ในยุคที่การเดินทางทางอากาศกลายเป็นเรื่องปกติ มีภัยเงียบที่หลายคนอาจไม่รู้จัก นั่นคือ "Economy Class Syndrome" หรือที่รู้จักในชื่อทางการแพทย์ว่า โรคหลอดเลือดดำอุดตัน หรือ Deep Venous Thrombosis (DVT) แม้ชื่อจะบ่งบอกว่าเกี่ยวข้องกับชั้นประหยัด แต่ความจริงแล้ว ภัยนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้โดยสารชั้นประหยัดเท่านั้น
ข้อมูลจากโรงพยาบาลสมิติเวช ระบุว่า โรคหลอดเลือดดำอุดตัน มักเกิดขึ้นบริเวณขา ซึ่งผู้โดยสารเครื่องบินมักประสบปัญหา ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำภายในกล้ามเนื้อน่อง การศึกษาของ WHO พบว่าความเสี่ยงของภาวะดังกล่าว เพิ่มขึ้น 2 ถึง 3 เท่า หลังจากโดยสารเที่ยวบินระยะไกลนานกว่า 4 ชั่วโมง
CNBC มีข้อมูลที่น่าสนใจ โดยระบุว่า โรคหลอดเลือดดำอุดตันมักเกิดขึ้นที่ขา อาการต่างๆ ได้แก่ ปวด บวม เปลี่ยนสีผิว และรู้สึกอุ่น แต่บางคนอาจไม่มีอาการใดๆ เลย
ผู้ที่เป็นโรคอ้วน อายุมากกว่า 60 ปี ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน หรือผู้ที่สูบบุหรี่ มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำเพิ่มขึ้น ตามข้อมูลของศูนย์การแพทย์
แต่การบินก็มีความเสี่ยงในตัวของมันเอง จากเที่ยวบินทุก ๆ 5,000 เที่ยวบิน ผู้ป่วย 1 รายสามารถเกิดภาวะ DVT ได้เพียงเพราะความเสี่ยงจากการเดินทางโดยเครื่องบิน
ผู้ที่บินด้วยเที่ยวบินระยะไกลมีความเสี่ยงมากกว่า แต่ภาวะหลอดเลือดดำอุดตันสามารถเกิดขึ้นได้ในเที่ยวบินระยะสั้น ผู้เชี่ยวชาญกล่าว
“เมื่อก่อนผู้คนมักจะกำหนดระยะเวลาเที่ยวบินระยะไกลเป็น 8 ชั่วโมง แต่ในปัจจุบันมีข้อมูลบางส่วนที่บ่งชี้ว่าแม้กระทั่ง 4 ชั่วโมงก็ถือว่านานพอแล้ว”
โรคหลอดเลือดดำอุดตัน (DVT) ป้องกันได้ในระหว่างเดินทาง