กรมที่ดิน คิกออฟ “บอกดิน 3” ความสำเร็จ นวัตกรรมเข้าถึงโฉนด

02 พ.ย. 2564 | 09:51 น.

กรมที่ดินคิกออฟ "บอกดิน3" เปิดประชาชนแจ้งข้อมูลที่ดิน-ตำแหน่งที่ตั้งที่ดิน มีที่ดินทำกินยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ หรือมี ส.ค.1 น.ส.3 น.ส.3ก ดีเดย์ กุมภาพันธ์-มิถุนายน ปี 2565 หลังประสบความสำเร็จ บอกดิน ระยะ1-2 คนแห่ยื่นขอออกโฉนด กว่า4แสนแปลง สร้างความสมอภาค ตามนโยบายรัฐบาล

 

กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินโครงการบอกดิน นวัตกรรม การเปิดโอกาสให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วม แจ้งข้อมูลและตำแหน่งที่ดินทั่วประเทศ ผ่านสมาร์ทโฟนเชื่อมโยงเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต ช่องทางการขอออกโฉนดที่ดินแบบเข้าถึงง่าย  สะดวก รวดเร็วทันสมัย 

ในกรณีที่มีที่ดินทำกินแต่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ หรือมี หลักฐานการครอบครองที่ดิน ( ส.ค.1) หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 น.ส.3ก)รวมถึงการเข้าไปจัดสรรที่ดินทำกินบรรเทาความเดือดร้อน โดยยึดหลักภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม ในความเสมอภาค ตามนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ   

 ในปี 2565 นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน  กล่าวว่า กรมที่ดิน มีแผน  เปิดโครงการบอกดินระยะที่3  หรือบอกดิน3 อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชน ที่มีที่ดินทำกินแต่ยังตกหล่นจากการรังวัดเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ให้ แจ้งข้อมูลที่ดิน ด้วยตนเอง

ผ่านสมาร์ทโฟนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน โดยจะมีการประชาสัมพันธ์ในหลายช่องทาง ทั้งออฟไลน์และออนไลน์  ผ่านผู้นำชุมชน สำนักงานที่ดินจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ  โซเชียลมีเดีย ของกรมที่ดินทั้งเฟซบุ๊ก ไลน์ และของรัฐบาล

กรมที่ดิน คิกออฟ “บอกดิน 3” ความสำเร็จ นวัตกรรมเข้าถึงโฉนด

นายนิสิต กล่าวว่า ที่มา ของ โครงการ บอกดิน  ได้นำนวัตกรรมเทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)มาประยุกต์ใช้ในการรับแจ้งข้อมูลด้านที่ดินจากภาคประชาชน เพื่อทำการสำรวจข้อมูลที่ดินสำหรับนำไปใช้

ในโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ และนำไปตรวจสอบ ประมวลผลด้วยโปรแกรมสาธารณะด้านภูมิสารสนเทศบนระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัลโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม สำหรับผู้ที่มีที่ดิน

แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ หรือมี ส.ค.1 น.ส.3น.ส.3 ก และต้องการให้ภาครัฐเข้าไปบริหารจัดการที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมาย สร้างความสะดวกสบายให้กับประชาชนและช่วยลดค่าใช้จ่ายภาครัฐการดำเนินการ

กรมที่ดิน คิกออฟ “บอกดิน 3” ความสำเร็จ นวัตกรรมเข้าถึงโฉนด

ขณะจุดเด่น โครงการ บอกดินเป็นการสื่อสารแบบ 2ทาง (Two-way communication) และปรับรูปแบบการทำงานภาครัฐตามวิถี New Normal โดยประชาชนสามารถแจ้งข้อมูลและตำแหน่งที่ตั้งที่ดินที่ครอบครองทำประโยชน์และยังไม่มีโฉนดที่ดินได้ทุกที่ ทุกเวลา ตลอด 24ชั่วโมง ผ่านทางสมาร์ทโฟนที่ใช้อยู่

ในชีวิตประจำวัน ทำให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว สร้างความสะดวกสบายให้กับประชาชน และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสำนักงานที่ดิน อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาการแอบอ้างเพื่อเรียกเก็บเงินจากประชาชนในการติดต่อขอรับบริการจากภาครัฐ รวมถึงลดข้อโต้แย้งที่เกิดจากการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชน

ที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งที่ดินบนระบบแผนที่เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ และดำเนินการได้ตามความต้องการซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนงานโครงการตามนโยบายของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของประชาชนให้ได้รับสิทธิ

ที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ เป้าหมายโครงการบอกดิน เพื่อให้การจัดทำแผนงานโครงการของรัฐบาลผ่านนโยบายต่างๆสำหรับการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินซึ่งหลายกรณีเป็นเรื่องปัญหาความยากจน รวมทั้งเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ

ในสังคม สามารถดำเนินการได้บนข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของประชาชน และการเสนอของบประมาณ เป็นไปด้วยความชัดเจน มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ