แพลตฟอร์ม CRM Privilege บัซซี่บีส์ เดินหน้าสู่ธุรกิจพันล.

16 ก.พ. 2562 | 03:30 น.
 ในยุคดิจิทัล องค์กรต่างนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค หรือคอนซูเมอร์โปรดักต์ แบรนด์ต่างๆ เร่งหากลยุทธ์การตลาดรูปแบบใหม่ๆ แข่งขัน รวมถึงทุ่มงบโฆษณาสื่อออฟไลน์และออนไลน์ คิดโปรโมชัน ออกแคมเปญใหม่ๆ เพื่อมัดใจผู้บริโภคให้ซื้อสินค้า ซึ่งการทำตลาดรูปแบบนี้ นักมาร์เก็ตติ้งจำเป็นต้องทุ่มงบการตลาดเพื่อโปรโมตแคมเปญในทุกๆ ครั้งอยู่ตลอดเวลา นับเป็นการสูญเสียงบประมาณมูลค่ามหาศาล

[caption id="attachment_389663" align="aligncenter" width="503"] ณัฐธิดา สงวนสิน ณัฐธิดา สงวนสิน[/caption]

นั่นเป็นสาเหตุให้ แพลตฟอร์ม ลอยัลตี้ โปรแกรม เข้ามามีบทบาทสำคัญในคอนซูเมอร์โปรดักต์ “ฐานเศรษฐกิจ” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ นางสาวณัฐธิดา สงวนสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง Buzzebees เทคสตาร์ตอัพผู้บุกเบิกแพลตฟอร์มลอยัลตีโปรแกรมรายแรกๆ ในไทย

ชูครบวงจร CRM Privilege

นางสาวณัฐธิดา กล่าวว่าบัซซี่บีส์ เป็นแพลตฟอร์มบริหารลูกค้าสัมพันธ CRM Privilege และแพลตฟอร์ม ลอยัลตี้ โปรแกรม แจกแลกของรางวัลให้กับผู้บริโภค ที่มีผู้ใช้งานในตลาดอยู่ 50 ล้านยูสเซอร์ มีปริมาณการทำธุรกรรม หรือ ทรานแซคชัน ที่เกิดขึ้น 14 ล้านครั้งต่อปี เราเข้ามาดิสรัปชัน แคมเปญทางการตลาดแจกของรางวัล ไปสู่ดิจิทัล พริวิเลจ จุดแข็งของบัซซี่บีส์ ที่ทำให้ต่างจากคนอื่นในตลาดคือ การให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบพัฒนาแพลตฟอร์ม CRM Privilege การเชื่อมโยงระบบไอทีหลังบ้าน การชำระเงินผ่านระบบ Wallet Payment ต่างๆ การติดต่อกับร้านค้ามากกว่า 2,000 ร้านค้า จัดหาสิทธิประโยชน์ พริวิเลจต่างๆ มีบริการคอลล์เซ็นเตอร์ จัดส่งสินค้า รวมถึงให้คำปรึกษาด้านการตลาดบนแพลตฟอร์ม โดยรูปแบบโมเดลธุรกิจได้ตอบโจทย์ทุกฝ่าย ทั้งแบรนด์องค์กร ผู้ประกอบการ และผู้ใช้งาน

ครองแชร์แคมเปญบนมือถือ 90%

ขณะนี้บัซซี่บีส์ ครองส่วนแบ่งการตลาดด้าน CRM Privilege บนสมาร์ทโฟนมากกว่า 90% และมีลูกค้าองค์กรกว่า 80 แห่ง แคมเปญตลาดที่ได้รับความนิยมในตลาด คือ A+Genius Baby ของมี้ด จอห์นสัน และ Singha Rewards ของนํ้าดื่มสิงห์ รวมถึงโปรแกรมสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ใช้สมาร์ทโฟนซัมซุง หรือ “ซัมซุง กิฟท์” และคลับการ์ด ของเทสโก้ โลตัส
TP11-3445-1 ผู้นำนวัตกรรมพิมพ์โค้ดบนแพ็กเกจจิ้ง

นอกจากนี้บัซซี่บีส์ ยังเป็นรายเดียว ที่นำนวัตกรรมการพิมพ์โค้ดในรูปแบบต่างๆ บนแพ็กเกจจิ้ง สามารถตอบรับกับการสร้างลอยัลตีแพลตฟอร์มบนแพลตฟอร์มดิจิทัลบัซซี่บีส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นักการตลาดสามารถเรียนรู้ได้ว่าใครเป็นกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง โดยที่แบรนด์ไม่จำเป็นต้องทุ่มงบการตลาดมหาศาลในทุกๆ ครั้ง โดยระบบสามารถกำหนดเวลาตั้งให้แจ้งเตือนลูกค้าบนแพลตฟอร์มได้ หรือหากแบรนด์ต้องการกระตุ้นยอดขายในวันหรือช่วงเวลา ที่ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ระบบสามารถจะจัดเก็บบันทึกของพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นรายบุคคล เพื่อเชื่อมโยงกับการออกแบบแคมเปญในครั้งถัดๆ ไป เพื่อให้แบรนด์มีผลตอบรับดีขึ้น

เล็งเปิด KYC สแกนม่านตา

ในปีนี้บัซซี่บีส์ จะมุ่งการวิจัยและพัฒนาทางด้าน ระบบเพย์เมนต์ โดยเตรียมเปิดให้บริการพิสูจน์ตัวตน (Know your Customer : KYC) ผ่านเทคโนโลยีไบโอเมทริกซ์ ทั้งสแกนใบหน้าและม่านตา เพื่อให้องค์กรรู้จักลูกค้าหรือผู้ใช้บริการมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เปิดตัวแพลต ฟอร์มให้กับตลาดคอนซูเมอร์ต่อเนื่อง โดยได้เริ่มทยอยเปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา เริ่ม ต้นจาก เนสท์เล่ และ ฟิลิปส์ ไลท์ติ้ง ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาบนไลน์ รวมถึงมุ่งขยายไปยังตลาดต่างประเทศ 9 ประเทศ ได้แก่ เมียนมา ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย แอฟริกา กานา แคมเมอรูน และไอวอรีโคสต์ และปัจจุบัน ได้ขยายโอเปอเรชันในตลาด AEC ใน 2 ประเทศ คือ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

ตั้งเป้ารายได้พันล้าน

ตลาดแคมเปญชิงรางวัล และสิทธิประโยชน์สมาชิก มีมูลค่านับหมื่นล้านบาท โดยปีนี้บัซซี่บีส์ตั้งเป้าหมายการ เติบโตขึ้น 30% โดย 6 ปีที่ผ่านมาเราเติบโต ทุกปี แต่ปีนี้จะเป็นปีแรกที่บริษัทจะมีรายได้แตะ 1,000 ล้านบาท คาดว่าจะมีการระดมทุนจากนักลงทุนอีกรอบ เพื่อขยายการทำตลาดต่างประเทศ โดยเราต้องการพันธมิตร เชิงกลยุทธ์ที่เข้ามาต่อยอดทางธุรกิจ ก่อนนำบริษัทจดทะเบียนในตลาด

สัมภาษณ์ | หน้า 11 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,445 ระหว่างวันที่ 17 - 20 กุมภาพันธ์ 2562

ติดตามฐาน