ที่ดินมักกะสันร้อน! ซีพีตั้งแง่ไม่รับมอบพื้นที่

09 เม.ย. 2565 | 03:10 น.

ที่ดินมักกะสันร้อน ซีพีตั้งแง่ไม่รับมอบพื้นที่ ติดปัญหาบึงเสือดำ ลำรางสาธารณะพาดผ่านพื้นที่ รฟท.ยันไม่เกี่ยวกับทีโออาร์ยันเอกชนคู่สัญญาต้องเข้าพื้นที่ตอกเข็มพ.ค.

 

การเจรจาแก้ไขสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์โควิดทำท่าจะจบลงด้วยดี แต่ในที่สุดแล้ว ได้รับรายงานจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า ที่ดินแปลงมักกะสันเนื้อที่ 150 ไร่ขุมทรัพย์ก้อนใหญ่ของรฟท.

 

 

อาจยังมีตำหนิโดยมีบึงเสือดำพื้นที่รับน้ำป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และลำรางสาธารณะพาดผ่านภายในพื้นที่เป็นเหตุให้บริษัทเอเชีย เอรา วันจำกัด ในเครือซีพีคู่สัญญาจ่อใช้เป็นข้ออ้างปฏิเสธที่จะรับมอบพื้นที่

              

 

ขณะรฟท.ยืนยันว่ากรณีบึงเสือดำที่อยู่ในพื้นที่มักกะสันไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขทีโออาร์ ที่จะนำมาเป็นข้ออ้างอุปสรรคของการส่งมอบพื้นที่ เนื่องจากรฟท.มีแนวทางร่วมกับกทม.ที่จะปรับปรุงพื้นที่บริเวณดังกล่าวและให้กทม.จัดหาพื้นที่รับน้ำป้องกันน้ำท่วมแห่งใหม่อีกทั้งเอกชนคู่สัญญายังอ้างว่ามีปัญหาต้นทุนค่าก่อสร้างที่ปรับตัวสูง

 

 

 

 

 

โครงการรถไฟไทย-จีนซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อย่างไรก็ตามปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นรฟท.ระบุว่าจะทำอย่างไรให้เอกชนชำระเงินบริหารสิทธิ์โครงการร่วมทุนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ และผลักดันข้อตกลงแก้ไขสัญญาไฮสปีด3สนามบิน

 

 

นำเข้าสู่การพิจารณาในคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยเร็วเพราะหาก ล่าช้าอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนและประชาชนผู้ใช้บริการ

 

 

 

 

 

 

รายงานข่าวจาก รฟท. เปิดเผยว่าสำหรับความคืบหน้าการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระหว่างรฟท. และบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด หรือซีพี ผู้รับสัมปทานโครงการฯ ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.รับทราบผลการเจรจาโครงการฯดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา

 

 

เบื้องต้นได้มีการรายงานการเจรจาแก้ไขสัญญาดังกล่าวร่วมกับเอกชน ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากติดปัญหาบริเวณการก่อสร้างโครงการฯทับซ้อนร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ไฮสปีดไทย-จีน) ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ที่มีค่าก่อสร้าง ค่าออกแบบและค่าควบคุมงานก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากสัญญาร่วมทุน จำนวน 9,207 ล้านบาท โดยให้เอกชนคู่สัญญาเป็นผู้ดำเนินการ

              

 

ขณะเดียวกันในการแก้ไขสัญญายังพบว่าเอกชนไม่ยินยอมในการส่งมอบพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์มักกะสัน ที่พบว่ามีเรื่องบึงเสือดำและลำรางสาธารณะ ในแผนที่แต่ในพื้นที่ปัจจุบันไม่มีอยู่จริง

 

 

เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งเหลืออยู่ 1% เบื้องต้นทางรฟท.จะต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อแจ้งหนังสือให้เริ่มงาน (NTP) การพัฒนาพื้นที่มักกะสันให้เอกชนต่อไป คาดว่าจะออก NTP ได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2565

              

 

“ส่วนจะมีการเจรจากับเอกชนเพิ่มเติมหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคณะทำงานแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ว่าจะดำเนินการอย่างไร หากได้ข้อยุติแล้วจะต้องนำมาเสนอให้บอร์ดรฟท.เห็นชอบก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) และเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป”

              

 

รายงานข่าวจากบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด แจ้งว่าทางบริษัทได้มีหนังสือตอบกลับถึงรฟท.ในการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จากกรณีวันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาโครงการฯเป็นวันที่ระบุในหนังสือแจ้งให้เริ่มงานกับบริษัท

 

 

มีหน้าที่เริ่มงานในส่วนของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและในส่วนการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการนั้นบริษัทขอเรียนว่าวันดังกล่าวจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อรฟท.ได้ดำเนินการตามหลักการและเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุนสำเร็จครบถ้วน

 

 

โดยเฉพาะการส่งมอบพื้นที่พร้อมส่งมอบในส่วนของพื้นที่ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและพื้นที่พร้อมส่งมอบในส่วนพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการที่แสดงได้ว่า รฟท.มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์พื้นที่โครงการตลอดระยะเวลาของโครงการโดยปราศจากภาระติดพันใดๆตามข้อตกลงการกระทำของรฟท.ที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุน

 

 

ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาโครงการที่จะมีผลกระทบต่อระยะเวลาและงบประมาณการก่อสร้างและการพัฒนาโครงการหาก รฟท.ประสงค์ให้วันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาโครงการเป็นวันเดียวกับวันที่ลงนามแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนก็สามารถดำเนินการได้

             

 

  “หากได้ดำเนินการสำเร็จครบถ้วนแล้วในวันที่ลงนามแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน บริษัทขอชี้แจงว่าเงื่อนไขระยะเวลาการออกแบบและการก่อสร้างและงบประมาณในปัจจุบันเป็นเงื่อนไขที่มีความท้าทายและมีความเสี่ยงในทางวิศวกรรมสูงมากบริษัทไม่มีส่วนต่างความปลอดภัยอยู่เลยที่จะสามารถเบี่ยงเบนจากแผนงานก่อสร้างได้ดังนั้นบริษัทจะเริ่มงานก่อสร้างได้ต่อเมื่อมีความชัดเจนว่าพื้นที่พร้อมส่งมอบนั้นไม่ติดปัญหาอุปสรรคใดๆที่มีผลกระทบต่อการก่อสร้างตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงในสัญญาร่วมลงทุน”