รู้จัก วันศารทวิษุวัต 23 ก.ย. 64 วันที่มี กลางวันยาวเท่ากลางคืน

23 ก.ย. 2564 | 03:16 น.

รู้หรือไม่? 23 กันยายน 2564 มีเวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน NARIT เปิดที่มา วันศารทวิษุวัต จุดราตรีเสมอภาค ปรากฎการณ์การเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์

เพจเฟซบุ๊ก : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยข้อมูลว่า วันนี้ 23 กันยายน เป็นวัน “ศารทวิษุวัต” (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) ซึ่งมีความหมาย หมายถึง เวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน 

 

โดยคำว่า “Equinox” มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Aequus แปลว่า เท่ากัน และ Nox แปลว่า กลางคืน 

ดังนั้น Equinox หมายถึงวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ซึ่งตรงกับคำว่า “วิษุวัต” แปลว่า "จุดราตรีเสมอภาค" 

รู้จัก วันศารทวิษุวัต  23 ก.ย. 64 วันที่มี กลางวันยาวเท่ากลางคืน

โดยในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ตำแหน่งที่ต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา ดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนที่จากจุดเหนือสุดลงมาทางใต้  เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกและตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี 

รู้จัก วันศารทวิษุวัต  23 ก.ย. 64 วันที่มี กลางวันยาวเท่ากลางคืน

สำหรับประเทศไทย วันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 6:07 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:13 น. (เวลา ณ กรุงเทพมหานคร) นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้ 

รู้จัก วันศารทวิษุวัต  23 ก.ย. 64 วันที่มี กลางวันยาวเท่ากลางคืน

 

ทั้งนี้ ปรากฎการณ์การเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์ บนระนาบสุริยะวิถี ของแต่ละปี จะเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนธันวาคม เรียกว่า วันเหมายัน (เห-มา-ยัน) (Winter Solstice) คาดจะตรงกับวันที่ 22 ธ.ค. เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวที่สุดในรอบปี หรือที่คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ ช่วงกลางวันจะยาวที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน