กศน.จับมือกระทรวงแรงงาน กำหนด Road map ยกระดับความรู้ รปภ.

16 มิ.ย. 2559 | 15:59 น.
รองปลัดแรงงาน ประชุมหารือแนวทางการยกระดั บการศึกษาให้กับพนักงานรั กษาความปลอดภัยครั้งที่ 4/2559 ร่วมกับ กศน. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมสนับสนุนการยกระดับการศึ กษาให้แก่พนักงานรั กษาความปลอดภัย (รปภ.) เพื่อยกระดับมาตรฐานธุรกิจและคุ ณภาพชีวิตที่ดี

นายสุวิทย์ สุมาลา ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวภายหลังการประชุมหารือ แนวทางการยกระดับการศึกษาให้กั บพนักงานรักษาความปลอดภัย ครั้งที่ 4/2559 ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน (16 มิถุนายน 2559) ว่า “ปัจจุบันมีพนักงานรั กษาความปลอดภัย ประมาณ 400,000 คน โดยในจำนวนนี้ มีผู้ที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบั งคับราว 300,000 คน ซึ่งเป็นผู้ได้รั บผลกระทบจากการบังคับใช้ พระราชบัญญัติธุรกิจรั กษาความปลอดภัย พ.ศ.2558 ถือว่าเป็นสัดส่วนที่มากพอสมควร กระทรวงแรงงานพร้อมด้วย กศน. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ประกอบการ ได้ร่วมมือกันดำเนินการเพื่อให้ รปภ. กลุ่มนี้ได้รับการยกระดับการศึ กษาให้สูงขึ้น ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบ Road Map ที่กระทรวงแรงงานได้นำเสนอเพื่ อพิจารณา โดยในเบื้องต้นจะต้องมีการจั ดทำข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนของ รปภ. ที่มีอยู่ทั้งหมดและกลุ่มที่ยั งไม่ได้จบการศึกษาภาคบังคับ (ม.3) ให้ชัดเจน รวมทั้งข้อมูลด้านพื้นที่ เพื่อหาแนวทางส่งเสริมและสนั บสนุนให้มีการจัดการศึกษาให้อย่ างเหมาะสม

ในเรื่องหลักสูตรการศึกษาเพื่อยกระดับความรู้ นอกจาก กศน. แล้ว ยังมีหลักสูตรการอบรมวิชาชีพ รปภ. โดยสถาบันส่งเสริมคุณวุฒิวิชาชี พฯ และหลักสูตรของ กศน. ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับสำนั กงานตำรวจแห่งชาติตามกฎหมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีหลักสูตรที่ คล้ายกัน 3-4 หลักสูตร จึงได้พิจารณาเพื่อสร้ างแนวทางในการบูรณาการหลักสู ตรร่วมกัน รวมถึงหลักสูตรอบรมของกรมพั ฒนาฝีมือแรงงานด้วย การอบรมในแต่ละหลักสู ตรอาจจะสามารถต่อยอดวิชาชีพ รปภ. ต่อไปได้ ซึ่งจะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิ ตและระดับค่าจ้างได้อีกด้วย โดย   Road Map ดังกล่าวจะใช้ระยะเวลา 3 ปี และภายใน 3 ปี รปภ. ทั้งหมดจะต้องจบการศึกษาภาคบั งคับให้ได้ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ซึ่งในระยะแรกจะเป็นการรวบรวมข้ อมูลต่างๆ เพื่อให้ทราบรายละเอียดว่าจะเข้ าไปสนับสนุนการศึกษาได้อย่างไร โดยในปัจจุบันมี กศน. ทั่วประเทศกว่า 7,000 แห่ง ที่รองรับได้ โดยจะมีการขอความร่วมมือไปยั งสถานประกอบการในการส่งเสริมให้ ลูกจ้างเข้ารับการศึกษา และจะมีการประสานงานกับ กศน. อย่างต่อเนื่อง ในเรื่องการอำนวยความสะดวก ทั้งเรื่องระยะเวลาการศึ กษาและค่าใช้จ่าย การสนับสนุนให้ รปภ. มีการศีกษาที่ดีขึ้น จะทำให้เป็นที่ต้องการของนายจ้ าง เป็นประโยชน์ต่อทั้ง 2 ฝ่าย คือ นายจ้างมีผลประกอบการที่เพิ่มขึ ้นและลูกจ้างมีค่าจ้างและสวัสดิ การที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวจะไม่กระทบต่อผู้ ที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากมีบทเฉพาะกาลยกเว้นไว้ ว่า ไม่ให้นำคุณวุฒิทางการศึกษามาตั ดสิทธิ์หรือยกเลิกการจ้าง โดยสามารถเป็น รปภ. ไปได้จนกว่าจะเลิกอาชีพนี้ แต่กฎหมายฉบับนี้จะใช้บังคั บเฉพาะผู้ที่ไม่เคยจบการศึ กษาภาคบังคับและยังไม่เคยเป็น รปภ. มาก่อนและสนใจจะเข้ามาทำงานใหม่

สำหรับหลักสูตรการศึกษานั้น ทาง กศน. ได้มีการออกแบบหลักสูตรไว้แล้ว ซึ่งจะมีสองส่วน คือ หลักสูตรระยะเวลา 1 ปี ไม่เสียค่าใช้จ่าย และหลักสูตรเร่งรัดระยะเวลา 6 เดือน มีค่าใช้จ่าย 2,000 – 3,000 บาท

ซึ่งในส่วนนี้ได้ขอให้ กศน. ไปพิจารณาตาม มาตรา 44 ตามคำสั่ง คสช. ที่ 28/2559 เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่ง กศน. รับไปพิจารณาว่า เข้าข่ายได้รับยกเว้นค่าใช้จ่ ายด้วยหรือไม่”                รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวในท้ายที่สุด