จากกรณีที่คนไทยเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ วันละ 217,047 คนต่อวัน แบ่งเป็นมีสายโทรเข้ามิจฉาชีพ 20.8 ล้านเครื่อง และ มี SMS หลอกลวง 58.3 ล้านเครื่อง ส่งผลให้คนไทยเสี่ยงโดนหลอกเพิ่มขึ้นจากปี 2566 เพิ่มเป็น 22%
ล่าสุด วันที่ 17 กันยายน 2567 สำนักงาน กสทช. ร่วมกับองค์กรภาคี ทั้งภาครัฐและเอกชน เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ “Scam Alert” โดยมีช่องทางการเผยแพร่ในภาพรวม คือ Facebook และฟีเจอร์ (Feature) ของแอปพลิเคชัน Whoscal
ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ประธาน กสทช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันคนไทยโหลดแอป Whoscall จำนวน 20 ล้านคน ซึ่งแอปฯดังล่าวแจ้งข่าวเบาะแสภัยจากมิจฉาชีพ ซึ่ง กสทช.ทำงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่ง กสทช.ทำหน้าที่ตระหนักรู้ให้กับประชาชน โดยความร่วมมือครั้งนี้เป็นการร่วมองค์กรภาคีภาครัฐ และเอกชน 12 องค์กร ประกอบด้วย
ฟีเจอร์นี้จะเป็นแพลตฟอร์มที่รวมความรู้เกี่ยวกับกลวิธีการหลอกลวง และเคล็ดลับการป้องกันต่าง ๆ จากภาคีเครือข่ายภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เช่น การหลอกลวงด้านการลงทุน การหลอกลวงการชำระบิล การหลอกลวงในการซื้อของ การหลอกลวงทางอีคอมเมิร์ซ รวมถึงรายงานและให้ข้อมูลเชิงลึกจาก Whoscall และ องค์กร Global Anti-Scam Alliance (GASA)
การป้องกันการหลอกลวงเริ่มต้นด้วยการได้รับข้อมูลอย่างทันท่วงทีจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ซึ่งนอกเหนือจากผู้ใช้งานจะได้รับทราบข้อมูลการเตือนภัยผ่านฟีเจอร์ Scam Alert แล้ว ประชาชนก็สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่ภาครัฐและเอกชนพัฒนาขึ้น เป็นกลไกในการจัดการกับปัญหามิจฉาชีพ อาทิ การแจ้งความดำเนินคดีที่ศูนย์ AOC 1441 หรือ thaipolice.go.th หรือการแจ้งเลขหมายที่เป็นมิจฉาชีพต่อ กสทช.ที่ 1200 โทรฟรี หรือแจ้งที่ผู้ให้บริการมือถือแต่ละราย รวมทั้ง Whoscall ก็มีฟีเจอร์ป้องกันความปลอดภัยเพิ่มเติมให้แก่ผู้ใช้งานทุกคน เช่น Auto Web Checker เพื่อปกป้องผู้ใช้จากการคลิกลิงก์ฟิชชิงโดยไม่ได้ตั้งใจแบบอัตโนมัติ และ ID Security (เช็กข้อมูลรั่วไหล) เป็นต้น.