Meta เปิดฟีเจอร์ทักแชททางธุรกิจ ยกระดับประสบการณ์ช้อปปิ้งไร้รอยต่อ

12 มิ.ย. 2567 | 08:50 น.
อัพเดตล่าสุด :12 มิ.ย. 2567 | 09:05 น.

Meta เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ต่อยอดเทรนด์ทักแชททางธุรกิจ ยกระดับประสบการณ์ช้อปปิ้งไร้รอยต่อ เพิ่มเอ็นเกจเมนต์ลูกค้า ระบุไทยเป็นผู้นำเทรนด์ด้านการส่งข้อความเชิงธุรกิจอันดับต้น ๆ ของโลก ผู้บริโภค 9 ใน 10 คน ติดต่อกับธุรกิจผ่านแอปพลิเคชันแชทระหว่างขั้นตอนการซื้อสินค้า

การส่งข้อความทางธุรกิจ (Business Messaging) ได้เติบโตอย่างรวดเร็วและกลายเป็นช่องทางการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานใหม่สำหรับผู้บริโภคทั่วโลก จากการที่มีผู้คนจำนวนกว่าหนึ่งพันล้านคนติดต่อกับธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มการส่งข้อความในแต่ละสัปดาห์

Meta เปิดฟีเจอร์ทักแชททางธุรกิจ ยกระดับประสบการณ์ช้อปปิ้งไร้รอยต่อ

โดยประเทศไทยถือเป็นผู้นำเทรนด์ด้านการส่งข้อความทางธุรกิจอันดับต้น ๆ ของโลก จากข้อมูลเผยว่ามีผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 9 ใน 10 คน ติดต่อกับธุรกิจผ่านแอปพลิเคชันแชทต่าง ๆ ในระหว่างขั้นตอนการซื้อสินค้า ในขณะเดียวกัน ครึ่งหนึ่งของนักช้อปชาวไทยยังได้ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินค้า

ล่าสุด Meta เปิดตัวโซลูชันการส่งข้อความทางธุรกิจใหม่ที่ออกแบบขึ้นเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคชาวไทยโดยเฉพาะ ภายในงาน Business Messaging Summit ในปีนี้   โดยไทยเป็นผู้นำเทรนด์การส่งข้อความทางธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก และธุรกิจไทยยังได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เริ่มเปิดรับโซลูชันด้านการแชทเพื่อธุรกิจเป็นกลุ่มแรก ๆ ของโลก

นางสาวแพร ดำรงค์มงคลกุล Country Director ของ Facebook ประเทศไทย จาก Meta กล่าวว่า “ธุรกิจไทยเป็นผู้ริเริ่มในการนำเทคโนโลยีด้านการส่งข้อความทางธุรกิจมาปรับใช้ โดย 91% ของธุรกิจในประเทศไทยมีการสำรวจพบว่า พวกเขามีความพึงพอใจกับการใช้งาน Messenger เพื่อติดต่อสื่อสารกับลูกค้า

Meta เปิดฟีเจอร์ทักแชททางธุรกิจ ยกระดับประสบการณ์ช้อปปิ้งไร้รอยต่อ

และธุรกิจกว่า 76% กล่าวว่าพวกเขาสามารถหา lead หรือกลุ่มเป้าหมายที่มีคุณภาพได้จากการวางโฆษณาบน Facebook ที่คลิกไปสู่การสนทนาบน Messenger  ซึ่งตอกย้ำถึงบทบาทสำคัญของ Messenger ที่มีต่อการเติบโตของธุรกิจ และการสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้าในประเทศไทย ในวันนี้ เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เปิดตัวชุดเครื่องมือใหม่ที่เป็นโซลูชันด้านการส่งข้อความทางธุรกิจ ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรของเราในประเทศไทยเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มแบบองค์รวมที่สะดวกพร้อมสำหรับธุรกิจ ด้วยการนำเสนอวิธีการใหม่ ๆ เพิ่มเติมที่ช่วยให้ธุรกิจไทยสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า ด้วยเครื่องมือที่ตอบโจทย์ความต้องการ ซึ่งจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้สำเร็จ”

ในประเทศไทย แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และกลายเป็นหนึ่งในช่องทางหลักในการขับเคลื่อนการค้นพบสินค้า โดยผู้บริโภคในประเทศไทยนิยมใช้ Facebook และ Messenger เป็นช่องทางการสื่อสารกับธุรกิจมากกว่าช่องทางอื่น ๆ ตามข้อมูลล่าสุดจาก Meta พบว่า 56% ของผู้บริโภคในประเทศไทยติดต่อธุรกิจผ่าน Messenger เป็นประจำทุกสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน ยังมีการรายงานว่า 69% รู้สึกสบายใจกับการสื่อสารกับธุรกิจผ่านแชทบอท AI อีกด้วย

Meta เปิดฟีเจอร์ทักแชททางธุรกิจ ยกระดับประสบการณ์ช้อปปิ้งไร้รอยต่อ

Facebook และ Messenger เป็นแพลตฟอร์มแถวหน้าของการปฏิรูปธุรกิจเชิงดิจิทัล และถูกหลอมรวมเป็นส่วนสำคัญของรากฐานของการสื่อสารระหว่างผู้บริโภคและธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ โดย 50% ของ Gen Z ในประเทศไทยมีการใช้งานแพลตฟอร์มภายในเครือของ Meta เพื่อติดต่อกับร้านค้าในขั้นตอนต่าง ๆ ของเส้นทางการซื้อสินค้า

นอกจากนี้ Instagram ยังเป็นแพลตฟอร์มที่มีนัยสำคัญต่อ Gen Z โดย 45% ของ Gen Z ชาวไทยมีการแชร์ความสนใจส่วนตัวและติดต่อกับธุรกิจต่าง ๆ ผ่านทาง Instagram Direct

ภายในงาน Meta Business Messaging Summit ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในสัปดาห์นี้ Meta ประกาศปล่อยฟีเจอร์ส่งเสริมเทรนด์ทักแชททางธุรกิจและโซลูชันใหม่ ๆ รวมถึงความร่วมมือล่าสุดกับช้อปปี้ (Shopee) แพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ชั้นนำ โดยได้นำเสนอ 'ฟีเจอร์ช้อปปิ้งบน Messenger' ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ให้ร้านค้าสามารถเชื่อมต่อแคตตาล็อคของร้านบน Shopee เข้ากับ Messenger เพื่อให้นักช้อปสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างไร้รอยต่อ ไม่มีสะดุด

โดยนางสาว ธัญญธร เหล่าวัชระ หัวหน้าฝ่ายจัดการร้านค้าธุรกิจ ช้อปปี้ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “เราสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการช้อปปิ้งด้วยฟีเจอร์ช้อปปิ้งบน Messenger ที่ Shopee ร่วมมือกับ Meta ธุรกิจต่าง ๆ สามารถใช้ Facebook และ Messenger เพื่อกระตุ้นการค้นหา และการมีส่วนร่วมกับผู้ซื้อ ในขณะที่สามารถใช้ประโยชน์จากแคตตาล็อก ระบบการชำระเงิน และระบบจัดการคำสั่งซื้อของ Shopee ตัวอย่างร้านค้า เช่น Beebox ที่เข้าร่วมการทดสอบการใช้งานฟีเจอร์ พบว่าผลตอบแทนจากค่าโฆษณาเพิ่มขึ้น 87% และเราก็เห็นผลลัพธ์ในทางที่ดีคล้ายคลึงกันจากร้านค้าอื่น ๆ”

นอกจากนี้ Meta ยังได้ร่วมทดสอบระบบชุดเครื่องมือ Live Shopping กับ V Rich App ผู้ให้บริการโซลูชันอีคอมเมิร์ซชั้นนำของประเทศไทย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นพบสินค้าและปิดการขายผ่านไลฟ์สตรีมได้ดียิ่งขึ้น โดยฟีเจอร์ดังกล่าวจะเริ่มให้บริการแก่ธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทย ผ่านความร่วมมือกับ V Rich App, ZWIZ.AI, Kaojao และบริษัทพันธมิตรธุรกิจอื่น ๆ ของ Meta ต่อไป

“อีโคซิสเต็มของธุรกิจออนไลน์มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะยุคหลังการระบาดของโควิด-19 เทรนด์ไลฟ์สตรีมเพื่อขายสินค้าเป็นกลยุทธ์ที่เห็นผลทางธุรกิจแบบก้าวกระโดด ด้วยการสนับสนุนจาก Meta และร่วมสร้างโซลูชันต่าง ๆ ทำให้คนไทยจับโอกาสได้ทัน ร้านค้าต่าง ๆ เรียนรู้ในการทำไลฟ์สดขายของกันอย่างแพร่หลาย และผลักดันให้ไลฟ์สดประสบความสำเร็จจนเป็นเทรนด์ยอดฮิตถึงปัจจุบัน ด้วยเครื่องมือโฆษณาบนแพลตฟอร์มอย่าง Facebook ที่ช่วยให้เราได้โปรโมทขณะไลฟ์สดได้ด้วย ยิ่งทำให้ธุรกิจโตไวยิ่งขึ้น” นางสาววิจิตรา อยู่เชียร ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์ V Rich App และพันธมิตรด้านโซลูชั่นของ Meta กล่าว

ฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่เปิดตัวในงาน Business Messaging Summit ที่จัดขึ้นในประเทศไทย โดย Meta มีอะไรบ้าง

เพื่อช่วยให้ธุรกิจไทยเติบโตและได้รับประโยชน์สูงสุดจากการสนทนากับลูกค้า Meta เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่เพื่อการส่งข้อความผ่านทาง Messenger ดังนี้

เครื่องมือ Live Shopping

 •             ธุรกิจที่โฆษณาบน Facebook Live จะสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ Live Shopping ที่ผู้ชมไลฟ์สตรีมจะกดเลือกดูสินค้าที่นำเสนอได้ไปพร้อม ๆ กัน รวมถึงสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน Messenger ได้อย่างง่ายดาย

•             Facebook ขยายบริการให้ธุรกิจสามารถใช้การบูสต์วิดีโอไลฟ์สตรีมได้มากขึ้น โดยเริ่มเปิดให้ใช้แล้วในช่วงต้นปีที่ผ่านมา และเมื่อใช้งานร่วมกับฟีเจอร์ Live Shopping ผู้โฆษณาจึงมีชุดเครื่องมือเพิ่มเติมจาก Meta ที่ช่วยสร้างโอกาสที่ต่อเนื่องให้ลูกค้าเข้าถึงได้ตลอดเวลา ตั้งแต่การค้นพบแบรนด์ไปสู่การตัดสินใจซื้อ

•             ปัจจุบัน Meta ได้ทดสอบชุดเครื่องมือ Live Shopping นี้ร่วมกับ V Rich App ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรด้านโซลูชันของ Meta ในประเทศไทย และจะเริ่มเปิดให้ธุรกิจที่สนใจใช้งานผ่านการทำงานร่วมกับบริษัทพันธมิตรด้านโซลูชั่นของ Meta อื่น ๆ ด้วยรวมทั้ง ZWIZ.AI, Kaojao และพันธมิตรอื่น ๆ

ฟีเจอร์ช้อปปิ้งบน Messenger ที่พัฒนาร่วมกับช้อปปี้

•             Meta นำความสามารถของ Discovery Engine เข้ามาผสมผสานกับฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซของช้อปปี้ในประเทศไทย เพื่อสร้างประสบการณ์การซื้อของที่ไร้รอยต่อ ตั้งแต่การส่งข้อความไปสู่การซื้อสินค้า

•             ธุรกิจสามารถเชื่อมแคตตาล็อกสินค้าของตนเองขึ้นไปอยู่บน Facebook ได้แล้ว และผู้ซื้อสามารถดูแคตตาล็อกสินค้าเหล่านี้ภายในกล่องข้อความ และสั่งซื้อได้อย่างราบรื่นโดยไม่ต้องออกจากแชท

•             ประสิทธิภาพการโฆษณาที่ดีขึ้น: ผู้ใช้งานสามารถยกระดับประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาได้ด้วยโฆษณาที่คลิกไปยัง Messenger โดยร้านค้ารายงานว่าต้นทุนต่อยอดซื้อ (cost-per-purchase) ลดลง 23% และผลตอบแทนการใช้จ่ายค่าโฆษณา (ROAS) เพิ่มขึ้นถึง 87%

•             ธุรกิจสามารถเชื่อมแคตตาล็อคสินค้าของตนบน Facebook ได้แล้วผ่านการให้บริการจากพันธมิตรด้านโซลูชันของ Meta ได้ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

AI ในการส่งข้อความทางธุรกิจ

•             Llama 3 โมเดลภาษาขนาดใหญ่ล่าสุดของ Meta ได้พัฒนา ‘AI Agent’ ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบคำถามลูกค้าได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ ก็สามารถใช้ตัวช่วยนี้ในการสานสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งจะเป็นการช่วยประหยัดเวลาในการทำงานได้อีกเยอะ ขณะนี้ Meta อยู่ระหว่างการทดสอบความสามารถของ AI ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนเป็นลูกค้าของธุรกิจในอนาคต และการกระตุ้นการพิจารณาผลิตภัณฑ์ของลูกค้าให้มากขึ้นผ่านการแชท

•             AI จะทำความรู้จักธุรกิจผ่านแคตตาล็อกสินค้า และลูกค้าจะสามารถแชทกับ AI เพื่อเรียกดูแคตตาล็อก พิจารณาสินค้าต่าง ๆ จนกระทั่งตัดสินใจซื้อได้

•             Meta กำลังอยู่ในช่วงเร่งพัฒนาเพื่อทำให้ AI สำหรับการส่งข้อความเชิงธุรกิจเพื่อให้พร้อมใช้งานสำหรับธุรกิจในประเทศไทย