สศช.เผยภาวะสังคมไทยไตรมาสแรกปี64 ว่างงาน หนี้ครัวเรื่อนเพิ่ม

24 พ.ค. 2564 | 04:11 น.

สศช.เผยภาวะสังคมไทยไตรมาสแรกปี64 คนว่างงานเพิ่ม 0.4%แตะ 7.6แสนคน- เฉพาะผู้รับประโยชน์ทดแทนรายใหม่อยู่ในระดับสูงประมาณ 8 แสนคน

สศช.เผยภาวะสังคมไทยไตรมาสแรกปี64 คนว่างงานเพิ่มแตะ 7.6แสนคน- เฉพาะผู้รับประโยชน์ทดแทนรายใหม่อยู่ในระดับสูงประมาณ 8 แสนคน ขณะหนี้ครัวเรือนยังมีแนวโน้มขยับต่อ แนะเฝ้าระวังการก่อหนี้เพิ่ม นอกจากเร่งปรับโครงสร้าง

สศช.เผยภาวะสังคมไทยไตรมาสแรกปี64 ว่างงาน หนี้ครัวเรื่อนเพิ่ม

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2564   เรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2564 โดยระบุว่า  พบความเคลื่อนไหวสำคัญได้แก่ มิติคุณภาพของคน การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น อัตราการว่างงานสูงขึ้น แรงงานมีชั่วโมงการทำงานลดลง  หนี้สินครัวเรือนเพิ่ม และหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ยังอยู่ในระดับสูง   การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น อัตราการว่างงานสูงขึ้น และชั่วโมงการทำงานยังลดลงต่อเนื่องสถานการณ์แรงงานไตรมาสหนึ่ง ปี 2564 กำลังแรงงานมีจำนวนทั้งสิ้น 38.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.5 จากการเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้อยู่นอกกำลังแรงงานอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผู้มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 37.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากการขยายตัวของการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมที่ดูดซับแรงงานบางส่วนที่ถูกเลิกจ้างจากภาคเศรษฐกิจอื่นมาตั้งแต่ปี 2563 ประกอบกับราคาสินค้าเกษตร

สศช.เผยภาวะสังคมไทยไตรมาสแรกปี64 ว่างงาน หนี้ครัวเรื่อนเพิ่ม

มีการปรับตัวสูงขึ้นมาก จูงใจให้แรงงานย้ายเข้ามาทำงานในภาคเศรษฐกิจนี้เพิ่มขึ้น โดยผู้มีงานทำภาคเกษตรกรรมมีจำนวนทั้งสิ้น 11.07 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่นอกภาคเกษตรกรรม การจ้างงานปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.6 โดยสาขาการผลิตอุตสาหกรรมมีการจ้างงานลดลงร้อยละ 2.2

อย่างไรก็ตาม มีบางอุตสาหกรรมที่ยังสามารถขยายตัวได้ อาทิ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก อุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ และการผลิตเครื่องอุปกรณ์การขนส่งอื่น ๆ สำหรับภาคบริการ การจ้างงานลดลงร้อยละ 0.7 โดยสาขาการขายส่ง/ขายปลีกลดลงร้อยละ 1.0 และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ลดลงร้อยละ 0.4 และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลงร้อยละ 0.2 ตามปริมาณนักท่องเที่ยวที่ลดลงจากผลกระทบการแพร่ระบาด COVID-19 ระลอกใหม่ และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

ชั่วโมงการทำงานรวมอยู่ที่ 40.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลงร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 การทำงานต่ำระดับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 129.1 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ทั้งนี้ จากภาพรวมที่ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นแต่ชั่วโมงการทำงานลดลง สะท้อนการจ้างงานและการทำงานที่ไม่เต็มเวลา ซึ่งจะทำให้แรงงานมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน

การว่างงานเพิ่มขึ้นสูง โดยผู้ว่างงานมีจำนวน 0.76 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.96 สูงขึ้นอีกครั้งหลังจากชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจาก COVID-19 ที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง สำหรับการว่างงานของแรงงานในระบบ พบว่า ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 มีจำนวน 3.46 แสนคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.1 ของผู้ประกันตนมาตรา 33 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่การระบาดยังไม่รุนแรง แต่ปรับตัวลดลงจากครึ่งปีหลัง โดยเป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ประมาณ 0.8 แสนคน ในเดือนมีนาคม 2564 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง และลูกจ้างของสถานประกอบการที่ขอใช้มาตรา 75 ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 82,346 คน ลดลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน

สศช.เผยภาวะสังคมไทยไตรมาสแรกปี64 ว่างงาน หนี้ครัวเรื่อนเพิ่ม

ประเด็นที่ต้องติดตามในปี 2564 ได้แก่

1.            ผลกระทบของ COVID-19 ระลอกใหม่ต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยืดเยื้อและมีความรุนแรงเป็นระยะ ๆ อาจทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลง โดยแนวโน้มการเดินทางที่ลดลงจากข้อมูล Apple Mobility Indexพบว่า จากการระบาดระลอกใหม่นี้ใกล้เคียงกับการระบาดในระลอกที่ 1 เมื่อปี 2563 ทั้งนี้ การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มแรงงาน ดังนี้ (1) แรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) อาจตกงานมากขึ้นหรือถูกลดชั่วโมงการทำงาน โดยธุรกิจ MSMEs ได้รับผลกระทบตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งทำให้ GDP ของ MSMEs ปรับตัวลดลงสูงถึงร้อยละ 9.1 หากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจฯ อาจไม่สามารถประคองตัวต่อไปได้ รวมถึงการเลิกจ้างแรงงาน และโอกาสการกลับมาฟื้นตัวอาจใช้เวลานานมากขึ้น (2) แรงงานในภาคการท่องเที่ยวอาจถูกเลิกจ้างมากขึ้น และต้องหาอาชีพใหม่ โดยศูนย์วิจัยด้านการตลาดท่องเที่ยวของ ททท. คาดว่าการท่องเที่ยวจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในปี 2569 ซึ่งผลกระทบของ COVID-19 จะทำให้การกลับเข้าสู่ภาวะปกติต้องเลื่อนออกไป และส่งผลกระทบต่อแรงงานในภาคการท่องเที่ยวที่มีอยู่กว่า 7 ล้านคน โดยหากแรงงานถูกเลิกจ้างจะไม่สามารถกลับเข้ามาทำงานในสาขาเดิมได้ในระยะเวลาอันใกล้ และอาจต้องเปลี่ยนอาชีพ และ (3) ตำแหน่งงานอาจไม่เพียงพอจะรองรับนักศึกษาจบใหม่ โดยเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าเป้าหมาย จะทำให้ผู้ประกอบการเลื่อนการขยายตำแหน่งงานใหม่ออกไป กระทบกับการหางานของนักศึกษาจบใหม่ในปี 2564 ประมาณ 4.9 แสนคน ขณะที่โครงการจ้างงานกลุ่มผู้จบการศึกษาใหม่และแรงงานคืนถิ่นภายใต้ พ.ร.ก. เงินกู้ฯ ในปี 2563 ซึ่งมีระยะเวลาการจ้างงานประมาณ 12 เดือนกำลังจะสิ้นสุดลง อาจส่งผลกระทบต่อแรงงานภายใต้โครงการประมาณ 1.4 แสนตำแหน่ง

2.            ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงาน เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า ชั่วโมงการทำงานที่ลดลง 6 ไตรมาสติดต่อกัน และการว่างงานเพิ่มขึ้น สะท้อนว่าแรงงานมีรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผู้ว่างงานจากผลกระทบของ COVID-19 มีแนวโน้มเป็นผู้ว่างงานระยะยาวมากขึ้น การว่างงานเป็นเวลานานจะส่งผลกระทบต่อรายได้ และทำให้ทักษะแรงงานลดลง นอกจากนี้ แรงงานในระบบที่ถูกเลิกจ้างจำนวนมากได้กลายเป็นแรงงานนอกระบบตั้งแต่การระบาดรุนแรงในปี 2563 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง และขาดหลักประกันทางสังคม

3.            การเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่จะมีผลต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรไทย ภาคเกษตรที่มีแรงงานอยู่มากกว่า 1 ใน 3 ของกำลังแรงงานในประเทศ โดยเฉพาะในช่วง

ที่มีการแพร่ระบาดฯ ภาคเกษตรเป็นสาขาที่ดูดซับแรงงานส่วนเกินจากนอกภาคเกษตร โดยมีการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศในปี 2564 ว่าปริมาณน้ำฝนจะมากกว่าค่าปกติส่งผลดีต่อภาคเกษตรของไทย แต่บางพื้นที่อาจมีโอกาสสูงในการเกิดสถานการณ์น้ำท่วมได้ หากภาครัฐได้มีการส่งสัญญาณเตือนเกษตรกรล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำจะสามารถลดความเสี่ยงของเกษตรกรจากความเสียหายจากภัยทางธรรมชาติได้อย่างทันท่วงที

 

 

แนวโน้มการก่อหนี้ของครัวเรือนในปี 2564 คาดว่าสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP จะยังคงอยู่ในระดับสูง จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับไปในระดับก่อน COVID-19 ประกอบกับตลาดแรงงานอาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อรายได้ของแรงงานและทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องมากขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้น้อย ทำให้ปี 2564 ครัวเรือนจะระมัดระวังการใช้จ่าย โดยเฉพาะการชะลอการซื้อสินค้าในกลุ่มสินค้าคงทน ทำให้ความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยและรถยนต์ชะลอตัวลง ขณะที่ความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลอาจปรับตัวเพิ่มขึ้น จากปัญหาการขาดสภาพคล่อง รวมทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับประชาชนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ อาทิ ธนาคารออมสิน

สศช.เผยภาวะสังคมไทยไตรมาสแรกปี64 ว่างงาน หนี้ครัวเรื่อนเพิ่ม

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างเหมาะสม ควบคุมดูแลการให้สินเชื่อให้สอดคล้องกับระดับรายได้ รวมทั้งเฝ้าระวังการก่อหนี้นอกระบบโดยเฉพาะกับครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้ และสามารถรักษาระดับการบริโภคไว้ในระดับเดิ