หวั่น "โอมิครอน" ทำค่าสินไหมประกันโควิดพุ่ง 1.8 แสนล้านบาท

22 ธ.ค. 2564 | 05:36 น.

ตลาดประกันวินาศภัย แหยงผลกระทบจากโอมิครอน ประเมิน “โอมิครอน”ฉุดค่าสินไหมทดแทน เฉพาะ เจอจ่ายจบอาจสูงถึง 110,000 ล้านบาท – 180,000 ล้านบาท

บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)หรือ THRE ออกบทวิเคราะห์ “ ประมาณการค่าสินไหมทดแทน กรณีเกิดการระบาดของโอมิครอน ธันวาคม 2564” โดยความตอนหนึ่งระบุว่าท  ผู้มีประกันภัยโควิด-19 มีอัตราการติดเชื้อโควิด -19 อยู่ที่ 3.8% สูงกว่า อัตราการติดเชื้อของประชากรไทยทั้งหมดซึ่งอยู่ที่  2.8%

 

ยิ่งไปกว่านั้น กรมธรรม์โควิด-19 ประเภทเจอ จ่าย จบมีอัตราการติดเชื้อของผู้มีประกันภัยโควิด-19 ในระดับสูงอยู่ที่ 4.2% และยังคงให้ความคุ้มครองจนถึงเดือนมิถุนายน 2565  จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างมากหากเกิดการระบาดของโอมิครอน 

หวั่น "โอมิครอน" ทำค่าสินไหมประกันโควิดพุ่ง 1.8 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ บทความฉบับดังกล่าวได้สะท้อนสถานการณ์การระบาดของโอมิครอน โดยยกตัวอย่างในต่างประเทศ รวมทั้งแนวปฎิบัติของแต่ละประเทศ เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจประกันวินาศภัยด้วย

 

ณ ปัจจุบัน โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์อย่างรุนแรงได้มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก องค์การอนามัยโลกจัดให้เชื้อกลายพันธุ์นี้อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวล   เนื่องจากสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการกระตุ้นของวัคซีน ทำให้วัคซีนที่มีอยู่มีประสิทธิภาพต่ำทำการติดเชื้อลดลง

 

พร้อมกันนั้น โอมิครอนยังสามารถแพร่กระจายได้ ง่ายกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า  โดยเฉพาะเดลตา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดรุนแรง ตั้งแต่ช่วงต้นปี เห็นได้จากการรายงานการพบเชื้อครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 เพียง 20 วันผ่านไป (14 ธันวาคม 2564)

 

พบว่า โอมิครอนได้แพร่กระจำยไปอย่างน้อย 77 ประเทศที่มีการตรวจยืนยันผู้ติดเชื้อ โอมิครอน และคาดว่าน่าจะมีอีกหลายประเทศที่มีผู้ติดเชื้อโอมิครอน แม้ว่าจะยังตรวจไม่พบก็ตาม ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนอย่างต่อเนื่อง

จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า โอมิครอนสามารถแพร่กระจายได้เร็วกว่าเดลตาประมาณ 3-4เท่า และมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ถึง 5.4เท่า

 

เห็นได้จากการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโอมิครอน ในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูง เช่น  เดนมาร์ก อิตาลี  นอรเวย์     ไอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร    ซึ่งมีสัดส่วนผู้ฉีดวัคซีนครบโดสมากถึงเกือบ 3 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด  (พิจารณาได้จากภาคผนวก 1 และ 2) สำหรับไทยนั้น ณ 18 ธันวาคม 2564 มีผู้ฉีดวัคซีนแล้ว 72% แบ่งเป็นผู้ฉีดครบโดส 63% และยังไม่ครบโดส 9%

 

เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโอมิครอน ประเทศต่าง ๆ จึงได้ออกมาตรการดังนี้

• กว่า40 ประเทศห้ามนักท่องเที่ยวเดินทางจากประเทศที่พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนเข้าประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร    ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรเลีย และฮ่องกง รวมถึงไทย

• อิสราเอลและญี่ปุ่นประกาศปิดประเทศ โดยห้ามชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ

• หลายเมืองและประเทศประกาศล็อกดาวน์อีกครั้ง  เช่น กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์

• หลาประเทศประกาศล็อกดาวน์คนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน  เช่น เบลเยี่ยม ออสเตรีย และอิตาลี

ในส่วนของไทยนั้น ยังคงดำเนินการตามแผนการเปิดประเทศตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2564 เพื่อกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน (20 ธันวาคม2564) ที่มีกำรตรวจพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนแล้ว 63 ราย และรอการยืนยันอีกกว่า  20 ราย กระทรวงสาธารณสุขจึงเตรียมเสนอศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิดข19

( ศปก.ศบค.)และคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค.ชุดใหญ่เพื่อยกเลิกการเดินทางเข้าประเทศแบบ Test & Go ไปก่อน คงเหลือเฉพาะรูปแบบ Sandbox และมาตรการกักตัวเพื่อป้องกันการระบาดของโอมิครอนในไทย

ประมาณการค่าสินไหมทดแทนกรณีเกิดการระบาดของโอมิครอน

การระบาดของโควิด-19  โดยเฉพาะเดลตา ก่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจประกันวินำศภัยอย่างมาก  สมาคมประกันวินาศภัยคาดว่าจนถึงสิ้นปี 2564 ธุรกิจประกันวินำศภัยจะต้องจ่ำยค่ำสินไหมทดแทนของประกันภัยโควิด-19ประมาณ 40,000 ล้านบาท โดยเป็นค่าสินไหมทดแทนของประกันภัยโควิด-19 ประเภทเจอจ่าย จบสูงถึง 34,000 ล้านบาท และประเภทอื่น ๆ ซึ่งรวมค่ารักษาพยายาล/โคม่า /ชดเชยรายวัน/อื่นๆอีก  6,000ล้านบาท

ซึ่งการระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า  ผู้มีประกันภัยโควิด-19 มีอัตราการติดเชื้อโควิด -19 อยู่ที่ 3.8% สูงกว่า อัตราการติดเชื้อของประชากรไทยทั้งหมดซึ่งอยู่ที่  2.8%

 

ยิ่งไปกว่านั้น กรมธรรม์โควิด-19 ประเภทเจอ จ่าย จบมีอัตราการติดเชื้อของผู้มีประกันภัยโควิด-19 ในระดับสูงอยู่ที่ 4.2% และยังคงให้ความคุ้มครองจนถึงเดือนมิถุนายน 2565

 

จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างมากหากเกิดการระบาดของโอมิครอน  โดยที่ธุรกิจประกันวินาศภัย จะต้องแบกรับค่าสินไหมทดแทนของประกันภัยโควิด-19 ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งมีมูลค่าสูงกกว่าค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นจากการรระบาดในรอบผ่านๆมาหลายเท่าตัว

จากการประมาณการพบว่า หากมีการระบาดของโอมิครอน ค่าสินไหมทดแทนของประกันภัยโควิด-19 อาจสูงถึง 110,000 ล้านบาท – 180,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการประกันภัยโควิด-19 ประเภทเจอ จ่าย จบ เป็นหลัก

-ประมาณการสินไหมทดแทน (1)อัตราการติดเชื้อโควิด-19 ของผู้มีประกันภัยโควิด-19 โดยรวมอยู่ที่ 3.8%

กรณีที่ 1: สามารถเพิ่มจา นวนเตียงในโรงพยาบาลสนามและ Hospitel ให้เพียงพอต่อจา นวนผ้ปู่วยโควิด-19 และสำนักงานคปภ. ออกำสั่งนายทะเบียน ให้ผู้ป่วยที่เข้า Home Isolation และ Community Isolation สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลและชดเชยรายวันได้

หวั่น "โอมิครอน" ทำค่าสินไหมประกันโควิดพุ่ง 1.8 แสนล้านบาท

กรณีที่ 2: จำนวนเตียงในโรงพยาบาลสนามและ Hospitel มีอยู่อย่างจากจำกัดโดยเท่ากับช่วงการระบาดของเดลตา และสำนักงาน คปภ. ไม่ออกคำสั่งนายทะเบียนให้ผู้ป่วยที่เข้า Home Isolation และ Community Isolation สามารถเบิกค่ารักษาาพยาบาลและชดเชยรายวันได้

รูปที่2

หวั่น "โอมิครอน" ทำค่าสินไหมประกันโควิดพุ่ง 1.8 แสนล้านบาท

ประมาณการสินไหมทดแทน (2)

อัตราการติดเชื้อโควิด -19 ของผู้ถือประกันภัยโควิด-19 โดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 3.8% เป็น 4.2% ซึ่งเท่ากับอัตราการติดเชื้อของประกันภัยประเภท เจอ จ่าย จบ ของบริษัทประกันวินาศภยซึ่งอยู่ใน Top 5 ของบริษัท ที่มีประกันภัยโควิด-19 แบบเจอ จ่าย จบ

กรณีที่ 1: สามารถเพิ่มจำนวนเตียงในโรงพยาบาลสนามและ Hospitel ให้เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 และสำนักงาน คปภ. ออกคำสั่งนายทะเบียนให้ผู้ป่วยที่เข้า Home Isolation และ Community Isolation สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลและชดเชยรายวันได้

หวั่น "โอมิครอน" ทำค่าสินไหมประกันโควิดพุ่ง 1.8 แสนล้านบาท

กรณีที่ 2: จำนวนเตียงในโรงพยาบาลสนามและ Hospitel มีอยู่อย่างจำกัดโดยเท่ากับช่วงระบาดของเดลตา และสำนักงาน คปภ. ไม่ออกคำสั่งนายทะเบียนให้ผู้ป่วยที่เข้า Home Isolation และ Community Isolation สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลและชดเชยรายวันได้

 

หวั่น "โอมิครอน" ทำค่าสินไหมประกันโควิดพุ่ง 1.8 แสนล้านบาท

 

อ่านฉบับเต็ม : ประมาณการค่าสินไหมทดแทน กรณีเกิดการระบาด”