น้ำ“ปัสสาวะ”ดื่มได้มั้ย? อ่านที่นี่มีคำตอบ

05 มิ.ย. 2566 | 03:04 น.

น้ำ“ปัสสาวะ” หรือ “ฉี่” หลายคนสงสัย ดื่มได้จริงหรือ? รักษาโรคต่างๆได้จริงหรือ? ดื่มแล้วร่างกายได้รับสารที่มีประโยชน์จริงหรือ?  คำถามนี้ มีคำตอบที่นี่…

กลับมาเป็นกระแสอีกครั้งสำหรับ กระแสการ “ดื่มน้ำปัสสาวะ” รอบนี้มีการแชร์ข่าวเกี่ยวกับกรณีที่ NASA พัฒนาระบบบำบัดและกรองน้ำกลับมาใช้งานใหม่ขึ้นไปติดตั้งบนสถานีอวกาศนานาชาติในปี 2009 ที่สามารถนำน้ำมากกว่า 80% กลับมาใช้งานอีกครั้งได้ ไม่ว่าจะเป็นเหงื่อ ไอน้ำจากลมหายใจ หรือปัสสาวะของนักบินอวกาศเองและนำน้ำปัสสาวะที่ผ่านการกรองจนสามารถดื่มได้บนยานอวกาศ สร้างความสงสัยว่าแท้จริงแล้ว "น้ำปัสสาวะ" ของเราเองนั้นสามารถนำมาดื่มได้จริงหรือไม่?

“น้ำปัสสาวะ”หรือเรียกแบบบ้านที่คนทั่วไปเรียก “เยี่ยว” หรือ "ฉี่" เคยมีข่าวออกมาว่ามีคนดื่มน้ำปัสสาวะเพื่อรักษาโรคหรือเพื่อวัตุประสงค์ตามความเชื่อส่วนตัวมาแล้วตามหน้าข่าวในช่วงหลายปีที่ผ่านหรือแม้แต่มีการนำมาโฆษณาชวนเชื่อว่าสามารถรักษาโรคต่างได้นั้น

เพื่อไขข้อข้องใจว่า “น้ำปัสสาวะ" หรือ "เยี่ยว” หรือ “ฉี่” ของพวกเรานั้นสามารถดื่มได้จริงหรือไม่ และมีประโยชน์กับร่างกายหรือเปล่าหากดื่มเข้าไป และจะมีผลเสียกับร่างกายหรือไม่ วันนี้ “ฐานเศรษฐกิจ”จะมาไขความลับของน้ำ“ปัสสาวะ” หรือ”เยี่ยว”ให้ฟัง

ข้อมูลจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาด  เผนแพร่บทความเกี่ยวกับการดื่มน้ำปัสสาวะได้ดังนี้ 

“ดื่มปัสสาวะรักษาโรคได้ จริงหรือ?

ตอบ: ไม่จริง เพราะสารต่าง ๆ ที่ร่งกายขับออกมาทางปัสสาวะเกือบทั้งหมด เป็นสารของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญของร่างกาย และร่างกายไม่ต้องการใช้ ถ้าคั่งค้างในร่างกายจะเกิดผลเสียได้

  • สาเหตุเพราะอะไรนะเหรอ เรามาดูคำถามของคำตอบนี้กัน

ส่วนประกอบในปัสสาวะมี 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

  • กลุ่มสารหรือของเสียที่ร่างกายกำจัดออก (Metabolic waste) ที่เกิดจากการสันดาปของร่างกาย ได้แก่ ยูรีย จากกรเผาผลาญโปรตีนและกรดอะมิโน กรดยูริค (Urc acid) จากการสลายสารอาหารกลุ่มพิวรีน สารประกอบดิโตน (Ketone compounds) จากการสลายไขมันยาหรืออนุพันธ์ของยาที่รับประทานเข้าไปเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่อาจปนเปื้อนออกมา

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดื่มปัสสาวะตนเอง

  • ปัสสาวะมีความเป็นกรด (มีค pH ประมาณ 5 – 6.5) หากดื่มในขณะท้องว่าง อาจทำให้เกิดผลสียต่อเยื่อบุผนังลำคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารได้
  • มีโอกาสได้รับสารอนุพันธ์ของตัวยา (ที่ร่งกายพยายามขจัดออกทางปัสสาวะ) กลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง เพิ่มความเสี่ยงของการสะสมยาในร่างกายมากเกินไป
  • มีความเสี่ยงของเชื้อโรคที่อาจปะปนมากับปัสสาวะ หรือ เกิดจากการจัดก็บปัสสาวะไม่ดี หรือ เก็บไว้เป็นระยะวลานานเกินไป

น้ำ“ปัสสาวะ”ดื่มได้มั้ย? อ่านที่นี่มีคำตอบ

  • ประโยชน์อาจพบได้บ้างในปัสสาวะ คือ ฮอร์โมนบางประเภท เช่น urokinase ที่มีคุณสมบัติละลายลิ่มเลือดได้ แต่ก็เป็นปริมาณที่น้อยมากการดื่มน้ำปัสสวะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี ที่สำคัญคือ ทำให้มีการสะสมของเสีย (ซึ่งร่างกายต้องการขจัดทิ้งไปแล้ว) กลับเข้าไปหมุนเวียนเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งหนึ่ง จึงไม่แนะนำให้ปฏิบัติ

ที่มา:https://chulalongkornhospital.go.th

น้ำ“ปัสสาวะ”ดื่มได้มั้ย? อ่านที่นี่มีคำตอบ

เช่นเดียวกับเพจ Drama-addict ออกมาให้ความชัดเจนว่า “น้ำปัสสาวะ”หรือ”เยี่ยว”นั้น ดื่มไม่ได้ เพราะเยี่ยว เป็นกรดอ่อน การกินเข้าไปก็จะระคายเคืองกระเพาะ ทางเดินอาหารและการกินเยี่ยว ก็คือการกินของเสีย สารที่ถูกขับกรองออกจากร่างกายกินเข้าไปก็เหมือนได้ของเสียกลับเข้าไปซ้ำ และหนำซ้ำการกินยาบางตัวจะถูกขับเป็นอนุพันธ์ของยาออกมากับเยี่ยว กินเข้าไปอีกก็อาจได้รับยาที่ว่าเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป เป็นอันตรายได้อีกทั้งเยี่ยวยังมีการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย การกินเข้าไปก็อาจทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้

สรุป ไม่มีประโยชน์เลย   อ ย่ า แ ด ก เ ยี่ ย ว!

ที่มา:เพจ  Drama-addict