สารกัมมันตรังสี "ซีเซียม 137" อันตรายแค่ไหน

20 มี.ค. 2566 | 11:00 น.

สารกัมมันตรังสี "ซีเซียม 137" อันตรายแค่ไหน หลังจากเจ้าหน้าที่เร่งค้นหา แต่ท้ายที่สุดได้ถูกหลอมจนกลายเป็นฝุ่นแดง อันตรายต่อจากนี้จะเกิดอะไรได้บ้าง

จากกรณี “ซีเซียม 137” ของบริษัท เนชั่นแนลเพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด หายไปจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานไอน้ำใน ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ตั้งแต่วันที่ 23 ก.พ. 2566 โดยชิ้นส่วนที่หายไป มีลักษณะเป็นท่อกลม เจ้าหน้าที่รัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างเร่งปูพรมเพื่อค้นหาท่อสารซีเซียม 137 นี้ ก่อนที่จะสร้างความเสียหายต่อสุขภาพ และชีวิต ของผู้สัมผัส

ซีเซียม 137

กระทั่งล่าสุด (20 มี.ค.66)ได้รับการยืนยันจาก นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ในการแถลงข่าวว่า ได้ตรวจพบสารซีเซียมในกระเป๋าบิ๊กแบ็กขนาดใหญ่ ในโรงงาน พื้นที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี โดยได้สั่งให้พนักกงานในโรงงานดังกล่าว กว่า 70 คนหยุดพักงานชั่วคราว เพื่อตรวจเลือด และสังเกตอาการ

อันตรายจากสาร ซีเซียม 137

ซีเซียม 137 เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งจะก่อมะเร็งเมื่อได้รับสารปนเปื้อนเข้าไปในร่างกาย ส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ ตับ และไขกระดูก รังสีจะเข้าไปทำลายแอนติบอดี้ในร่างกาย และต่อมาผมจะเริ่มร่วง และอาจจะทำให้ผิวหนังของผู้สัมผัสเกิดอาการเน่าภายใน 3 วัน ความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลัน  ซึ่งแบ่งออกได้ 3 กลุ่มอาการ ระบบผลิตเลือด ระบบทางเดินอาหาร และ ระบบประสาทกลาง   

อาการ เมื่อสัมผัส ซีเซียม 137

เมื่อได้รับสารกัมมันตรังสีในปริมาณมาก มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย อ่อนเพลีย มีไข้ ผิวหนังที่ถูกรังสีอาจแดง อักเสบ ไหม้ หลุดลอก ผมหรือขนหลุดร่วง นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อระบบเลือด เม็ดเลือดขาวถูกทำลาย เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดต่ำ กดไขกระดูก ระบบประสาท ชักเกร็ง และเสียชีวิตได้

ซีเซียม 137

วิธีปฐมพยาบาล จาก “ซีเซียม 137”

  • ล้างตาด้วยน้ำสะอาด โดยให้น้ำไหลผ่านจากหัวตาไปทางหางตา
  • ล้างมือ อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีถ้าสามารถทำได้ เก็บเสื้อผ้าใส่ถุงปิดปากให้สนิทเพื่อตรวจสอบว่ามีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีหรือไม่
  • หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวมากเกินกว่า 2 ครั้ง มีไข้ หนาวสั่น ชักเกร็ง มีเลือดออกที่ใดที่หนึ่งภายใน 1 สัปดาห์ หลังโดนรังสี ให้รีบไปพบแพทย์ พร้อมทั้งแจ้งประวัติสัมผัสสารกัมมันตรังสี  แพทย์จะจ่ายยาชื่อ ปรัสเซียนบลู (Prussian Blue) เพื่อจะได้ไปทำปฏิกิริยาเคมีจับกับซีเซียม ทำให้ขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น

ย้อนดูอุบัติเหตุจาก ซีเซียม 137 

  • ในปี 1988  เกิดเหตุที่ Acer inox accident จากกรณีบริษัท Acer inox ซึ่งดำเนินกิจการแปรรูปของเก่า (recycling company ) ของสเปน ได้เกิดอุบัติเหตุโดยทำการหลอมซีเซียม 137 จากต้นกำเนิดรังสีแกมมา
  • ในปี 2009 บริษัทซีเมนต์ของประเทศจีน ในจังหวัด Shaanxi ได้รื้อโรงงานผลิตซีเมนต์เก่าที่เลิกใช้แล้ว โดยไม่ได้ดำเนินการตามมาตรฐานการปฏิบัติงานกับสารรังสี ทำให้ซีเซียม 137 บางส่วนที่ใช้ในเครื่องมือตรวจวัดซีเมนต์ ถูกส่งไปหลอมรวมไปกับโลหะที่ไม่ใช้แล้ว 8 คันรถที่โรงงานหลอมเหล็ก