สถาบันยานยนต์-เจโทร ผนึกกำลังพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่

09 พ.ย. 2565 | 12:50 น.

สถาบันยานยนต์-เจโทร จัดงานประชุมเพื่อหารือความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น สำนักงานกรุงเทพฯ (เจโทร กรุงเทพฯ) และสถาบันยานยนต์ (TAI)จัดการประชุมหารือเพื่อความร่วมมือพัฒนา อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น ครั้งที่ 5 รูปแบบไฮบริด ทั้ง physical onsite และออนไลน์ 

 

นายคุโรดะ จุน ประธาน เจโทร กรุงเทพฯ กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาการประชุมนี้ถูกจัดในรูปแบบออนไลน์มาตลอดสืบเนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ดังนั้นจึงรู้สึกยินดีที่ครั้งนี้สามารถจัดการประชุมหารือครั้งที่ 5 ขึ้นได้อีกครั้งในรูปแบบไฮบริดโดยมีผู้เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศมาประชุมทั้งที่กรุงโตเกียวและกรุงเทพฯ 

 

ในการประชุมหารือครั้งนี้ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือนโยบายยานยนต์และยานยนต์สมัยใหม่ของไทยและญี่ปุ่นและจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมยานยนต์ของทั้งประเทศไทยและญี่ปุ่นในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาได้ยืนยันอีกครั้งถึงการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือเพื่อมุ่งมั่นดำเนินนโยบายยานยนต์สมัยใหม่และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน 

 

“เจโทร กรุงเทพฯ จะยังคงร่วมมือกับสถาบันยานยนต์ต่อไปเพื่อกระชับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยและญี่ปุ่นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปและมุ่งมั่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่อไป” นายคุโรดะ กล่าวเพิ่มเติม
 

ขณะที่ตัวแทนจากฝั่งไทยที่เข้าร่วมประชุมหารือในครั้งนี้ มีทั้งนายกฤศ จันทร์สุวรรณรองอธิบดี สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (OIE) กระทรวงอุตสาหกรรม และนายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการ สถาบันยานยนต์ (TAI) และคณะในฐานะผู้แทนฝ่ายไทย และยังมีผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยและญี่ปุ่น

 

สถาบันยานยนต์-เจโทร ผนึกกำลังพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่

ในระหว่างการประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนโยบายยานยนต์ของประเทศไทยและญี่ปุ่น โดยแผนกยานยนต์ เมติ ญี่ปุ่น ได้แนะนำความพยายามดำเนินนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าของญี่ปุ่นเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และแลกเปลี่ยนข้อมูลความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวกับการทำให้เครื่องชาร์จและแบตเตอรี่ของยานยนต์ไฟฟ้าเป็นมาตรฐานสากล โดยดำเนินกิจกรรมการจัดเวิร์คชอป การส่งผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น

 

 

ขณะที่ฝ่ายไทยเห็นว่าข้อมูลการริเริ่มของประเทศญี่ปุ่นนั้นมีประโยชน์ต่อการพิจารณา  ดังนั้นกิจกรรมจากนี้ไปจึงมีความต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่อไปใน
 


ส่วนสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้อธิบายสถานการณ์การดำเนินมาตราการ สนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของไทยที่ผ่านมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์และประกาศในเดือน พฤษภาคมของปีนี้ และแนวโน้มการแพร่หลายของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และมาตราการกระตุ้น การติดตั้งสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า และความพยายามที่จะรับมือเมื่ออุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่แพร่หลายมากขึ้น เช่น ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมชิ้นส่วน และนับจากนี้ถ้ามีความคืบหน้าก็จะแลกเปลี่ยนข้อมูลแก่ฝ่ายญี่ปุ่นต่อไป 

 

นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างสองประเทศในสาขา ยานยนต์สมัยใหม่ โดยฝ่ายญี่ปุ่น แผนกยานยนต์ เมติ ญี่ปุ่น ได้นำเสนอว่าบนพื้นฐานความร่วมมือที่ ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ แนวโน้มความร่วมมือต่อไปรวมถึง การทดสอบแบตเตอรี่ มาตรฐานเครื่องชาร์จ ทางเลือกยานยนต์สมัยใหม่ เช่น Full Cell Vehicles (FCV) เพิ่มเติมจากยานยนต์ไฟฟ้า การสร้างระบบรีไซเคิลยานยนต์ ELV (End-of-Life Vehicle (ELV) Recycle) และได้ยืนยันที่จะพิจารณาหัวข้อความร่วมมือใหม่ๆ