ส่งโดรนเกษตร DJI Agras T10-T30 เจาะกลุ่มสมาร์ทฟาร์ม

25 พฤษภาคม 2565

DJI ส่งโดรนเกษตร DJI Agras T10 กับ T30 ตอบโจทย์สมาร์ทฟาร์มชูจุดแข็งช่วยเกษตรลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเวลาทำงานจาก 9 ไร่เป็น 40-50 ไร่ต่อวัน พร้อมขานรับนโยบายการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้เทคโนฯ เพื่อยกระดับด้านเกษตรของไทย

นายดอนนี่ เจีย (MR. Donnie Jia) ผู้จัดการฝ่ายขาย ประเทศไทย DJI  เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยต้องการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในภาคเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (NRAA, SDGs) จากสัดส่วน 9-10.5% GDP ประเทศไทย โดยมี 40% ของประชากรในนั้นเป็นเกษตรกร 60% จากจำนวนเกษตรกร 13 ล้านคนปลูกข้าว และยังเป็นผู้ส่งออกทุเรียนอันดับ 1 ของโลก

ส่งโดรนเกษตร DJI Agras T10-T30 เจาะกลุ่มสมาร์ทฟาร์ม

ปัจจุบันโดรนเกษตรเป็นเครื่องมือสำคัญที่เข้ามามีบทบาทในภาคการเกษตร รองรับกับความต้องการของประชากรโลกที่เติบโตอย่างต่อเนื่องจากความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งอุตสาหกรรมยังต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานและการปฏิบัติงานแบบดั้งเดิมที่มีประสิทธิภาพต่ำ รวมถึงการขาดความรู้ในเทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พร้อมด้วยต้นทุนที่มีราคาสูงและอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้

 

ดังนั้นเทคโนโลยีโดรนจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการจัดการกับความท้าทายขั้นพื้นฐานในขณะนี้ จึงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการเกษตรแบบดั้งเดิม สู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมหรือเรียกว่า สมาร์ทฟาร์ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การผลิต ประหยัดทรัพยากร และช่วยลดต้นทุนการทำเกษตร

ล่าสุดในงานนิทรรศการเครื่องจักรกลการเกษตรของประเทศไทย AGRITECHNICA ASIA 2022 ครั้งที่ 3  ณ ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ประเทศไทย DJI ผู้นำด้านการพัฒนาและผลิตเทคโนโลยีโดรนเกษตร ได้ส่งโดรนเกษตรรุ่น DJI Agras T10 และ DJI Agras T30 ที่เป็นเรือธงปีนี้เข้ามาทำตลาดอย่างเป็นทางการในประเทศไทย  โดยชูจุดเด่นด้วยการพัฒนาให้มีน้ำหนักเบาทำให้คล่องตัว ถังขนาด 8 ลิตรและความกว้างของสเปรย์สูงสุด 5 เมตร ช่วยให้เครื่องบินครอบคลุมพื้นที่ถึง 15 เอเคอร์/ชั่วโมง

ส่งโดรนเกษตร DJI Agras T10-T30 เจาะกลุ่มสมาร์ทฟาร์ม

และระบบเรดาร์ดิจิทัลรอบทิศทางช่วยยกระดับความปลอดภัย แอพ DJI Agriculture ใหม่ทำให้ใช้งานง่ายขึ้น  พร้อมรองรับการใช้งานหลากหลายรูปแบบ อาทิ การสํารวจ การทําแผนที่ ไปจนถึงการพ่นและการกระจายน้ำ เป็นต้น  อีกทั้งยังมีจุดเด่นในการสร้างแผนที่ใหม่เพื่อการคำนวณการขับเคลื่อนโดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต พร้อมด้วยระบบหลบหลีกสิ่งกีดขวางอัตโนมัติแบบ 3 มิติในราคาที่คุ้มค่าการลงทุน เพื่อรองรับการเติบโตโดรนเกษตรในยุคสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm)

 พร้อมกันนี้ยังได้นำโดรนเกษตรรุ่น DJI Agras T30 ที่มีการเปลี่ยนรูปโฉมใหม่มาอวดโฉมในครั้งนี้  ซึ่งมีจุดเด่นที่จะช่วยให้การฉีดพ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพืชเกษตรในกลุ่มไม้ผล ด้วยการพัฒนาและใช้โซลูชันการเกษตรดิจิทัลของ DJI T30 ที่มาช่วยลดการใช้ปุ๋ยและเพิ่มผลผลิต ด้วยแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดของการขับเคลื่อนโดรนด้วยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ  พร้อมยังมีความแม่นยำในการวางแผนการควบคุมระยะไกล  พร้อมด้วยแพลตฟอร์ม Smart Agriculture Cloud และการทำแผนที่บนคลาวด์ เกษตรกรสามารถบริหารจัดการและตอบโจทย์การทำเกษตรยุคดิจิทัลได้โดยง่าย

 

ตั้งแต่ปี 2561 โดรนเกษตร DJI เริ่มเข้าทำตลาดประเทศไทย ในฐานะผลิตภัณฑ์โดรนเพื่อการเกษตรที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย ซึ่งมียอดขายในปี 2564 เพิ่มขึ้น 227% เมื่อเทียบกับปี 2563 ปัจจุบันมีการใช้โดรนในแปลงเกษตรกลุ่มพืชผล เช่น ข้าว ทุเรียน ,ทานตะวันและปาล์มน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ในปี 2564 DJI Agriculture มียอดขายรวม 100,000 ยูนิตในตลาดโลก โดยมีพื้นที่ปฏิบัติการทั่วโลกสะสมมากกว่า 667 ล้านเฮกตาร์ และได้ฝึกอบรมนักบินมืออาชีพที่ผ่านการรับรองแล้วมากกว่า 65,000 คน ปัจจุบัน DJI Agriculture ให้บริการโซลูชั่นการเกษตรแบบดิจิทัลแก่กว่า 30 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก โดยให้บริการผู้ปฏิบัติงานด้านการเกษตรมากกว่า 10 ล้านคน ในอนาคต DJI Agriculture จะยังคงลงทุนในเทคโนโลยีและทรัพยากรเพิ่มเติมในตลาดเกษตร และทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างโซลูชั่นด้านการเกษตรแบบดิจิทัล โดยใช้อุปกรณ์อวกาศอัจฉริยะ ที่จะเข้าช่วยเกษตรกรปรับปรุงระดับการจัดการพื้นที่เพาะปลูก ช่วยพัฒนาด้านการเกษตรทั่วโลก

 

นอกจากนี้ DJI ยังได้ทำการสำรวจและได้นำจากกรณีศึกษาเกษตรกรจากจังหวัดร้อยเอ็ด  เมื่อช่วงต้นปี 2563 มีการแพร่ระบาดของโควิด (COVID-19) ทำให้นางจุไรรัตน์และนายนิกร หลังวิกฤตโควิดจึงได้เดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมโดยได้ลงทุนซื้อโดรนการเกษตร DJI มีประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยม เมื่อเทียบกับการใช้แรงงานคน เนื่องจากโดรนสามารถฉีดพ่นยาฆ่าแมลงได้ครอบคลุมและประหยัดเวลาในการทำงานได้อย่างมาก รวมทั้งต้นทุนการดำเนินงานและเพิ่มการผลิต  วิธีการแบบดั้งเดิมที่ใช้คนเดินฉีดพ่นเฉลี่ย 8.3 ไร่ต่อวัน แต่โดรนการเกษตรสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า

 

โดยได้ยกตัวอย่างโดรนรุ่น T30 ที่มีถังบรรจุขนาด 30 ลิตรและสเปรย์ฉีดน้ำ 9 เมตร สามารถทำงานได้ประมาณ 100 ไร่ต่อชั่วโมง โดยการควบคุมด้วย "คลิกเดียว"  สำหรับการใช้โดรนการเกษตร DJI ในการฉีดพ่นยาให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ โดยรอบยังช่วยให้ครอบครัวต่างๆ มีชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย หนึ่งในเกษตรกรที่ได้ใช้โดรน DJI ได้คำนวณว่าในฤดูทำนาโดรนสามารถทำงานเฉลี่ย 40-50 ไร่ต่อวันให้กับเกษตรกรโดยรอบ ซึ่งทำให้มีรายได้อยู่ที่ 5,000-6,000 บาทต่อวัน และมีรายได้เกือบ 200,000 บาทต่อเดือน

 

ส่วนกรณีศึกษาของนายอรุณ ชาวสวนทุเรียนในจังหวัดชุมพรใช้โดรนการเกษตรแก้ปัญหาในการทำงาน ปัจจุบันมีสวนทุเรียนขนาด 30 ไร่ หลังการระบาดโควิด (COVID-19) คนงานไม่สามารถฉีดพ่นยาและใส่ปุ๋ยได้  ดังนั้นจึงได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับการใช้โดรนและเลือกโดรนการเกษตร DJI T30 ปัจจุบันเกษตรกรใช้โดรนเพื่อการเกษตรมา 2 ปีแล้ว โดยยอมรับว่าในช่วงแรกๆ มีคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของโดรนเกษตร แต่หลังจากใช้งานจริงพบว่าโดรน T30 ช่วยประหยัดค่าแรงได้และเวลาในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

โดยได้เทียบกับที่ผ่านมาใช้แรงงานคนฉีดพ่นยาได้วันละ 5 ไร่ แต่โดรนการเกษตร DJI สามารถฉีดพ่นได้ 40 ไร่ต่อวัน ผ่านการทำแผนที่บนคลาวด์ เพื่อคำนวณการฉีดพ่นแบบแปรผัน จากการคำนวณการพ่นยา 50 ครั้งต่อปี จากการใช้โดรนช่วยประหยัดค่าแรงได้ถึง 300,000 บาท ที่สำคัญเรื่องความปลอดภัยที่ไม่ต้องสัมผัสกับยาฆ่าแมลงโดยตรงอีกด้วย

 

จากปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน ค่าแรงที่สูงขึ้น และความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยกับสุขภาพของเกษตรกร รัฐบาลไทยได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อช่วยให้เกษตรกรในท้องถิ่นมี ชีวิตที่ดีขึ้น ในบริบทนี้ โดรนการเกษตรจึงเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหา

 

ทั้งนี้แนวโน้มการเติบโตด้วยปัจจัยดังกล่าว DJI เชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีโดรนการเกษตรจะเข้ามาช่วยยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาคการเกษตรของประเทศไทย  รวมทั้งแนวโน้มการนำโดรนการเกษตรมาใช้ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ และเกษตรกรที่เป็นคู่สัญญากับธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ เป็นต้นจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้ตลาดโดรนเกษตร  พร้อมกันนี้ DJI ได้ขานรับนโยบายการสนับสนุนและส่งเสริมจากรัฐบาลไทยในการใช้เทคโนฯ และการสนับสนุนในการเข้าถึงเครื่องจักรกลเกษตรผ่านการให้สินเชื่อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและยกมาตรฐานเกษตรของประเทศไทย