โบรกฯ คาดหุ้นไทยวันนี้แกว่งตัว 1,650 - 1,670 จุด ขาดปัจจัยใหม่หนุน

11 ม.ค. 2565 | 02:17 น.

บล.กรุงศรี ประเมินแนวโน้มหุ้นไทยวันนี้ แกว่งตัว1,650 - 1,670 จุด ขาดปัจจัยใหม่หนุน และแรงกดดันจากความกังวลเฟด ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น โดยขึ้น 0.25% ในเดือนมี.ค.

นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรี จำกัด (มหาชน) คาดแนวโน้มหุ้นไทยวันนี้ ( 11 ม.ค.65 )  SET แกว่งตัว 1,650 - 1,670 จุด เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่สนับสนุน  ประกอบกับภาวะตลาดยังถูกกดดันจากความกังวล FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดย FedWatch Tool ให้น้ำหนัก 90% ที่ FED จะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนมี.ค.

 

อย่างไรก็ตามดัชนีได้ Sentiment บวกจากยอดผู้ติดเชื้อ Covid-19 ในประเทศชะลอตัวลง ดังนั้นจึงเน้นลงทุนแบบเลือกหุ้นรายตัว (Selective buy) เช่นเดิม
 

สำหรับกลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

 

  • กลุ่มได้ประโยชน์ดอกเบี้ยขาขึ้น  BBL TTB KBANK BLA  
  • ค่าระวาง Container ทรงตัวระดับสูง RCL  LEO III WICE SONIC JWD
  • อานิสงส์ช้อปดีมีคืน  HMPRO CPN CRC SYNEX COM7 KTC
     

ประเด็นสำคัญวันนี้

 

*       (-) ดาวโจนส์ผันผวนกังวลเงินเฟ้อและเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย: เมื่อคืนดัชนีดาวโจนส์ลดลง 163 จุด (-0.45%) ปิดที่ 36,069 จุด แต่ในระหว่างการซื้อขายค่อนข้างผันผวนโดยเฉพาะในช่วงเปิดตลาดดัชนีร่วงแรงกว่า 400 จุด หลังจาก CME Group ระบุว่านักลงทุนให้น้ำหนักมากกว่า 90% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือน มี.ค. ขณะที่โกลด์แมน แซคส์ คาดเฟดขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ และจะเริ่มลดขนาดงบดุลในเดือน ก.ค.หรือเร็วกว่านั้น

 

*       (-) น้ำมันดิบลดลงกังวลดีมานด์หดหลังจีนพบผู้ติดเชื้อโคไมครอนในเมืองท่าสำคัญของจีน: ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 67 เซนต์ (-0.9%) ปิดที่ 78.23 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจีนพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน 2 ราย ในเมืองเทียนจิน ซึ่งป็นเมืองท่าที่สำคัญของจีน ส่งผลให้ต้องมีการประกาศใช้มาตรการควบคุมการเดินทางที่เข้มงวดเพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสระบาดไปยังเมืองอื่น ๆ โดยเฉพาะกรุงปักกิ่งตามนโยบาย Zero-Covid

 

(+) กรมควบคุมโรค เตรียมประกาศ โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น (Endemic): แม้ปัจจุบันจะยังพบรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 เร่งตัวขึ้นแต่ก็มีความรุนแรงน้อย อัตราตายต่ำทางกรมควบคุมโรค จึงพิจารณาเตรียมให้การระบาดครั้งนี้เข้าสู่ โรคประจำถิ่น (Endemic) จาก 3 เหตุผล คือ

 

-  1.เชื้อลดความรุนแรง

-  2.ประชาชนร่วมมือฉีดวัคซีน มีภูมิคุ้มกันค่อนข้างดี

-  3.การบริหารจัดการ ดูแลรักษา และการชะลอการระบาดได้อย่างดี