13บริษัทประกันวินาศภัยพร้อมรับโอนกรมธรรม์ “เอเชียประกันภัย”

15 ต.ค. 2564 | 23:54 น.

คปภ. เผย"หนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน 1,543ล้านบาท และสินไหมทดแทนค้างจ่ายอีก 29,560 กรมธรรม์กว่า 1,792 ล้านบาท" ปมรมว.คลังสั่งถอนใบอนุญาต บมจ.เอเชียประกันภัย 1950

     คปภ.ย้ำ 13บริษัทประกันวินาศภัยพร้อมรับโอนกรมธรรม์ที่ยังไม่ครบอายุของ “บมจ.เอเซียประกันภัย 1950”หลังเพิกถอนใบอนุญาต  เผย"หนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน 1,543ล้านบาท และสินไหมทดแทนค้างจ่ายอีก 29,560 กรมธรรม์กว่า 1,792 ล้านบาท" ปมรมว.คลังสั่งถอนใบอนุญาต

 

  ตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 1936/2564 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัทเอเชียประกันภัย 1950 จำกัด(มหาชน)โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2564เป็นต้นไป

คำสั่งดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีคำสั่งนายทะเบียนที่ 51/2564 ตามความเห็นคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ให้บมจ.เอเชียประกันภัย 1950 จำกัดหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว(เมื่อ23ก.ย.2564)เพิ่มทุนหรือแก้ไขสถานะให้มีค่าCAR ตามที่กฎหมายกำหนดตามที่กฎหมายกำหนดภายใน 30 วันฯลฯ และแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายโดยประจำการที่ทำการของบริษัทพร้อมได้เร่งรัดการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยคืบหน้ากว่า 13,000 รายวงเงินกว่า 800 ล้านบาท(ขณะที่สินไหมค้างจ่ายทดแทนคงเหลือ 29,560 กรมธรรม์จำนวนเงิน 1,792.78 ล้านบาท ) โดยทรัพย์สินของบริษัทยังไม่เพียงพอที่จะดูแลค่าเคลมที่ทยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง  ขณะที่บริษัทไม่สามารถแก้ไขปัญหาฐานะทางการเงินและมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน-327.40%

13บริษัทประกันวินาศภัยพร้อมรับโอนกรมธรรม์ “เอเชียประกันภัย”

 

13บริษัทประกันวินาศภัยพร้อมรับโอนกรมธรรม์ “เอเชียประกันภัย”

เห็นได้จาก ข้อมูลจากการตรวจสอบ "บมจ.เอเชียประกันภัย 1950  (ข้อมูลทางการเงินของบริษัทที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ณเดือนกันยายน 2564 บริษัทมีสินทรัพย์รวม 3,713.48 ล้านบาทหนี้สินรวม 5,256.54ล้านบาท หนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน -1,543.06ล้านบาท สินทรัพย์สภาพคล่อง 1,366.05 ล้านบาท

จึงเป็นเหตุต้องเพิกถอนใบอนุญาตเพื่อให้กองทุนประกันวินาศภัยเข้าดูแลโดยใช้เงินกองทุนเยียวยาผู้เอาประกันภัย   ทั้งนี้คปภ.ได้ร่วมมือกับกองทุนประกันวินาศภัยและบริษัทประกันวินาศภัยรวม 13 บริษัทเพื่อรับโอนกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังไม่หมดอายุความคุ้มครองแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ 1.กรมธรรม์ประกันโควิด 8 แสนฉบับ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ 2แสนบาทและประกันรถยนต์ภาคบังคับและอื่นๆมากกว่า 1 ล้านฉบับ  สำหรับผู้เอาประกันภัยโควิคที่ต้องการความคุ้มครองอยู่ คปภ.ร่วมกับบมจ..ทิพยประกันภัยเสนอแพ็คเกจกรมธรรม์คุ้มครองโควิชกรณีภาวะโคม่าด้วยทุนประกันภัย 300,000 บาทเบี้ยประกันภัย 300 บาท

ที่ผ่านมาผลดำเนินงานในปี 2563   "บมจ.เอเชียประกันภัย" มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 3,284.90 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 41.02%โดยเพิ่มขึ้นจากงานรับประกันภัยซึ่งเป็นผลกระทบมาจากโรคระบาด covid 19 บริษัทมีกำไรสุทธิ 26.63 ล้านบาท ด้านสินทรัพย์ จำนวน 4,491ล้านบาทเพิ่มขึ้น 1,364.17ล้านบาทคิดเป็น 43.63%รายการเพิ่มขึ้นที่สำคัญคือเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 532.27ล้านบาทและสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อเพิ่มขึ้น  599.59ล้านบาท หนี้สินรวม 4,089.36ล้านบาทเพิ่มขึ้น1,154.06ล้านบาทจากปี2562คิดเป็น39.32%รายการที่เพิ่มขึ้นคือหนี้สินจากสัญญาประกันภัยเพิ่มขึ้น 563.19ล้านบาทส่วนของเจ้าของบริษัทมีส่วนของเจ้าของ401.71ล้านบาทเพิ่มขึ้น 210.12ล้านบาทจากการเพิ่มทุน 180 ล้านบาทโดยบริษัทมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย 192.29%ซึ่งมากกว่าที่กฎหมายกำหนด(ระดับอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนไม่ต่ำกว่า 120%) อย่างไรก็ตามหมายเหตุงบการเงินระบุบริษัทมีผลขาดทุนสะสมณวันที่ 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 343.5ล้านบาทปัจจัยนี้แสดงว่ามีความไม่แน่นอนที่เป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของบริษัทและในระหว่างปี 2563 บริษัทได้รับเงินเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวนเงินรวม 180 ล้านบาทนอกจากนี้ผู้บริหารมีแผนการดำเนินธุรกิจและออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ปรับเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าที่รับประกันใหม่เพื่อให้ผลการดำเนินงานในอนาคตดีขึ้น

คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย

1.นายจุลพยัพ     ศรีกาญจนาประธานคณะกรรมการ

2.นายโฮ ยิก  หลุง ไซมอน

รองประธานคณะกรรมการ

3.นายนิค  จันทรวิทูร

กรรมการ

4.ม.ร.ว.ดํารงดิศ   ดิศกุล

กรรมการ

5.ม.ล.ศรุศักดิ์  ศักดิเดช  ภาณุพันธ์ กรรมการ

6.นางสาวอภินรา   ศรีกาญจนากรรมการ

7.นายสิทธิชัย   จิตตั้งตรงกรรมการ

8.นายภูเบศวร   เทพทรงพัฒนา

กรรมการ

9.นายระบุ  สูงสถิตานนท์

กรรมการ

อนึ่งที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มีคำสั่งถอนใบอนุญาติประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เช่น บมจ.เจ้าพระยาประกันภัย ตั้งแต่วันที่ 7กันยายน 2561 ซึ่งคปภ.ได้รับความร่วมมือจากบริษัทประกันวินาศภัย 26บริษัทรับโอนกรรมสิทธิกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่ยังมีผลผูกพันของผู้เอาประกันภัยทั้งภาคสมัครใจและประเภทอื่น ๆและมีกองทุนประกันวินาศภัยเพื่อช่วยเหลือเจ้าหนี้กรณีบริษัทถูกถอนใบอนุญาต