดแต่ละทำเล ความนิยมของกลุ่มนักท่องเที่ยว รู้พฤติกรรมนักท่องเที่ยว ฯลฯ ต้องรู้ให้ลึกว่านักท่องเที่ยวมายังเชียงใหม่เป็นกลุ่มใด มาเพราะอะไร เราจะรองรับกลุ่มเป้าหมายใด จะรองรับกลุ่มคนไทยที่มักท่องเที่ยวในฤดูหนาว หรือชาวต่างชาติ ชาติใดบ้าง แนวโน้มการขยายตัวของนักท่องเที่ยวแต่ละชาติเป็นอย่างไร

(นักท่องเที่ยวมาเชียงใหม่ 1 ใน 3 เป็นยุโรป, 1 ใน 3 เป็นเอเชียที่ไม่ใช่จีน และ 1 ใน 3 เป็นนักท่องเที่ยวจีน)
มหาโอกาสของการลงทุนมาแล้ว ...แต่ที่เชียงใหม่ก็ปราบเซียนมามาก

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,195 วันที่ 25 - 28 กันยายน พ.ศ. 2559