นักศึกษาไทย - ญี่ปุ่น ดวลทักษะสถาปัตย์ IWAH 2016

26 ก.ย. 2559 | 02:18 น.
นักศึกษา มทร.ธัญบุรี และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ดวลทักษะทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ ลงพื้นที่เวิร์กชอป ‘เวอร์นาด็อก’ เพื่ออนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมบ้ านไทยพื้นถิ่น อ.ปากกราน จ.อยุธยา

ผศ.ธีรวัลย์ วรรธโนทัย คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า กิจกรรมเวิร์กชอปโครงการ International Workshop on Asian Heritage : IWAH 2016 ครั้งนี้เป็นความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างนักศึกษาปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี จำนวน 12 คน และนักศึกษาปริญญาโทอีก 11 คน จาก Kyoto Institute of Technology หรือ KIT ประเทศญี่ปุ่น ลงพื้นที่ร่วมกันทำกิจกรรมเพื่ อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยพื้ นถิ่น อ.ปากกราน จ.อยุธยา เป็นเวลา 12 วัน ซึ่งจะได้ลงมือปฏิบัติจริ งในการเขียนแบบด้วยวิธีเวอร์ นาด็อกบ้านไทยพื้นถิ่นที่มีอายุ มากกว่า 100 ปี เรียนรู้เอกลักษณ์และภูมิปั ญญาสมัยโบราณของคนรุ่นก่อน เกี่ยวกับบ้านไทยพื้นถิ่น และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่ วมกันและชี้ให้เห็นถึงคุณค่ าความเป็นพื้นถิ่น อันจะนำไปต่อยอดพัฒนาฝีมื อการสร้างสรรค์และงานออกแบบต่ อไป

นายธนพล ลิ่มถาวรศิริพงศ์ หรือต้น นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการ เล่าว่า เมื่อได้รับโจทย์ว่าเป็นหมู่บ้านปากกราน จึงได้แบ่งกลุ่มทำงานด้วยกันแบบบัดดี้และเข้าไปเก็บข้อมูล เพื่อซึมซับความเป็นพื้นถิ่นร่วมกันกับเจ้าของบ้าน สำรวจบ้านทั้งภายในและภายนอก วัดและจดบันทึกขนาดสัดส่วนต่าง ๆ อย่างละเอียด เพื่อนำมาคำนวณย่อในอัตราส่วนที่ กำหนด ก่อนที่จะวาดจริงออกมาเป็นภาพ

“ได้เรียนรู้ความเป็นตัวตนของเราในอดีต ถึงแม้เราจะเขียนแบบให้สอดรับคนรุ่นใหม่ รองรับความต้องการในอนาคตก็ตาม ผมคิดว่าหากเราย้อนไปศึ กษาความเป็นอดีตมากเท่าไร เส้นทางการทำงานด้านสถาปัตย์ ของเราก็จะไปได้ไกลมากขึ้น เหมือนกับการยิงธนู ยิ่งดึงถอยหลังมากเท่าไร ศรธนูก็ไปได้ไกลมากเท่านั้น” ต้น กล่าว

ขณะที่ น.ส.รวี แก้วเก่ง (บีม) สาวสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน เล่าว่า การเขียนแบบด้วยวิธีเวอร์นาด็อกต้องใช้ความละเอียดอ่อนและสมาธิสูงมาก ต้องย่อสัดส่วนและวาดออกมาให้ เหมือนจริงมากที่สุด เริ่มตั้งแต่ร่างโครงร่างลงรายละเอียดและเงา รวมถึงการเก็บบริบทหรือส่ วนประกอบต่าง ๆ

บีม ยังเล่าต่อไปว่า “สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น เป็นของมีคุณค่าและควรแก่การอนุ รักษ์ ศึกษาทำความเข้าใจเป็นความรู้ เพื่อนำไปต่อยอดสร้างสรรค์ผลงาน เวิร์กชอปครั้งนี้นอกจากสร้ างผลงานที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ แล้ว ยังก่อให้เกิดแรงบันดาลใจและเห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น สร้างความรู้สึกร่วมต่อการอนุรักษ์ ได้เห็นและร่วมงานกับรุ่นพี่ ชาวญี่ปุ่น ซึ่งเขาทุ่มเทกับการเวิร์ กชอปมาก ขณะเดียวกันเวลาทำกิจกรรมสันทนาการก็เต็มที่มาก เรียกว่า Work Hard Play Hard สิ่งสำคัญที่มากกว่าความสนุกก็ คือมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่ เกิดขึ้น”

อีกฝากฝั่งจาก Kyoto Institute of Technology อย่างเช่นหนุ่ม YUKI TSUJIMOTO เล่าความประทับใจในโครงการ IWAH 2016 ที่จัดโดยคณะสถาปัตยกรรมฯ มทร.ธัญบุรีว่า งานสถาปัตยกรรมของไทยสวยงาม มีความละเอียด แฝงไปด้วยภูมิปัญญาความคิดต่าง ๆ ที่มีความหมายในตัวเอง รู้สึกดีใจที่ได้ร่วมเวิร์กชอปครั้งนี้โดยทำงานเขียนแบบคู่ กับบัดดี้นักศึกษาไทย จนเกิดเป็นผลงานที่ภาคภูมิใจ มีส่วนร่วมอนุรักษ์ความเป็นพื้นถิ่นของไทย และจะเก็บเกี่ยวความรู้ ความสวยงามและความน่าทึ่งจากประเทศไทยครั้งนี้ไปบอกกับเพื่อน ๆ ที่ประเทศญี่ปุ่นต่อไป

ปิดท้ายกับ SHIORI SAKANOUE ที่เล่าว่า การเขียนแบบด้วยวิธีเวอร์นาด็ อกจะเขียนด้วยมือ แม้ในปัจจุบันงานส่วนใหญ่จะใช้ คอมพิวเตอร์ในการเขียนแบบก็ตาม จึงทำให้ตนได้ฝึกทักษะด้านนี้ มากขึ้น สิ่งที่เห็นจากการลงพื้นที่ คือบ้านไทยพื้นถิ่นจะยกพื้นสู งเพื่อให้สอดรับกับสภาพอากาศร้ อนชื้น ซึ่งแตกต่างจากประเทศญี่ปุ่นที่ มุ่งเน้นในเรื่องของภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะแผ่นดินไหว ส่วนเรื่ องมาตรฐานความสามารถคนไทยนั้นค่ อนข้างสูง สร้างงานออกมาอย่างมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว

SHIORI ยังแสดงความเห็นอีกว่า “การร่วมงานกับบัดนี้นักศึกษาไทยในการสร้างผลงานถือเป็นประสบการณ์ที่ดี เชื่อว่าหากไปเวิร์กชอปต่อที่ ประเทศญี่ปุ่น มั่นใจว่าจะสนุก ท้าทายและเข้มข้นเหมือนกับโปรแกรมที่ มทร.ธัญบุรี จัดขึ้นในครั้งนี้แน่นอน”