ลุ้นหุ้นไทยรีบาวด์ รับแรงซื้อดักงบปี64

20 ม.ค. 2565 | 02:21 น.

บล.กรุงศรี คาดแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ ( 20 ม.ค.) ดัชนี SET แกว่งตัว 1,650 - 1,670 จุด แรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้น ฟันด์โฟลว์ต่างชาติ และแรงซื้อดักงบและเงินปันผลปี 2564

นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)กรุงศรี จำกัด (มหาชน) คาดแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ ( 20 ม.ค.) ดัชนี SET แกว่งตัว 1,650 - 1,670 จุด แม้ภาวะตลาดจะยังกังวล FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมี.ค.เพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้ US bond yield 10 ปีพุ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้น ,ฟันด์โฟลว์ต่างชาติพลิกเป็น Net buy , แรงซื้อดักงบและเงินปันผลปี 2564 รวมถึงแนวรับทางเทคนิค 1,650 จุดจะช่วยหนุนให้ดัชนีรีบาวด์ขึ้นได้ 

 

สำหรับกลยุทธ์การลงทุนเลือกสะสมซื้อหุ้นรายตัว ( Selective Buy) 

 

  • PTTEP TOP PTTGC IVL SPRC ราคาน้ำมันดิบ+ค่าการกลั่นทรงตัวระดับสูง
  • กลุ่มได้ประโยชน์ดอกเบี้ยขาขึ้น  BBL TTB KBANK KTB BLA  
  • AOT MINT CENTEL ERW AAV ข่าวครม.พิจารณาเราเที่ยวด้วยกันเฟส 4 ในสัปดาห์หน้า

ประเด็นสำคัญวันนี้

 

(+/-) ดาวโจนส์ร่วงต่อ แต่ราคาน้ำมันดิบยังเดินหน้าทำสถิติสูงสุดในรอบ 7 ปี: ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ลดลง 340 จุด (-0.96%) ปิดที่ระดับ 35,029 จุด นักลงทุนยังเทขายหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีหลัง Us bond yield ยังเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 1.53 ดอลลาร์ (+1.8%) ปิดที่ระดับ 86.96 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำสถิติสูงสุดในรอบ 7 ปี กังวล Supply ตึงตัวหลังตุรกีสั่งระงับท่อขนส่งน้ำมันระหว่างอิรักกับตุรกีหลังเกิดเหตุระเบิดและไฟไหม้ที่ท่อ

(+) กลุ่มท่องเที่ยว - ลุ้น ศบค.ชุดใหญ่เห็นชอบให้เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบ Test & Go: จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด -19 รายใหม่ในประเทศที่เริ่มทรงตัวเป็นไปได้ที่ภาครัฐจะทยอยผ่อนคลายมาตรการเพิ่มขึ้น อาทิ การปรับลดจังหวัดจากพื้นควบคุม (สีส้ม) เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง (สีเหลือง) และพิจารณาให้เปิดรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแบบไม่ต้องกักตัว (Test and Go) อีกครั้งซึ่งคาดว่าจะเริ่มได้ 1 ก.พ. หากอนุมัติจริงจะเป็นบวกกับกลุ่มท่องเที่ยว

(-) กลุ่มสินค้าเกษตร พาณิชย์กำหนดให้ไก่และเนื้อไก่เป็นสินค้าควบคุม: วานนี้คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) มีมติกำหนดให้ไก่และเนื้อไก่เป็นสินค้าควบคุม และกำหนดให้ผู้เลี้ยง และโรงชำแหละ แจ้งปริมาณสต๊อก และต้นทุนราคาจำหน่ายทุกเดือน ปัจจัยนี้เป็น Sentiment ลบต่อผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องโดยตรง อาทิ GFPT และ CPF ซึ่งมีสัดส่วนรายได้จากการขายไก่ในประเทศคิดเป็น10% และ 6% ตามลำดับ