ผลสำรวจนักวิเคราะห์หั่นคาดการณ์จีดีพีปีนี้และปีหน้าเหลือ 1.3% และ3%

21 ก.ค. 2564 | 01:23 น.

นักวิเคราะห์ปรับลดคาดการณ์การฟื้นตัวของจีดีพีไทยในปีนี้และปีหน้าลงเหลือ1.3% และ 3.0% ตามลำดับประเมินเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 จะทรงตัวจากไตรมาส เดียวกันปีก่อน เหตุ COMD-19 ระลอกเดือน เม.ย. 64 ที่ยืดเยื้อและรุนแรง

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สำรวจความเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยจากนักวิเคราะห์( Analyst Survey ครั้งที่ 2 (ไตรมาส 3 ปี 2564)ที่เข้าร่วม Analyst Meetingจำนวน 42รายส่วนใหญ่มาจากธนาคารพาณิชย์(ธพ.)  บริษัทหลักทรัพย์(บล.) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองเศรษฐกิจไทยจะกลับสู่ภาวะปกติหลังปี 2565 ซึ่งช้ากว่าการสำรวจครั้งก่อน โดยปรับลดประมาณการฟื้นตัวของจีดีพีปีนี้และปีหน้าเหลือ 1.3% และ3.0% สาเหตุ 2ปัจจัยเสี่ยงกดดัน “การแพร่ระบาดของCOVID-19 และปัญหาหนี้ครัวเรือน” ประเมินเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 จะทรงตัวจากไตรมาส เดียวกันปีก่อน จากการบริโภคภาคเอกชนที่มีแนวโน้มหดตัวจากการแพร่ระบาดของ COMD-19 ระลอกเดือน เม.ย. 64 ที่ยืดเยื้อและรุนแรง

ผลสำรวจนักวิเคราะห์หั่นคาดการณ์จีดีพีปีนี้และปีหน้าเหลือ 1.3% และ3%

 

นักวิเคราะห์ปรับลดคาดการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้และปีหน้าลงเหลือร้อยละ 1.3 และ 3.0 ตามลำดับโดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 จะทรงตัวจากไตรมาส เดียวกันปีก่อน จากการบริโภคภาคเอกชนที่มีแนวโน้มหดตัวจากการแพร่ระบาดของ COMD-19 ระลอกเดือน เม.ย. 64 ที่ยืดเยื้อและรุนแรง

ผลสำรวจนักวิเคราะห์หั่นคาดการณ์จีดีพีปีนี้และปีหน้าเหลือ 1.3% และ3%

ขณะที่การส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นเครื่องยนต์หลัก ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ธุรกิจในภาคการผลิตมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว ได้เร็วกว่าธุรกิจในภาคที่มิใช่การผลิต จากการส่งออกที่มีแนวโน้ม ขยายตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจ คือ นโยบายการเงินที่อยู่ใน ระดับผ่อนคลาย มาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องของทั้งภาคธุรกิจและประชาชน และมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของCOVID-19 และปัญหาหนี้ครัวเรือน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไป

 

เศรษฐกิจไทยจะกลับสู่ภาวะปกติช้ากว่าการสำรวจครั้งก่อน โดยนักวิเคราะห์ที่มองว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับสู่ภาวะปกติหลังปี 2565 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ส่วนระยะเวลาที่ประชาชนจะกลับมาใช้ชีวิตปกติยังมี ความไม่แน่นอนสูงโดยมีทั้งกลุ่มที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้และปีหน้า ภายใต้สถานการณ์ที่ยอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันลดลงต่ำกว่า 500 ราย

ผลสำรวจนักวิเคราะห์หั่นคาดการณ์จีดีพีปีนี้และปีหน้าเหลือ 1.3% และ3%