AIS ชูครีเอเตอร์ไทย ผู้นำการเปลี่ยนแปลงบริบทการสื่อสารระดับโลก

14 พ.ค. 2567 | 11:20 น.
อัปเดตล่าสุด :14 พ.ค. 2567 | 11:28 น.

AIS จัดเสวนา Global Creator Culture Summit เชิญกูรูระดับโลก Professor David Craig นักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา เปิดตัวเลขการเติบโตของครีเอเตอร์ในเวทีโลก ตอกย้ำบริบทแห่งการสื่อสารในโลกใบใหม่ ควงพันธมิตรครบทั้ง Ecosystem และสุดยอดครีเอเตอร์ไทย

นายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด กลุ่มลูกค้าทั่วไป AIS กล่าวว่า “ในฐานะผู้พัฒนา Digital Infrastructure ของประเทศ นอกเหนือจากเป้าหมายในการส่งมอบประสบการณ์และเทคโนโลยีเพื่อลูกค้าและคนไทยแล้ว เรายังพร้อมสนับสนุนด้วยเครื่องมือต่างๆ ตลอดจน เชื่อมโยง องค์ความรู้ ทักษะ ให้แก่ผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ตามแนวคิด Ecosystem Economy หรือ เศรษฐกิจแบบร่วมกัน

AIS ชูครีเอเตอร์ไทย ผู้นำการเปลี่ยนแปลงบริบทการสื่อสารระดับโลก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม Content Creator ที่ถือเป็นผู้ประกอบการซึ่งมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และยังเป็นศูนย์กลางความเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกในทุกแง่มุม

จึงเป็นที่มาของการจัดงานเสวนา “Global Creator Culture Summit” ที่นอกจากจะได้รับเกียรติจากนักวิชาการระดับโลกอย่างโปรเฟสเซอร์เดวิด เครค (Professor David Craig) หนึ่งในนักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำของโลกจากสหรัฐอเมริกา มาร่วมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ Content Creator ไทยแล้ว เรายังได้เชิญสุดยอด Content Creator คนไทย พร้อมกับผู้เกี่ยวข้องใน Ecosystem การขับเคลื่อน Creator Culture ของไทยมาร่วมแลกเปลี่ยนบนเวทีนี้อีกด้วย”

ด้านโปรเฟสเซอร์เดวิด เครค กล่าวว่า “วันนี้ครีเอเตอร์ คือ กลุ่มผู้ทรงอิทธิพล ที่เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก เพราะมีศักยภาพเป็นได้ทั้ง “แบรนด์” ด้วยตัวเอง, เป็นผู้สร้างชุมชนออนไลน์, สร้างรายได้แบบ O2O ทั้งจากพื้นที่ตัวเอง-แพลตฟอร์ม-ช่องทางอื่น และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่อุตสาหกรรมแวดล้อมอื่นๆ ได้อีกด้วย อาทิ มีพลังขับเคลื่อนการพัฒนาบริการและฟีเจอร์ต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือ ที่มีความสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

AIS ชูครีเอเตอร์ไทย ผู้นำการเปลี่ยนแปลงบริบทการสื่อสารระดับโลก

 

 

นี่คือสิ่งยืนยันที่ว่า ครีเอเตอร์คือศูนย์กลางการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจของแพลตฟอร์มและ Ecosystem ที่เกี่ยวข้อง คิดเป็นมูลค่าถึงประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วโลก ดังตัวอย่างจาก วัฒนธรรมหว่างหง (Wanghong Culture) หรือเน็ตไอดอล ผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ของจีน ที่สร้างโซเชียลคอมเมิร์ซให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะที่จีน ไม่ว่าใคร แม้แต่แรงงานเกษตรกร ก็สามารถเป็นอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังได้ เพราะได้รับการสนับสนุนให้เป็นหว่างหงครีเอเตอร์

ดังนั้นการเดินทางมาแลกเปลี่ยนและทำงานวิจัยในครั้งนี้ของผม จึงเชื่อว่าจะได้แนวทางชัดเจน ที่ทำให้เราสามารถสร้างเศรษฐกิจจากวัฒนธรรมครีเอเตอร์ระดับโลก และสามารถกำหนดอนาคตและทิศทางของเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน”