มาดูกัน“คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

18 ก.ย. 2565 | 19:30 น.

 “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน   ค่าโดยสาธารณะ ซื้อรถยนต์ ค่าน้ำมัน และค่าโทรศัพท์ นำโด่ง สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มกลับมาแต่ค่าใช้จ่ายยังสูงสวนทางรายได้ที่ยังเท่าเดิม

พักหลังๆจะเริ่มเห็นคนพูดถึงเงินเท่าเดิมแต่ซื้อของแพงขึ้น ซึ่งคิดต้องทำความเข้าใจว่าเงินเฟ้อ คือค่าดัชนีชี้วัด ค่าของเงินในกระเป๋าที่เรามีอยู่ว่ามีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าค่าเงินเฟ้อเป็นบวกมากๆ ก็แสดงว่าเงินในกระเป๋ามีค่าน้อยลงตาม อำนาจจับจ่ายก็น้อยไปด้วย

มาดูกัน“คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

กระทรวงพาณิชย์ได้มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไปเพื่อวัดอุณภูมิทางเศรษฐกิจโดยรวม เพราะยิ่งค่าเงินเฟ้อสูงก็แสดงว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมาก หมายความว่ารายได้อีกฝากนึงของกระเป๋าเงินก็เข้ามาได้มากและแน่นอนก็จ่ายมากตามไปด้วย ดังนั้น การดูแลเงินเฟ้อไม่ให้สูงไป หรือต่ำไป จนเป็นเงินฝืด คือ ค่าเงินเฟ้อติดลบเกิน 6 เดือนนั้น เป็นสิ่งจำเป็น 

 

มาดูกัน“คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

ต้องบอกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนส.ค.2565 เทียบกับเดือนส.ค.2564 เพิ่มขึ้น 7.86% ซึ่งเป็นอัตราที่คงที่ เมื่อเทียบกับเงินเฟ้อที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่มิ.ย.ที่ 7.66% ก.ค. 7.61% ชี้ให้เห็นว่าเงินเฟ้อถึงจุดสูงสุดแล้ว และน่าจะทรงตัวและปรับตัวลดลง

ส่วนเงินเฟ้อรวม 8 เดือนปี 2565 (ม.ค.-ส.ค.) เพิ่มขึ้น 6.14% และเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวนด้านราคาออก ดัชนีอยู่ที่ 103.59 เพิ่มขึ้น 0.09% เมื่อเทียบกับเดือนก.ค.2565 และเพิ่มขึ้น 3.15% เมื่อเทียบกับเดือนส.ค.2564 และเฉลี่ย 8 เดือนเพิ่มขึ้น 2.16%

มาดูกัน“คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

ปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น สาเหตุหลักยังคงเป็นสินค้ากลุ่มพลังงาน ที่เพิ่มขึ้น 30.50% แม้ราคาน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์จะปรับลดลง แต่ราคาน้ำมันดีเซล ก๊าซหุงต้ม และค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นต้นทุนการขนส่งและต้นทุนการผลิตที่สำคัญยังคงสูงขึ้น รวมทั้งค่าบริการ เช่น ค่าโดยสารสาธารณะ และค่าการศึกษาที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้สินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 6.83%

ส่วนสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่ม 9.35% โดยเฉพาะผักสด เช่น พริกสด ต้นหอม ผักคะน้า ราคาปรับสูงขึ้นเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในหลายจังหวัด รวมทั้ง เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ เครื่องประกอบอาหาร และอาหารสำเร็จรูป ราคาปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการผลิต ราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่ง

มาดูกัน“คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

เรามาดูกันว่า ในเดือนส.ค.2565 มีสินค้าที่ราคาสูงขึ้นอะไรบ้าง ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง เนื้อสุกร กับข้าวสำเร็จรูป อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) ไข่ไก่ อาหารเช้า ค่าน้ำประปา ไก่สด เป็นต้น ส่วน สินค้าที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง  เช่น ค่าโดยสารรถไฟลอยฟ้า ค่าใบอนุญาตขับขี่ ค่าภาษีรถยนต์ประจำปี และราคาลดลง 80 รายการ เช่น ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า ขิง กล้วยหอม ต้นหอม มะเขือเทศ ค่าเช่าบ้าน ผักกาดขาว และถั่วฝักยาว เป็นต้น

 ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินค่าใช้จ่ายครัวเรือนเดือนสิงหาคม 2565  โดยประชาชนมีรายจ่ายที่เป็นรายเดือนที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่ 18,069บาทซึ่งรายจ่ายเพิ่มขึ้นทุกรายการ แบ่งเป็น 

  • ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัทย์มือถือ 4,276 บาท
  • ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าชหุงต้ม ค่าใช้ในบ้าน 3,967 บาท
  • เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ 1,769 บาท
  • อาหารบริโภคในบ้าน(เดลิเวอลรี่) 1,610บาท
  • อาหารบริโภคในบ้าน(ข้าวราดแกง) อาหารตามสั่ง(เคเอฟซี พิซซ่า)1,236บาท
  • ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริหารส่วนบุคคล  973 บาท
  • ผักและผลไม้  993 บาท
  • ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน ค่าการกุศลต่างๆ 759 บาท
  • ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง  667 บาท
  • เครื่องปรุงอาหาร 436 บาท
  •  เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 388 บาท
  •  ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า  375บาท
  • ไข่และผลิตภัณฑ์นม 381บาท
  • ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 240 บาท

ทั้งนี้ถ้าดูสัดส่วนการบริโภคต่อครัวเรือน พบว่า สินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ถึง58.61%  โดย ค่าโดยสารรถสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์ สูงถึง 23.66% รองลงมาเป็นค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ก๊าชหุงต้ม เครื่องใช้ไฟฟ้า 21.95%   ส่วนสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์41.39%   โดย เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงถึง9.76% รองลงมาเป็นอาหารบริโภคในบ้าน 8.91% และอาหารบริโภคนอกบ้าน 6.81% เป็นต้น

มาดูกัน“คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

สำหรับเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปี 2565 ยังคงที่ประเมินไว้ใหม่ คือ 5.5-6.5% ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ และการคาดการณ์เงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมิน 4.2-5.5% ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 6.2% สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) 6.5% คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) 5-7% ธนาคารพาณิชย์ ประเมิน 5.2-6% และธนาคารโลก 5.2% เป็นต้น ส่วนเงินเฟ้อตั้งแต่ต.ค.-ธ.ค.2565 น่าจะเพิ่มขึ้นไม่มาก และมาตรการช่วยลดค่าครองชีพของรัฐบาลยังมีต่อเนื่อง