เปิดแผน “AIS-TRUE” ลงทุนระบบเตือนภัยมือถือ Cell Broadcst หลัง กสทช.ไฟเขียว

17 ก.ย. 2567 | 06:00 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ก.ย. 2567 | 07:40 น.

แผนลงทุน “AIS-TRUE” ระบบเตือนภัยมือถือ Cell Broadcst หลัง กสทช.ไฟเขียว อยู่ระหว่างทดลองระบบ พร้อมเปิดให้บริการภายในไตรมาส 4/2567

แผนปฏิบัติการระบบเตือนภัยมือถือ Cell Broadcst เป็นหนึ่งในแผนที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. มีแผนบริหารจัดการ เพื่อใช้เครือข่ายมือถือเตือนภัยระดับประเทศ

 

บอร์ด กสทช. ไฟเขียวค่ายมือถือลงทุน

โดย บอร์ด กสทช.ได้มีการอนุมัติงบดำเนินการไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 ส.ค.2567 ในการพิจารณาระบบการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cell Broadcast) โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการในส่วนของ Cell Broadcast Entity (CBE) และ ให้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) รับผิดชอบด้านการเชื่อมต่อและระบบ Cloud Server และการเชื่อมต่อระหว่าง Cell Broadcast Entity (CBE) และ Cell Broadcast Center (CBC) รวมถึงการจัดการอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบการแจ้งเตือนภัยนี้

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังอนุมัติวงเงิน 1,030,961,235.54 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับการจัดทำและบำรุงรักษาระบบแจ้งเตือนภัยดังกล่าวเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยงบประมาณครอบคลุมค่าใช้จ่าย AWN และ TUC ไปแล้ว

เปิดรายละเอียดระบบแจ้งเหตุเตือนภัยมือถือ Cell Broadcast

ระบบแจ้งเหตุเตือนภัยผ่านมือถือ หรือ EWS (Emergency Warning System) ระบบนี้มีสองส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือ CBC (Cell Broadcast Center) คือ ส่วนโครงสร้างพื้นฐาน

บอร์ด กสทช ได้มี การอนุมัติ ให้ ผู้ประกอบการ จัดให้มีระบบ CBC ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2567 โดย ผู้ประกอบการ ทั้ง 3 รายไปจัดทำรายละเอียดประกอบการใช้จ่ายมา โดยที่ ณ ปัจจุบัน  

  • บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวอร์ จำกัด หรือ AWN
  • บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มาชน) หรือ TRUE ส่งเอกสารสมบูรณ์แล้ว
  • โดยตั้งงบประมาณไว้ที่ 300 ล้านบาท  และ หักเงินนำส่ง ภายใน  3  ปี และ จะไปทดสอบระบบในพื้นที่จริงใน เดือน ตุลาคม พ.ศ.2567 ทั้งสองเครือข่าย

ในส่วนที่สองคือ ระบบ CBE หรือ Cell Broadcast Enebler ที่จะเป็นในส่วนของ ผู้สั่งการ ที่ทางรัฐบาล ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจเพื่อสังคม หรือ ดีอี รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่จะมาร่วมใช้ ต้องกำหนดผ่าน ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้มีระบบสั่งการ

แผนลงทุน “AIS-TRUE” ระบบเตือนภัยมือถือ Cell Broadcst

 

 

การแจ้งผ่านระบบนี้ไม่ใช่การส่ง SMS ผ่าน LBS แต่เป็น technology push notification ที่ทำหน้าที่ ส่งสัญญาณแจ้ง ผ่าน core network เข้าไปยัง อุปกรณ์ ที่เชื่อมสัญญาณ โดยไม่จำกัดว่า เป็นลูกค้าของค่ายไหน ซึ่งขณะนี้อยุ่ระหว่างการทดสอบเพื่อเปิดให้บริการในไตรมาส 4/2567 

การแจ้งเตือนภัยและการแจ้งเหตุฉุกเฉิน จะต้องมีการออกแบบรูปแบบการให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดการตื่นกลัว ทั้งรูปแบบ เสียง ภาพ และ อื่นๆ  รวมถึงต้องคำนึงถึง เหตุการณ์สุดวิสัยอื่น ๆ ด้วย เช่น ข้อจำกัดของ ไฟฟ้า และ สถานะของเสาสัญญาณ และลักษณะของ ภัยที่แตกต่างกันไป

“คนไทยจะได้ประโยชน์จากระบบนี้มากเพราะปริมาณ การเข้าถึงสมาร์ทโฟนเมืองไทยสูงมาก และ ครอบคลุมเกือบ 90% ของพื้นที่ชุมชน ในประเทศไทย ในส่วนของการแจ้งเตือนผ่าน ระบบวิทยุ โทรทัศน์ ดิจิทัล นั้น เป็น เทคโนโลยีที่ใช้แพร่หลายอยู่แล้ว และใช้มานานกว่า 50 ปี และ การใช้โทรทัศน์หรือ วิทยุ น้อยลง อย่างมาก” นายพชร นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษาประธาน กสทช. กล่าว.