โรงแรมไทยวิกฤตส่วนใหญ่เหลือสภาพคล่องไม่เกิน3เดือน

14 ส.ค. 2564 | 06:00 น.

ธุรกิจโรงแรมไทยเดือนก.ค.64 อ่วมระลอกใหม่ต่อเนื่อง อัตราการเข้าพักยังอยู่ในระดับต่ำมาก ส่งผลให้เกือบ 60% ของโรงแรมที่เปิดกิจการอยู่มีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจไม่เกิน 3 เดือน การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติส่งผลบวกต่ออัตราการเข้าพักโดยรวมไม่มากนัก

สมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรม Hotel business operator Sentiment Index เดือนกรกฎาคม 2564 โดยพบว่าผู้ประกอบการโรงแรมได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19ระลอกใหม่อย่างรุนแรง และรัฐบาลได้ออกมาตรการสำหรับพื้นที่สีแดงเข้มทำให้หลายโรงแรมปิดกิจการอีกครั้ง

 

สำหรับโรงแรมที่ยังเปิดกิจการอัตราการเข้าพักยังอยู่ในระดับต่ำมาก ส่งผลให้เกือบ 60% ของโรงแรมที่เปิดกิจการอยู่มีสภาพคล่องลดลงจากเดือน มิ.ย. 64 และมีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจได้ไม่เกิน 3 เดือน

 

ขณะที่การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติส่งผลบวกต่ออัตราการเข้าพักโดยรวมไม่มากนัก แต่การนำร่องเปิดประเทศรับต่างชาติ ถือว่ามีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องทำควบคู่ไปกับการควบคุมการระบาดให้ได้

โรงแรมไทยวิกฤตส่วนใหญ่เหลือสภาพคล่องไม่เกิน3เดือน

ด้วยความหวังทั้งหมดของผู้ประกอบการโรงแรมอยากให้ผู้เกี่ยวข้องได้ยินข้อเรียกร้องเพื่อช่วยเหลือและเยียวยา เร่งกระจายวัคซีน กระจายแหล่งเงินทุนให้เข้าถึงผู้ประกอบการทั่วประเทศ

 

"แต่ !!!" เสียงขานรับยังมึดมัว อยากให้รัฐเห็นความสำคัญของกลุ่มธุรกิจโรงแรม เพราะที่ผ่านมาธุรกิจโรงแรมและธุรกิจท่องเที่ยวเป็นฟันเฟืองหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

 

สรุปผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรมเดือน กรกฎาคม 64จากผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 304 แห่ง (เป็น ASQ 28 แห่ง Hospitel 4 แห่ง) มีดังนี้

 

  • สถานะกิจการ

จากการสำรวจผู้ประกอบการ 272 แห่ง (ไม่รวมโรงแรมที่เป็น ASQ และ Hospitel) ในเดือน ก.ค. 64 มีโรงแรมเพียง 40% ยังเปิดกิจการปกติ ที่เหลือ 38% เปิดกิจการเพียงบางส่วน และอีกกว่า 22% ที่ยังปิดกิจการชั่วคราว โดยสัดส่วนของโรงแรมที่ปิดกิจการชั่วคราวเพิ่มขึ้นจาก เดือน มิ.ย. 64 เล็กน้อย

 

ทั้งนี้โรงแรมที่ปิดกิจการชั่วคราวเกินครึ่งหนึ่งคาดว่าจะกลับมาเปิดกิจการอีกครั้งในไตรมาส 4 ปี 2564 โดยมีกลุ่มที่คาดว่าจะกลับมาเปิดกิจการภายในไตรมาส 3 ปี 2564 เพียง 12% ลดลงค่อนข้างมากจากการสำรวจในเดือน มิ.ย. 64 ที่ 20% เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรงขึ้น

  • รายได้ เดือน ก.ค. 64

โรงแรมส่วนใหญ่ยังมีรายได้อยู่ในระดับต่ำ โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของโรงแรมที่เปิดกิจการอยู่ทั้งหมดยังมีรายได้กลับมาไม่ถึง 10% (สัดส่วนรายได้รวมของธุรกิจ ณ ก.ค. 64 เทียบกับก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก.ค. 62)

 

ทั้งนี้โรงแรมในภาคใต้ที่รายได้กลับมาเกินกว่า 70% คิดเป็นจำนวนโรงแรมเพียง 8 แห่งจากการสำรวจ เป็นโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต ส่วนใหญ่ราคาห้องพักสูงกว่าค่าเฉลี่ยมาก รวมถึงเป็นโรงแรมที่รับนักท่องเที่ยวในโครงการ Phuket Sandbox

โรงแรมไทยวิกฤตส่วนใหญ่เหลือสภาพคล่องไม่เกิน3เดือน

  • อัตราการเข้าพัก เดือน ..

64 อัตราการเข้าพักเฉลี่ยยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 10% และทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย. 64และต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนก่อนที่ 12% โดยสาเหตุที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยยังทรงตัวอยู่ได้

 

เนื่องจากการเข้าพักที่ปรับเพิ่มขึ้นของโรงแรมในภาคใต้ โดยเฉพาะภูเก็ต ที่มีการเปิดรับนักท่องเที่ยวใน โครงการ Phuket Sandbox เป็นสำคัญ ขณะที่ภาคเหนือและภาคกลางยังมีอัตราการเข้าพักลดลงต่อเนื่อง

 

(หากไม่รวม: กลุ่มที่ปรับตัวมารับลูกค้าต่างชาติที่ทำงานในไทยและคนไทยที่พักแบบ Longstay Workation Staycation ห้องพักโปรโมชั่นราคาพิเศษ รวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวตามโครงการ Sandbox จะต้องมีการเข้าพักอย่างน้อย 14 คืน ก่อนการเดินทางต่อไปยังจังหวัดอื่น

 

ส่งผลให้อัตราเข้าพักเฉลี่ยทั่วประเทศปรับเพิ่มขึ้นโดยลำดับ หากไม่รวมกลุ่มดังกล่าว จะทำให้อัตราการเข้าพักอยู่ในระดับต่ำ เฉลี่ยอยู่ที่6.5%

 

ทั้งนี้โรงแรมส่วนใหญ่คาดว่าสถานการณ์ในเดือน ส.ค. 64 จะปรับแย่ลงจากเดือนปัจจุบัน โดยคาดการณ์อัตราการเข้าพักเฉลี่ยต่ำกว่า 10% ในทุกภาค รวมทั้งประเทศอยู่ที่ 8% และต่ำที่สุดในภาคเหนือที่ 4%

 

อัตราการเข้าพักของโรงแรมที่เป็น ASQ เพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย. 64 เล็กน้อย มาอยู่ที่ 24% และ20% ในเดือน ก.ค. 64 และ ส.ค. 64 ตามลำดับ อัตราการเข้าพักโรงแรมที่เป็น Hospitel จำนวน 4 แห่ง เป็นโรงแรมในภาคกลางทั้งหมด

 

โดยหากพิจารณาเปรียบเทียบเฉพาะ Hospitel ในภาคกลาง อัตราการเข้าพักเฉลี่ยทรงตัวจากเดือน มิ.ย.64 ที่ 40% และ 43% ในเดือน ก.ค. 64 และ ส.ค. 64 ตามลำดับ

โรงแรมไทยวิกฤตส่วนใหญ่เหลือสภาพคล่องไม่เกิน3เดือน

 

  • สภาพคล่อง เดือน ก.ค. 64

โรงแรมส่วนใหญ่ที่เปิดกิจการมีสภาพคล่องลดลงมากกว่า 20% จาก เดือน มิ.ย. 64 และมีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจได้ไม่เกิน 3 เดือน ทั้งนี้ สัดส่วนของกลุ่มที่มีสภาพคล่องเพียงพอไม่ ถึง 1 เดือน ค่อนข้างสูงที่ 23% กระจายอยู่ในทุกฏมิภาค

 

สำหรับกลุ่มที่มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเกือบทั้งหมดเป็นโรงแรมในภูเก็ต ที่เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และมีอัตราการเข้าพักมากกว่า 20% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยค่อนข้างมาก

  • การจ้างงาน เดือน .. 64

โรงแรมมีการจ้างงานเฉลี่ยทรงตัวจากเดือน มิ.ย. 64 ที่ 53% ของการจ้างงานเดิมก่อนเกิดCOVID- 19 (หากไม่รวมกลุ่มที่ปิดกิจการชั่วคราวการจ้างงานเฉลี่ยอยู่ที่ 59%) โดยโรงแรมในภาคเหนื่อและภาคอีสานที่จ้างงานเกินกว่าครึ่งหนึ่งของการจ้างงานเดิม ส่วนใหญ่เป็นโรงแรมขนาดเล็ก-กลางที่ จำนวนแรงงานเดิมไม่ได้มากนัก

 

ทั้งนี้แม้โรงแรมในภาคใต้โดยเฉลี่ยการจ้างงานจะทรงตัว แต่พบว่าโรงแรมในภูเก็ตที่รับนักท่องเที่ยวในโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ และมีอัตราการเข้าพักสูงกว่า 10% มีการ จ้างงานเพิ่มขึ้น และสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 56%

โรงแรมไทยวิกฤตส่วนใหญ่เหลือสภาพคล่องไม่เกิน3เดือน

  • สัดส่วนพนักงานโรงแรมที่ได้รับวัคซีน

พนักงานที่ได้รับวัคชีนแล้วเฉลี่ยอยู่ที่ 57% เพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย. 64 ที่ 33% โดยภาคใต้ยังคงมีสัดส่วนพนักงานที่ฉีควัคชีนแล้วสูงสุดที่ 84% จากโรงแรมในภูเก็ต และสุราษฎร์ธานีที่เฉลี่ยอยู่ที่ 92% เป็นสำคัญสอดคล้องกับการเปิด Phuket Sandbox และ Samui Plus ในเดือน ก.ค. 64

 

  • การบริหารการจัดการพนักงาน

ด้านการบริหารจัดการพนักงาน ส่วนใหญ่ยังมีการให้ใช้วันลาประจำปี ให้สลับกันมาทำงาน ให้ leave without pay ลดวันทำงาน และลดชั่วโมงการทำงาน สำหรับโรงแรมที่มีการเพิ่มจำนวนพนักงาน และเพิ่มชั่วโมงการทำงานนั้น มีการบริหารจัดการพนักงานด้วยวิธีอื่นควบคู่ไปด้วย เพื่อลดคำใช้จ่ายด้านแรงงาน

 

โดยรวมมาตรการช่วยเหลือที่ผู้ประกอบการต้องการจากภาครัฐผู้ประกอบการต้องการให้มีการจัดหาและกระจายวัคนได้เร็วกว่าแผนเป็นอันดับแรก ต่างจากการสำรวจทุกรอบที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการได้รับวัคชีน และประสิทธิภาพของวัคซีนใน สถานการณ์ปัจจุบัน

 

รองลงมา คือ การพักชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ย และการสนับสนุนค่าจ้างพนักงานเดิม(Co-payment) ปัญหาหรืออุปสรรคในการเข้าถึงมาตรการฟื้นฟูฯไม่ต่างจากการสำรวจครั้งก่อน (เดือน มิ.ย.64) โดยผู้ประกอบการ 33% มองว่าสถาบันการเงินสร้างเงื่อนไข หรือกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเดิมซึ่งทำให้เข้าถึงมาตรการได้ยากขึ้น ด้านโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ มีปัญหาเรื่องความชัดเจนของสถาบันการเงินในการให้เข้าร่วมโครงการมากที่สุด

โรงแรมไทยวิกฤตส่วนใหญ่เหลือสภาพคล่องไม่เกิน3เดือน

ขณะที่สินเชื่อฟื้นฟูฯ ส่วนใหญ่มีอุปสรรคด้านอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่สูงเกินไป นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังประสบปัญหาในการสื่อสารเกี่ยวกับรายละเอียดของมาตรการ และนโยบายหรือแนวปฏิบัติของสถาบันการเงิน ที่ไม่ชัดเจน

 

ประเด็นพิเศษ  : การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ (โครงการ Sandbox)

 

ความคิดเห็นต่อการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างซาติโรงแรม 69% เห็นด้วยกับการเปิดรับ นักท่องเที่ยวต่างชาติ

 

ผลจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โรงแรมที่มีใบรับรองและสัญลักษณ์ SHA plus (โรงแรมที่สามารถรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้) ในภูเก็ตครึ่งหนึ่งมองว่าผลของโครงการ Phuket Sandbox ต่ออัตราการเข้าพักเป็นไปตามที่คาด

 

ต่างกับโครงการ สมุยพลัส ที่แย่กว่าคาด สมาคมโรงแรมไทย (THA) อยากฝากไปถึงรัฐบาล ขอให้ฟังเสียงข้อเสนอการช่วยเหลือพยุงผู้ประกอบการโรงแรม หวังว่าจะเปิดประเทศได้ภายใน 120 วัน ตามนโยบายของรัฐบาล จึงอยากให้รัฐบาลจัดสรรวัคซีนให้ได้เร็วที่สุด เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ โดยเฉพาะการจัดสรวัคชีนเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความมั่นใจสำหรับนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ