กสิกรไทยประเมิน 7ปัจจัยชี้ทิศเงินบาท-ดัชนีหุ้นไทยในสัปดาห์หน้า

29 ม.ค. 2565 | 10:28 น.

กสิกรมองกรอบเงินบาทเคลื่อนไหวที่33.00-33.70 บาท/ดอลลาร์ ในสัปดาห์หน้า ดัชนีหุ้นไทย มีแนวรับที่1,630 และ 1,620 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,645 และ 1,655 จุด ตามลำดับ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมิน  7ปัจจัย “รายงานเศรษฐกิจการเงินไทยเดือนธ.ค. ทิศทางเงินทุนของต่างชาติ  สถานการณ์โควิด-19 ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ  การประชุมโอเปกพลัส (2 ก.พ.)   ผลการประชุมธนาคารกลางออสเตรเลีย-ยุโรป-อังกฤษ  ข้อมูลจีดีพีไตรมาส 4/64 ของยูโรโซน และดัชนีPMI  ภาคการผลิต เดือนม.ค. ของยูโรโซน และอังกฤษ”

 

ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 33.00-33.70 บาทต่อดอลลาร์ฯระหว่างวันที่ 31มกราคา-4กุมภาพันธ์ 2565  ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ รายงานเศรษฐกิจการเงินไทยเดือนธ.ค. ทิศทางเงินทุนของต่างชาติ และสถานการณ์โควิด-19

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชน และตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมง ดัชนี PMI และ ISM ภาคการผลิตและภาคบริการเดือนม.ค. ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน ยอดสั่งซื้อสินค้าภาคโรงงานเดือนธ.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

 

นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางออสเตรเลีย ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางอังกฤษ ตลอดจนข้อมูลจีดีพีไตรมาส 4/64 ของยูโรโซน  และดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนม.ค. ของยูโรโซน และอังกฤษด้วยเช่นกัน  ทั้งนี้เมื่อวันศุกร์ (28 ม.ค.) เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ 33.40 เทียบกับระดับ32.96 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (21 ม.ค.)

 

กสิกรไทยประเมิน 7ปัจจัยชี้ทิศเงินบาท-ดัชนีหุ้นไทยในสัปดาห์หน้า

 

 

 

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด(บล.)มองว่าดัชนีหุ้นไทย มีแนวรับที่1,630 และ 1,620 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่  1,645 และ 1,655 จุด ตามลำดับ  โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ 

 

สถานการณ์โควิด-19 ทิศทางเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ   ผลประกอบการไตรมาส 4/64 ของบจ.ไทย รวมถึงการประชุมโอเปกพลัส (2 ก.พ.) ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลPMI การจ้างงานภาคเอกชน   การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงาน เดือนม.ค ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่กำรประชุม ECB   จีดีพีไตรมาส 4/64 ขอ้มูล PMI และดัชนีราคาผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือนม.ค. ของยูโรโซน

 

รวมถึงผลผลิตภำคอุตสำหกรรมและยอดค้ำปลีกเดือนธ.ค. 64 ของญี่ปุ่น โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,639.51 จุด ลดลง 0.80% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 83,744.56 ล้านบาท ลดลง 7.94% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี maiลดลง 6.39% มาปิดที่ 619.58 จุด

 

กสิกรไทยประเมิน 7ปัจจัยชี้ทิศเงินบาท-ดัชนีหุ้นไทยในสัปดาห์หน้า